สกู๊ปหน้า1…บัตรประจำตัวราษฎรไทยในปัจจุบัน

0qแม้ว่าราษฎรไทยตามกฎหมายมี 2 พวก แต่ในเรื่องบัตรประจำตัวของราษฎรทั้ง 2 ประเภทนั้น จะมีอยู่ 3 ประเภท กล่าวคือ

(1) บัตรประชาชน คนสัญชาติไทยจะถือบัตรประจำตัวบุคคลที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยบัตรประชาชน บัตรประจำตัวราษฎรไทยประเภทนี้จึงถูกเรียกว่า “บัตรประชาชน” ตามชื่อพระราชบัญญัติที่ใช้เป็นพื้นฐานทางกฎหมายของการออกบัตรดังกล่าว ในปัจจุบัน ก็คือ พ.ร.บ.บัตรประชาชน พ.ศ.2526 ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.บัตรประชาชน พ.ศ.2526

ราษฎรไทยประเภทนี้จะถูกบันทึกรายการสถานะบุคคลในทะเบียนบ้านตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรประเภท ท.ร.14 กล่าวคือ เป็นทะเบียนบ้านสำหรับคนอาศัยถาวร ตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551

(2) บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ในขณะที่คนต่างด้าวหรือคนที่ไม่มีสัญชาติไทย จะถือบัตรประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท กล่าวคือ (1) บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย และ (2) บัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน

บัตรประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ประเภทแรก ก็คือ บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งออกให้แก่ราษฎรต่างด้าวที่มีสิทธิอาศัยในประเทศไทย 4 ลักษณะ กล่าวคือ

(1) อดีตคนไร้รัฐที่ได้รับสิทธิอาศัยชั่วคราวในประเทศไทยตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ซึ่งมีด้วยกัน 17 กลุ่ม

(2) อดีตคนไร้รัฐที่แสดงตนขึ้นทะบียนแรงงานในสถานะแรงงานต่างด้าวจากพม่าหรือลาวหรือกัมพูชา

(3) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองถูกกฎหมายและมีสิทธิอาศัยชั่วคราวตามมาตรา 34-35 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522

และ (4) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองถูกกฎหมายและมีสิทธิอาศัยถาวรตามมาตรา 40, 42, 43, 51 รวมถึงมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ซึ่งราษฎรไทยประเภทคนต่างด้าวทั้ง 4 ประเภท จะปรากฏรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎร 3 ลักษณะ กล่าวคือ

ลักษณะแรก ก็คือ ทะเบียนบ้านตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรประเภท ท.ร.14 ซึ่งเป็นทะเบียนบ้านสำหรับคนอาศัยถาวร สำหรับคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองถูกกฎหมายและมีสิทธิอาศัยถาวรตามมาตรา 40, 42, 43, 51 รวมถึงมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522

ลักษณะที่สอง ก็คือ ทะเบียนบ้านตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรประเภท ท.ร.13 ซึ่งเป็นทะเบียนบ้านสำหรับคนมีสิทธิอาศัยชั่วคราวตามมาตรา 34-35 รวมถึงมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ขอสังเกตว่า ราษฎรไทยประเภทคนต่างด้าวที่มีสิทธิอาศัยชั่วคราวใน ท.ร.13 นี้ อาจมีหรือไม่มีสถานะคนเข้าเมืองที่ชอบด้วยกฎหมายก็ได้ ซึ่งตัวอย่างของคนใน ท.ร.13 ซึ่งไม่มีสถานะเป็นคนเข้าเมืองที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็คือ อดีตคนไร้รัฐที่ได้รับสิทธิอาศัยชั่วคราวในประเทศไทย 17 ประเภท

ลักษณะที่สาม ก็คือ ทะเบียนประวัติตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรประเภท ท.ร.38/1 กล่าวคือ เป็นทะเบียนประวัติสำหรับคนที่แสดงตนเป็นแรงงานต่างด้าวไร้รัฐจากประเทศลาว หรือพม่าหรือกัมพูชา สำหรับอดีตคนไร้รัฐที่แสดงตนขึ้นทะเบียนแรงงานในสถานะแรงงานต่างด้าวจากพม่า หรือลาวหรือกัมพูชาอย่างครบขั้นตอนที่กำหนดตามมติคณะรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจ ตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522

(๓) บัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน บัตรประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ประเภทที่สอง ก็คือ บัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ซึ่งบัตรประเภทนี้อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534

313_new_80_1366599585

แนวคิดในการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติสำหรับคนที่มีปัญหาสถานะบุคคลประเภท คนไร้รัฐเป็นไปตามยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติคณะ รัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2548 ซึ่งรับรองสิทธิในการออกบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนให้แก่คนไร้รัฐ 6 ประเภท กล่าวคือ
พวกแรก ก็คือ พวกที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ซึ่งทะเบียนบ้านก็มี 2 ประเภท อันได้แก่ (1.1) คนอยู่ถาวรใน ท.ร.14 ซึ่งมีทั้งคนสัญชาติไทยและคนต่างด้าว และ (1.2) คนอยู่ชั่วคราวใน ท.ร.13 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเท่านั้น แต่อาจเป็นคนเข้าเมืองถูกหรือผิดกฎหมายก็ได้

และ พวกที่สอง ก็คือ พวกที่มีชื่อในทะเบียนประวัติ ซึ่งในวันนี้ มี 3 พวก กล่าวคือ (2.1) พวกชนกลุ่มน้อยดั้งเดิม 17 ประเภท (2.2) พวกแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือจากพม่าลาวกัมพูชา ใน ท.ร.38/1 และ (2.3) พวกคนไร้รัฐหรือบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรใน ท.ร.38 ก อันได้แก่

(1) คนที่ถือบัตรประจำตัวผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า (2) คนที่ถือบัตรประจำตัวผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า (มีที่อยู่ถาวร) (3) คนที่ถือบัตรประจำตัวผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า (อยู่กับนายจ้าง) (4) คนที่ถือบัตรผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย (5) คนที่ถือบัตรประจำตัวอดีตทหารจีนคณะชาติ (อดีต ทจช.) (6) คนที่ถือบัตรประจำตัวจีนฮ่ออพยพ (7) คนที่ถือบัตรประจำตัวจีนฮ่ออิสระ (8) คนที่ถือบัตรประจำตัวญวนอพยพ (9) คนที่ถือบัตรประจำตัวผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกงกัมพูชา (10) บัตรประจำตัวผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา (11) คนที่ถือบัตรประจำตัวลาวอพยพ (12) คนที่ถือบัตรประจำตัวผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (13) คนที่ถือบัตรประจำตัวบุคคลบนพื้นที่สูง (14) คนที่ถือบัตรเผ่าตองเหลือง (15) คนที่ถือบัตรสำรวจชุมชนบนพื้นที่สูง (16) คนที่ถือบัตรประจำตัวเนปาลอพยพ และ (17) คนที่ถือบัตรประจำตัวไทยลื้อ

สำหรับเคล็ดลับในการลงนามเอกสาร “เซ็นรับรองให้ดี ๆ ก่อนมีหนี้ไม่รู้ตัว” เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะทำธุรกรรมอะไรก็ตามที่ต้องใช้เอกสารสำคัญ ๆ เรามักจะต้องเซ็นชื่อกำกับไว้ด้วยทุกครั้ง แต่คุณเคยสังเกตหรือไม่ว่า บางคนก็จะมีการเซ็นกำกับต่อว่าใช้เพื่อทำอะไร ในขณะที่บางคนก็เพียงแค่เซ็นรับรองความถูกต้องเฉย ๆ

เท่านั้นยังไม่พอ มีบางคนลงวันที่กำกับด้วย แล้วคุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าเราทำอย่างนั้นไปเพื่ออะไร และต้องทำแบบไหนถึงจะถูกต้องที่สุด ?

เพราะเดี๋ยวนี้นั้นขโมยขโจรมากมายเหลือเกิน แถมยังคิดค้นวิธีสารพัด สารพันมาหลอกลวงเราอีกต่างหาก เรียกได้ว่าโจรเดี๋ยวนี้นั้นพัฒนากลโกงได้รวดเร็วจนเราแทบจะตามไม่ทันกันเลย ทีเดียว และสิ่งหนึ่งที่ดูจะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่หลาย ๆ คนอาจจะละเลยไปนั่นก็คือ เหล่าบรรดาสำเนาเอกสารสำคัญต่าง ๆ

but1 (1)

ซึ่ง คุณทราบหรือไม่ว่าเหล่ามิจฉาชีพอาจจะใช้สำเนาเอกสารเหล่านี้ไปสร้างหนี้ก้อน โตให้คุณได้โดยที่มันได้เงินไปแถมยังหายหน้าไปพร้อมกับความสุขอุรา ในขณะที่คนที่นั่งน้ำตาตกก็อาจจะเป็นคุณที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็ได้
ซึ่ง การเซ็นชื่อกำกับสำเนาเอกสารนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันไม่ให้มีการนำเอาเอกสารของเราไปใช้ในเรื่องอื่น ๆ ที่เราไม่ทราบเรื่องด้วย และวิธีการที่ถูกต้องในการเซ็นชื่อรับรองก็คือ

ต้องเขียนชื่อ นามสกุล รับรองสำเนาถูกต้อง ระบุวัตถุประสงค์ที่จะใช้ เช่น เพื่อสมัครงาน เพื่อทำเรื่องไปศึกษาต่อ หรือเพื่อกูยืมเงินจากที่ไหน เป็นต้น นอกจากนี้อย่าลืมระบุวันที่ที่ใช้ด้วย

และที่ลืมไม่ได้ก็คือ ให้เซ็นตรงส่วนที่เป็นรายละเอียดส่วนใหญ่ หรือตรงบัตรประชาชนด้านบนนั่นเอง หรือไม่อย่างนั้นในขณะที่ถ่ายเอกสารก็อาจจะให้ทางร้านวางถ่ายเอกสารให้ด้านบนกับด้านล่างชิดกันมากขึ้นหน่อยอย่าให้ห่างกันมากตนเกินไป เพื่อจะได้เซ็นได้ครอบคลุมเกือบทั้งหมด

ร่วมแสดงความคิดเห็น