นักท่องเที่ยวจาก UK ปี’59 คาดขยายตัวไม่ต่ำกว่าปีที่แล้ว แม้จะมีประเด็น Brexit เข้ามา

b.1

ตลาดนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 8.5 จากสถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติ พบว่า ตลาดนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักร เป็นตลาดที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามายังประเทศไทยสูงเป็นอันดับที่ 8 และมีการใช้จ่ายสูงเป็นอันดับ 4 โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรเดินทางเข้ามายังประเทศไทยจำนวน 5 แสนคน (ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงสุดในประวัติการณ์) หรือเติบโตร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งแรงหนุนส่วนหนึ่งมาจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์ด้านท่องเที่ยวใหม่ๆ ในเมืองท่องเที่ยวรองของไทยที่สามารถตอบโจทย์พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักร

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์เรื่อง นักท่องเที่ยวจาก UK ปี’59… คาดขยายตัวไม่ต่ำกว่าปีที่แล้ว แม้จะมีประเด็น Brexit โดยทิศทางนักท่องเที่ยวจากสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยช่วงครึ่งหลังของปี 2559 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดนักท่องเที่ยวจากสหภาพยุโรปที่ไม่รวมสหราชอาณาจักรน่าจะยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก จากผลของ Brexit แม้ค่าเงินยูโรจะอ่อนค่า โดยตลาดนักท่องเที่ยวสำคัญอย่างเยอรมนี และฝรั่งเศส มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีตลาดนักท่องเที่ยวจากสหภาพยุโรปอื่นๆ ที่น่าจับตามอง เนื่องจากเริ่มเห็นสัญญาณการกลับเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองไทยเพิ่มขึ้น อาทิ นักท่องเที่ยวจากสวีเดน และเดนมาร์ก

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2559 นักท่องเที่ยวจากสหภาพยุโรปที่ไม่รวมสหราชอาณาจักร จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.6-8.5 หรือมีจำนวนประมาณ 3.72-3.75 ล้านคน จากที่เติบโตร้อยละ 4.7 ในปี 2558 ส่วนรายได้ท่องเที่ยวจากตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้น่าจะมีมูลค่าประมาณ 2.65-2.66 แสนล้านบาท

777ขณะที่ นักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักร ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ Post Brexit ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในช่วงที่เหลือของปี 2559 อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2559 ตลาดนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยน่าจะยังขยายตัวร้อยละ 4.0-5.2 หรือมีจำนวน 9.85-9.96 แสนคน จากที่เติบโตร้อยละ 4.3 ในปี 2558 ส่วนรายได้ท่องเที่ยวจากตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้อยู่ที่ประมาณ 7.01-7.15 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ความไม่สงบในบางประเทศของยุโรปอาจเป็นโอกาสของไทยให้เร่งทำการตลาดเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจของชาวยุโรปที่อาจจะเปลี่ยนแผนการเดินทางไปท่องเที่ยวยังนอกภูมิภาค

111

ครึ่งแรกของปี 2559: ตลาดนักท่องเที่ยวจากสหภาพยุโรปที่ไม่รวมสหราชอาณาจักรกลับมาเติบโตโดดเด่น ขณะที่นักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรมีจำนวนเกิน 5 แสนคน สูงสุดเป็นประวัติการณ์

เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่ทยอยปรับตัวดีขึ้น กอปรกับการทำตลาดที่เข้มข้นของภาคธุรกิจท่องเที่ยวทั้งในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจสายการบินต่างชาติที่ขยายเส้นทางการบินระหว่างประเทศไทยกับหลายประเทศในยุโรป รวมถึงยังได้ขยายเส้นทางการบินไปยังเมืองรองๆ ในประเทศยุโรป จากรายงานของศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว (TAT Intelligence Center: TATIC) พบว่า แผนการบินตรง (Direct Flight) ของเที่ยวบินระหว่างประเทศจากประเทศในสหภาพยุโรป (EU) มายังประเทศไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 มีจำนวน 3,373 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 นอกจากนี้ การทำการตลาดและการแข่งขันที่สูงของบริษัทนำเที่ยวในต่างประเทศ มีผลทำให้ราคาแพคเกจทัวร์และราคาตั๋วโดยสารเครื่องบินมายังประเทศไทยค่อนข้างถูก ประกอบกับการทำการตลาดของผู้ประกอบการไทยและหน่วยงานภาครัฐอย่างเข้มข้น เป็นแรงหนุนสำคัญที่ทำให้ตลาดนักท่องเที่ยวจากกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ยังขยายตัวได้ดี

666ตลาดนักท่องเที่ยวจากสหภาพยุโรปที่ไม่รวม สหราชอาณาจักรในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 เติบโตร้อยละ 8.0 จากสถานการณ์ในปัจจุบัน พบว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 มีนักท่องเที่ยวจากสหภาพยุโรปที่ไม่รวมสหราชอาณาจักรเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจำนวน 1.90 ล้านคน เติบโตร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ เมื่อพิจารณานักท่องเที่ยวรายประเทศในตลาดกลุ่มนี้ พบว่า นักท่องเที่ยวจากหลายประเทศในยุโรปยังขยายตัวดี แม้กระทั่งกลุ่มนักท่องเที่ยวจากสวีเดนและเดนมาร์กกลับมาเติบโตเป็นบวกจากที่เคยหดหายไปในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่วนตลาดนักท่องเที่ยวหลักจากสหภาพยุโรปอย่างนักท่องเที่ยวจากเยอรมนียังเติบโตดี ซึ่งแรงหนุนสำคัญมาจากการเปิดเส้นทางการบินต้นทุนต่ำระยะไกล (Low Cost Long Haul) ของสายการบินจากเยอรมนีในปีที่ผ่านมา โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวจากเยอรมนีจำนวน 4.26 แสนคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ภาพรวมตลาดนักท่องเที่ยวยุโรปยังได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของนักท่องเที่ยวจากฝรั่งเศส อิตาลีและสเปนที่เติบโตร้อยละ 8.1 ร้อยละ 9.2 และร้อยละ 12.6 ตามลำดับ

ตลาดนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 8.5 จากสถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติ พบว่า ตลาดนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักร เป็นตลาดที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามายังประเทศไทยสูงเป็นอันดับที่ 8 และมีการใช้จ่ายสูงเป็นอันดับ 4 โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรเดินทางเข้ามายังประเทศไทยจำนวน 5 แสนคน (ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงสุดในประวัติการณ์) หรือเติบโตร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งแรงหนุนส่วนหนึ่งมาจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์ด้านท่องเที่ยวใหม่ๆ ในเมืองท่องเที่ยวรองของไทยที่สามารถตอบโจทย์พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักร555

ทิศทางนักท่องเที่ยวจากสหภาพยุโรปในช่วงที่เหลือของปี 2559: ติดตามผลจาก Post Brexit และเหตุการณ์ความไม่สงบในบางประเทศของยุโรป

แม้คาดว่าในปี 2559 นี้ นักท่องเที่ยวจากตลาดดังกล่าวนี้จะสามารถกลับมาเติบโตได้อย่างโดดเด่นหลังจากที่หดหายไปในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจการเงินในยุโรป อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นอย่างกรณีของ Brexit การที่สหราชอาณาจักรถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา สร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร และอาจจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปในช่วงที่เหลือของปีนี้ได้ นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบที่คุกคามบางประเทศของยุโรปในขณะนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจบริการด้านท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องควรต้องติดตามปัจจัยแวดล้อมต่างๆ อย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจจะมีผลต่อทิศทางของตลาดนักท่องเที่ยวจากสหภาพยุโรปในช่วงที่เหลือของปี 2559 นี้
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ทิศทางตลาดนักท่องเที่ยวจากกลุ่มสหภาพยุโรปที่ไม่รวมสหราชอาณาจักร และสหราชอาณาจักรในช่วงที่เหลือของปี 2559 ดังนี้

แม้จะมีเหตุการณ์ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในยุโรปเพิ่มขึ้น แต่คาดว่าผลกระทบจาก Brexit ยังไม่น่าจะมีผลต่อกลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรปที่ไม่รวมสหราชอาณาจักรส่วนความไม่สงบในบางประเทศของยุโรปอาจเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย

ตลาดนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรปยังน่าจะเติบโตได้ แม้ผลจาก Brexit ทำให้เกิดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มสหภาพยุโรป แต่คาดว่าผลกระทบที่จะส่งผ่านมายังภาคการท่องเที่ยวไทยในช่วงที่เหลือของปี 2559 นี้ น่าจะยังจำกัด ขณะที่ ปัจจัยแวดล้อมอื่น อย่างความไม่สงบในตุรกี เหตุการณ์ก่อการร้ายในฝรั่งเศสและเยอรมนี คงส่งผลต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของประชาชนชาวยุโรป โดยบางส่วนอาจเลือกที่จะเปลี่ยนแผนการเดินทางไปท่องเที่ยวยังนอกภูมิภาค ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทยที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ประกอบกับความสงบภายในประเทศที่เอื้อ บวกกับความได้เปรียบเรื่องความคุ้มค่าเงิน อีกทั้งการยกระดับมาตรการด้านความปลอดภัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนไทยและชาวต่างชาติ ดังนั้น ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องควรใช้จังหวะนี้จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่เข้มข้นเพื่อกระตุ้นตลาด โดยเฉพาะชาวยุโรปที่ยังไม่ได้ตัดสินใจหรือวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงไฮซีซั่นของปีนี้

444สำหรับตลาดนักท่องเที่ยวจากสหภาพยุโรปอื่นๆ ที่น่าจับตามอง เนื่องจากเริ่มเห็น สัญญาณของการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ อาทิ นักท่องเที่ยวจากสวีเดน และเดนมาร์ก ที่เริ่มกลับเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองไทยเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศนี้เริ่มดีขึ้น ทำให้กำลังซื้อและความเชื่อมั่นของประชาชนในประเทศดีขึ้น เห็นได้ว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 ที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวจากสวีเดนเดินทางท่องเที่ยวในไทยเติบโตร้อยละ 10.0 (มีจำนวน 193,918 คน) และเดนมาร์กเติบโตร้อยละ 5.9 (มีจำนวน 100,504 คน) ซึ่งนักท่องเที่ยวจากสวีเดนและเดนมาร์ก เคยมีอัตราการเติบโตที่ดี โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 60,000-70,000 บาท/คน/ทริป และพำนักเฉลี่ยประมาณ 14-18 วัน/คน/ทริป ดังนั้น ตลาดกลุ่มนี้มีความน่าสนใจและเป็นโอกาสให้กับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง จึงควรหันมาทำการตลาดเพื่อกระตุ้นตลาดกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความผันผวนของตลาดอื่น
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2559 ตลาดนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยจะขยายตัวประมาณร้อยละ 7.6-8.5 หรือมีจำนวน 3.72-3.75 ล้านคน จากที่เติบโตร้อยละ 4.7 ในปี 2558 ส่วนรายได้ท่องเที่ยวจากตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 2.65-2.66 แสนล้านบาท

ตลาดนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรในช่วงที่เหลือของปี 2559…แม้การเมืองของสหราชอาณาจักรจะมีความชัดเจนแต่ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนและภาคประชาชนลดลงสำหรับตลาดนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรเดินทางเข้ามาเที่ยวไทยในช่วงที่เหลือของปี 2559 นี้ มีความเสี่ยงที่อาจจะชะลอลงในช่วงไฮซีซั่น แม้ว่าในช่วงไฮซีซั่น (ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีต่อเนื่องไปยังไตรมาสแรกของทุกปี) นักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรจะมีการจองล่วงหน้าแล้ว แต่ยังมีนักท่องเที่ยวบางส่วนที่อยู่ระหว่างการวางแผนการท่องเที่ยวในช่วงไฮซีซั่น

กว่า 1 เดือนที่ผ่านมา ผลจาก Brexit เริ่มสะท้อนไปในทิศทางเชิงลบไม่ว่าจะเป็นค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่าลง และดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ อาทิ ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสหราชอาณาจักร (UK Consumer Confidence Index: UKCCI) ของ GfK พบว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรในเดือนกรกฎาคม 2559 ลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 26 ปี โดยดัชนี (Index Score) ติดลบ 12 จากที่ติดลบ 1 ในเดือนมิถุนายน 2559

333ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการผลิตของสหราชอาณาจักร อย่างดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) ที่จัดทำโดย IHS Markit ระบุ ระดับดัชนีในเดือนกรกฎาคม 2559 อยู่ที่ 48.2 ลดลงจากในช่วงก่อนการลงประชามติอยู่ที่ระดับ 52.4 ในเดือนมิถุนายน 2559

ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมที่ยังค่อนข้างอ่อนไหวจากผลของ Brexit กอปรกับนโยบายเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศที่ยังไม่ชัดเจน อาจจะมีผลทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยไม่ได้ตามที่เคยคาดการณ์ว่าน่าจะมีจำนวนประมาณ 1.05 ล้านคน โดยมองว่า ผลจาก Brexit อาจทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ชะลอลง โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2559 จะมีนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยจำนวนประมาณ 4.83-4.93 แสนคน ซึ่งลดลงร้อยละ 0.3 ถึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่เติบโตร้อยละ 5.8

ขณะที่ ภาพรวมตลอดทั้งปี 2559 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรของไทยน่าจะยังขยายตัวไม่ต่ำกว่าปีที่แล้ว โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0-5.2 หรือมีจำนวน 9.85-9.96 แสนคน จากที่เติบโตร้อยละ 4.3 ในปี 2558 ส่วนรายได้ท่องเที่ยวจากตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 7.01-7.15 หมื่นล้านบาท

จากสถานการณ์ข้างต้น ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องของไทย อย่างธุรกิจโรงแรม ธุรกิจสายการบิน คงต้องติดตามสถานการณ์ Post Brexit อย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจได้ทันเหตุการณ์ไม่ว่าจะเป็นการปรับการแผนลดการทำการตลาดสำหรับกลุ่มลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจากภูมิภาคยุโรปที่อาจชะลอแผนการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยอาจจะหันไปรุกทำการตลาดเพื่อกระตุ้นตลาดที่มีสัญญาณการฟื้นตัว อย่างตลาดนักท่องเที่ยวจากกลุ่มสแกนดิเนเวีย

222

ร่วมแสดงความคิดเห็น