พัฒนาการผลิตกระบือไทย หนุนฝังไมโครชิพในกระบือเพศเมีย

B7
นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระบือไทยนับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความสําคัญต่อเกษตรกรตลอดมา โดยเป็นส่วนหนึ่งในระบบการผลิตการเกษตรที่มีการเพาะปลูกเป็นรายได้หลัก ปัจจุบันสถานการณ์กระบือและผู้เลี้ยงกระบือในประเทศไทยมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเกษตรกรที่ประกอบอาชีพการทํานา มีการใช้รถไถนาแทนการใช้แรงงานกระบือ จึงขายกระบือทิ้งเข้าโรงฆ่า เกษตรกรที่ยังเลี้ยงกระบืออยู่ส่วนใหญ่ไม่ได้เลี้ยงกระบือเป็นอาชีพ จึงไม่ให้ความสนใจในด้านการจัดการ การเลี้ยงดู การปรับปรุงพันธุ์ การป้องกันโรค อาจส่งผลให้เกิดการสูญพันธุ์ของกระบือในประเทศไทยได้
ด้านนายสัตวแพทย์อยุทธ์ หรินทรานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์ มีนโยบายเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการและพัฒนาการผลิตกระบือ เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และดำเนินการตามโครงการดังกล่าว โดยจะดำเนินการติดไมโครชิพให้กับกระบือเพศเมียทั่วประเทศที่ร่วมโครงการในครั้งนี้ ซึ่งการติดไมโครชิพ จะติดตั้งที่โคนหางด้านขวาของกระบือเพศเมียทุกตัว จะเป็นเครื่องยืนยันว่า กระบือตัวนั้น มีแหล่งที่มาที่ใด ใครเป็นเจ้าของ มีการตรวจรักษา ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามระยะเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่ และเป็นการช่วยตรวจสอบได้ผลอย่างชัดเจนหากว่ามีการลักขโมยกระบือหรือมีการขนส่งกระบือผ่านจุดตรวจ จุดสกัดกักกันสัตว์ตามที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการติดไมโครชิพในกระบือเพศเมียของธนาคารโคกระบือ และของเกษตรกรทั่วประเทศไปแล้วเป็นจำนวน 183,794 ตัว

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์มีแผนการดำเนินงานติดไมโครชิพให้แล้วเสร็จภายในเดือน กรกฎาคม 2559 และขยายการดำเนินการจนถึงปลายเดือนสิงหาคมเป็นจำนวน 583,146 ตัว

B8

ร่วมแสดงความคิดเห็น