ชลประทานเชียงใหม่ รายงาน แผนรับมือน้ำท่วมทุกจุดเสี่ยง

นายเจนศักดิ์   ลิมปิติ   ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ รายงานต่อที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดเชียงใหม่ช่วงเช้านี้ (27 กรกฎาคม 59) ณ ห้องประชุม อาคารศูนย์เฉลิมพระเกียรติ  80 พรรษา ว่า สรุปผลการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน ปี 2558/59 สถานการณ์ ปริมาณน้ำท่าของลำน้ำปิงและช่วงท้ายน้ำเริ่มมีน้ำมากขึ้น มีบางพื้นที่เกิดอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก

สำหรับ เขื่อนแม่งัดฯ/เขื่อนแม่กวงฯมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มปริมาณน้ำในลำน้ำปิงจากต้นน้ำเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันเริ่มลดลงเนื่องจากฝนเริ่มมีน้อย ด้านท้ายน้ำเริ่มมีปริมาณน้ำสะสมมากขึ้น ในลำน้ำปิงมีปริมาณมากขึ้น และปริมาณน้ำจากพื้นที่เหนือน้ำ ไหลลงพื้นที่ท้ายน้ำอย่างต่อเนื่อง

6.jpg
นายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่
2.jpg
ประชุมหัวหน้าส่วนราชการฯ

สถานการณ์แหล่งน้ำชลประทานขนาดเล็กความจุตั้งแต่ 100,000 ลบ.ม. 115 แห่ง มีน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 จำนวน 73 แห่ง มีน้ำร้อยละ 31-50 จำนวน 23 แห่ง มีน้ำร้อยละ 51-80 จำนวน 14 แห่ง และมีน้ำมากกว่าร้อยละ 80 จำนวน 6 แห่ง ภาพรวมร้อยละ 23.93 แหล่งน้ำขนาดกลางจำนวน 12 แห่ง มีน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 จำนวน 7 แห่ง มีน้ำร้อยละ 31-50 จำนวน 2 แห่ง มีน้ำร้อยละ 51-80 จำนวน 2 แห่ง และมีน้ำมากกว่าร้อยละ 80 จำนวน 1 แห่ง ภาพรวมร้อยละ 21.56 แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ เขื่อนแม่งัดเหลือน้ำ 47.34 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น ร้อยละ 17.86 เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เหลือน้ำ 33.10 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 12.59 ภาพรวมร้อยละ 15.23 อำเภอที่มีน้ำชลประทานมากกว่า 50% มี 3 อำเภอ คือ เมือง สะเมิง และสันป่าตอง การบริหารจัดการน้ำ เน้นอุปโภค-บริโภค ระบบนิเวศน์ และเกษตรกรรม ติดตามการส่งน้ำรายวัน ประชุมวางแผนบริหารจัดการน้ำกับหน่วยงาน/ส่วนที่เกี่ยวข้องทุกสัปดาห์ผลการจัดการน้ำ ลุ่มน้ำปิงตอนบน จ.เชียงใหม่-จ.ลำพูน เป็นไปตามแผน

4.jpg
ลำน้ำปิงช่วงไหลผ่านเขตนครเชียงใหม่

นอกจากนั้น จากปัญหาภัยแล้งที่ผ่านมา ได้มีมาตรการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน และมีการเตรียมความพร้อมป้องกัน/บรรเทาภัย อุทกภัย ปี 2559 จากสถานการณ์อุณหภูมิน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิคเขตศูนย์สูตร เอลนีโญ จะลดระดับความรุนแรงลงและเข้าสู่ภาวะปกติใน ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2559 และมีโอกาส 65-70% ที่จะเกิดปรากฏการณ์ลานีญาในช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2559 และ 70- 75% ในช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2559 ได้มีการเตรียมเครื่องสูบน้ำสนับสนุนบรรเทาน้ำท่วมในเขตเมือง

5.jpg
จุดเสี่ยง..น้ำท่วมซ้ำซากในเขตนครเชียงใหม่

พื้นที่โซน 1 ในตำบลป่าแดดบ้านป่าพร้าวนอก โรงงานเหล้า ร้านวังปลา ร้านท่าน้ำ ทางลอดใต้สะพานป่าแดด

พื้นที่โซน 2 ในตำบลช้างคลาน ถ.เจริญประเทศ ร.ร.มงฟอร์ตประถม ป่าไม้เชียงใหม่ บ้านป่าแดด

พื้นที่โซน 3 ในตำบลหนองหอย บ้านเด่น หมู่บ้านจินดานิเวศน์

พื้นที่โซน 4 ในตำบลหนองหอยและสันป่าข่อย ห้างริมปิงฯ วัดท่าสะต๋อย ตลาดทองคำ ค่ายกาวิละ ตลาดสันป่าข่อย

พื้นที่โซน 5 ในตำบลหนองหอย ตลาดหนองหอย ร.ร.มงฟอร์ต ร.ร.กาวิละ ถ.ราษฎรอุทิศ

พื้นที่โซน 6 ในตำบลช้างคลาน ถ.ช้างคลาน ถ.ประชาสัมพันธ์ ไนท์บาร์ซาร์ แยกแสงตะวัน ถ.ลอยเคราะห์ เชียงใหม่แลนด์

พื้นที่โซน 7 ในตำบลฟ้าฮ่าม ตำบลวัดเกต ตำบลท่าศาลา และย่านสันป่าข่อย ร.ร.ปรินส์รอแยลฯ ถนนทุ่งโฮเต็ล สถานรถไฟ ตลาดวโรรส จุดที่ตั้งเครื่องสูบน้ำ ฝั่งขวาแม่น้ำปิง 11 จุด 17 เครื่อง ฝั่งซ้ายแม่น้ำปิง 14 จุด 20 เครื่อง

ทั้งนี้การเตรียมข้อมูลพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม จ.เชียงใหม่ มีหมู่บ้านเสี่ยงน้ำท่วม 1,294 แห่งจาก 2,066 แห่ง คิดเป็น
62.63% หมู่บ้านเสี่ยงน้ำท่วมปานกลาง 656 แห่ง คิดเป็น 31.75% มีหมู่บ้านเสี่ยงน้ำท่วมสูง 635 แห่ง คิดเป็น 30.73% การบริหารน้ำในเขื่อน เพื่อป้องกันน้ำท่วม-ภัยแล้ง คือการป้องกันน้ำท่วม โดยพร่องน้ำก่อนพายุเข้า – รอรับฝน มีการติดตามสถานการณ์น้ำเพื่อการเฝ้าระวังและเตือน ภัยจากข้อมูลสารสนเทศ และขอความร่วมมือเทศบาลนครเชียงใหม่ ทำแนวกำแพงป้องกันน้ำท่วม

ร่วมแสดงความคิดเห็น