ธุรกิจรพ.เมืองพ่อขุน สร้างรับแผ่นดินไหว

b.8
ธุรกิจโรงพยาบาลเชียงราย รุดสร้างตึกป้องกันแผ่นดินไหว หลังเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวมากที่สุดของประเทศไทย “เชียงรายอินเตอร์” ใช้เหล็กเส้นทาทา ทิสคอนเอส ก่อสร้างเพิ่มความมั่นใจเป็นอาคารโรงพยาบาลต้านแรงแผ่นดินไหว
นายแพทย์วัชระ เตชะธีราวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วัชรศิริเวช จำกัด เปิดเผยว่า กลุ่มแพทย์จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วยตนเอง แพทย์หญิงแพทย์หญิงวรนาฏ เตชะธีราวัฒน์ และนายแพทย์พีระ ตรรกพฤฒิพันธุ์ ได้ร่วมลงทุนก่อตั้งบริษัท วัชรศิริเวช จำกัดขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2557 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 72 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจหลักคือ โรงพยาบาลเชียงรายอินเตอร์
“กลุ่มแพทย์ที่ร่วมลงทุนกันนั้นมีประสบการณ์ทำงานด้านการแพทย์ที่จังหวัดเชียงราย และเป็นคนเชียงรายเรามองเห็นศักยภาพในการสร้างโรงพยาบาลเอกชนขึ้นใหม่เพื่อรองรับความต้องการทางด้านนี้ ในชื่อโรงพยาบาลเชียงรายอินเตอร์ ก่อสร้างในพื้นที่ 1 ไร่ 1 งานริมถนนพหลโยธินสายใน สร้างเป็นอาคารทรงยาวสูง 5 ชั้น เป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง มีห้องผ่าตัด 2 ห้อง ห้องคลอด ห้องไอซียู ห้องพักฟื้น มีแผนกผู้ป่วยนอก ห้องฉุกเฉิน กายภาพบำบัด การตรวจเลือด และอื่นๆ เหมือนโรงพยาบาลมาตรฐานทั่วไป มีศักยภาพในการรองรับผู้ป่วยได้วันละประมาณ 200 คน” พร้อมเปิดบริการธันวาคม2559
กรรมการผู้จัดการ บริษัท วัชรศิริเวช จำกัด กล่าวว่า มูลค่าการลงทุนสร้างโรงพยาบาลเชียงรายอินเตอร์ประมาณ 200 ล้านบาท โดยมีธนาคารทหารไทยสนับสนุนการลงทุนบุคคลากรที่มีอยู่ในปัจจุบันมีนายแพทย์ 4-5 ท่านและพยาบาลจำนวนหนึ่งที่เตรียมไว้แล้ว กำหนดเปิดบริการปลายปี 2559 นี้ ราวเดือนธันวาคม
จังหวัดเชียงรายนอกจากมีโรงพยาบาลของภาครัฐแล้ว ยังมีโรงพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน 2 แห่ง เป็นโรงพยาบาลขนาด 240 เตียง และขนาด 120 เตียง ทั้งสองโรงพยาบาลมีการใช้บริการอย่างคับคั่ง บางครั้งต้องมีเตียงเสริมและเปิดบริการมาร่วม 17 ปี ปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและกำหนดเปิดบริการในเร็ววันนี้คือ โรงพยาบาลกรุงเทพ และโรงพยาบาลเชียงรายอินเตอร์
กลุ่มผู้ใช้บริการที่มาใช้งานโรงพยาบาลเอกชน นอกจากคนในพื้นที่จังหวัดเชียงรายแล้ว ยังมีคนไข้จากพม่า และลาว มาใช้บริการด้วย ทั้งนี้เพราะเศรษฐกิจลาวและพม่าขยายตัวเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนมีรายได้สูงขึ้นมาใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนได้
มั่นใจด้วยเหล็กเส้น ทาทา ทิสคอนเอส
นายแพทย์วัชระ กล่าวว่า เนื่องจากจังหวัดเชียงรายอยู่ในเขตป้องกันภัยจากแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว และเมื่อ 2- 3ปีก่อนเกิดเหตุแผ่นดินรุนแรงที่จังหวัดเชียงรายดังที่รับรู้กัน การก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลเชียงรายอินเตอร์จึงออกแบบให้สามารถต้านแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวตามกฎหมายกำหนดตั้งแต่ต้น เมื่อวิศวกรได้แนะนำเหล็กเส้น ทาทา ทิสคอนเอส ซุปเปอร์ ดั๊กไทล์ของทาทา สตีล (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นเหล็กที่ผลิตขึ้นมาเพื่อต้านทานแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว จึงตัดสินใจเลือกใช้ เหล็กเส้นทาทา ทิสคอนเอสในการก่อสร้างทั้งหมด เป็นการเพิ่มความมั่นใจอีกระดับหนึ่งจากการออกแบบให้อาคารต้านแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว
“ระหว่างการก่อสร้าง การซื้อเหล็กเส้น ทาทา ทิสคอนเอส สะดวกไม่ติดขัด การก่อสร้างเป็นไปตามแผนการที่กำหนดไว้ความคืบหน้าในการก่อสร้างปัจจุบันก่อสร้างตัวอาคารแล้วเสร็จทั้งหมด อยู่ระหว่างการตกแต่ง การติดตั้งงานระบบน้ำ ระบบไฟ การติดตั้งระบบและอุปกรณ์การแพทย์ต่าง ๆอีกทั้งในโอกาสที่สร้างโรงพยาบาลใหม่ จึงได้ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่ เช่นห้องผ่าตัดมีโอกาสใช้เครื่องปรับอากาศระบบ HEPAที่มีมีระบบฆ่าเชื้อโรคในตัว ทำให้ห้องผ่าตัดมีความปลอดเชื้ออย่างสมบูรณ์มากขึ้น เป็นต้น”
บริหารแบบกึ่งธุรกิจ “กึ่งมูลนิธิ”
กรรมการผู้จัดการ บริษัท วัชรศิริเวช จำกัด เปิดเผยว่า แนวทางการบริหารจัดการ การประกอบกิจการของโรงพยาบาลเชียงรายอินเตอร์เป็นแบบกึ่งธุรกิจกึ่งมูลนิธิ กล่าวคือไม่มุ่งเน้นการทำกำไร ไม่ได้ตั้งเป้าเป็นโรงพยาบาลระดับ 5 ดาว แต่กิจการต้องมีรายได้ที่อยู่ได้ มีผลตอบแทนให้คนทำงานทุกส่วน ผู้เข้ามารับบริการจากโรงพยาบาลไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง นั้นคือwin-win กันทั้งสองฝ่าย
“ทั้งนี้จากข้อมูลการเจ็บไข้ได้ป่วยของจังหวัดเชียงรายในช่วงเวลาปกติ ผู้ป่วยที่เข้าโรงพยาบาลอันดับแรกป่วยจากโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น หวัด ปอดบวม อันดับต่อมาคือโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย แต่ในช่วงเทศกาล ผู้เจ็บป่วยจากอุบัติเหตุมีสูง ดังที่เป็นข่าวมาตลอด อาจเนื่องจากเชียงรายมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามอยู่มากด้วย” นายแพทย์วัชระกล่าวและว่า
โรงพยาบาลเชียงรายอินเตอร์ได้เตรียมพื้นที่ไว้รองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยมีบริการพิเศษดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ โดยเตรียมเปิดบริการดูแลผู้สูงอายุที่พอสามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยรับดูแลแบบมาเช้า เย็นกลับ หรือที่เรียกว่า Day careบริการนี้เปิดพร้อมกันกับบริการอื่น ๆ ของโรงพยาบาล
นายแพทย์วัชระกล่าวว่า จากความพร้อมของอาคารสถานที่ อุปกรณ์และระบบทางการแพทย์ แพทย์ พยาบาลและบุคลากรสนับสนุน จึงมั่นใจว่าเมื่อเปิดบริการแล้วโรงพยาบาลเชียงรายอินเตอร์สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม มีความพึงพอใจนอกจากนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการทางกลุ่มผู้ถือหุ้นได้ตกลงเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนเป็น 100 ล้านบาทอีกด้วย
“โรงพยาบาลเชียงรายอินเตอร์ใช้เหล็กเส้น ทาทา ทิสคอนเอส ก่อสร้างทั้งหมด เพิ่มความเชื่อมั่นการต้านทานแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว”
“ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนจังหวัดเชียงราย มีกลุ่มลูกค้าจากพม่า และลาวที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัวมาใช้บริการมากขึ้น”

ร่วมแสดงความคิดเห็น