ภาคเหนือเฝ้าระวังภัย วิกฤติน้ำท่วม-ดินถล่ม

นายเมธี มหายศนันท์ ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ กล่าวว่า ในวันนี้กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ติดตามสภาพอากาศทั่วไป มีแนวโน้มว่าปริมาณฝนที่ตกหนักในภาคเหนือจะเริ่มลดลง หลังจากหลายๆพื้นที่ตกหนักติดต่อกันมาหลายวัน ทำให้เกิดปริมาณน้ำฝนสะสม จนส่งผลต่อน้ำไหลหลาก ภาวะน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม

5.jpgกรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ลักษณะอากาศทั่วไปว่าช่วงวันที่ 18-20 ส.ค. 2559 คาดว่าหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณใกล้ชายฝั่งฮ่องกง ประเทศจีน จะเคลื่อนผ่านบริเวณอ่าวตังเกี๋ย เข้าปกคลุมบริเวณ สปป.ลาวตอนบน ส่งผลให้ภาคเหนือจะมีฝนเพิ่มขึ้น ฝนอาจตกหนักถึงหนักมากอีกระลอก

จึงขอแจ้งเตือน ให้ประชาชนระมัดระวังฝนตกหนัก ฝนที่ตกสะสมในระยะดังกล่าวด้วย และวันนี้ตั้งแต่เวลา 06.00 วันนี้ ถึง 06.00 วันพรุ่งนี้ ในภาคเหนือ คาดว่าจะมีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน และตาก อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ทางด้านนายณรงค์ อ่อนสอาด ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ระบุว่าได้ประชุมซักซ้อมความเข้าใจกับหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ โดยศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดลำพูน ได้จัดทำแผนและปรับปรุงแนวทางปฏิบัติการป้องกัน แก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่มปี2559 ให้ทันสถานการณ์และสอดรับกับรายงานสภาพภูมิอากาศ

ได้สั่งการให้อำเภอ ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น( อปท.)จัดตั้งศูนย์บัญชาการในระดับพื้นที่ สำรวจ ตรวจสอบจุดเสี่ยง อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรกลให้มีความพร้อม ซึ่งจังหวัดลำพูน ใน 8 อำเภอนั้นมี 324 หมู่บ้าน แยกเป็นระดับเสี่ยงต่ำ 6 หมู่บ้าน เสี่ยงปานกลาง 135 หมู่บ้าน และมีความเสี่ยงสูง 183 หมู่บ้าน

3.jpg
เฝ้าระวัง..ระดับน้ำ

สำนักงาน ปภ. ลำพูน ระบุว่า จังหวัด เน้นย้ำให้ถอดบทเรียน ในเหตุการณ์ที่ผ่านมา เพื่อบูรณาการแผนรับมือ แก้ไขปัญหา และเฝ้าระวังจุดเสี่ยง เป็นพิเศษใน 8 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมือง จะมีที่ต.ริมปิง,ต.เวียงยองและต.ในเมือง ที่บ้านยู้ ส่วนใหญ่จะท่วมขัง ระบายน้ำไม่ทัน

7.jpg
ที่ผ่านๆมา อ.แม่ทา..อ.ป่าซาง…เคยเผชิญวิกฤติน้ำเอ่อล้นตลิ่ง ท่วมชุมชน บ้านเรือน ปัจจุบันมีพนังกั้น ป้องกันปัญหา

อำเภอแม่ทา จะมีปัญหาน้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม ที่ต.ทาปลาดุก (อุทยานขุนตาลฯ) ต.ทาแม่ลอบ ส่วนอำเภอลี้จะมีน้ำแม่ต๊ะ บ้านม่วงสามปี มักเอ่อท่วมถนน น้ำป่าไหลหลากบริเวณอุทยานฯแม่ปิง ต.ก้อ ต้องระวังสะพานเสียหาย น้ำระบายไม่ทัน

1.jpg
สะพานเป็นอีกจุดที่ต้องเฝ้าระวังไม่ให้รับความเสียหายจากน้ำพัดกระแทกพัง

ในขณะที่ อ.ทุ่งหัวช้าง ต้องเฝ้าระวังบ้านปวง,ต.ตะเคียนปมซึ่งมักจะมีน้ำท่วมขัง ดินถล่ม เช่นเดียวกับที่ อ.ป่าซาง ที่ต.ป่าซาง น้ำท่วมขัง ในที่ลุ่ม และอ.บ้านธิ ต.ห้วยยาบ จะมีน้ำป่า ดินถล่ม อ.เวียงหนองล่อง ที่ต.วังผาง,ต.เวียงหนองล่อง ทุกๆปีจะเกิดภาวะน้ำปิงเอ่อล้นตลิ่ง น้ำปิงหนุน ผสมกับน้ำลี้ ทำให้ระบายน้ำไม่ทัน แต่ปีนี้ ปริมาณน้ำคงไม่น่าจะเกิดภาวะแบบนั้น แต่ก็ต้องเฝ้าระวังอ่ย่างใกล้ชิด

2.jpg
หลายๆพื้นที่จัดเตรียมวางแนวกระสอบทราย ป้องกันน้ำหลากล้นตลิ่งท่วมชุมชน

ด้านนายปวีณ ชำนิประศาสน์ ผวจ.เชียงใหม่ ยืนยันว่า เชียงใหม่ ในจุดเสี่ยงทั้ง 25 อำเภอ 178 ตำบล 919 หมู่บ้าน กำชับและสั่งการอำเภอ องค์รปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ ผู้นำชุมชน รวมถึง ปภ. และมิสเตอร์เติอนภัย เกาะติดสถานการร์ใกล้ชิด บูรณาการแผนตามที่ประชุมกัน ชล่าใจไม่ได้ เพราะจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในจุดเสี่ยงหลายๆแห่งในภาคเหนือ หลายพื้นที่วิกฤติจากน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม เนื่องจากปริมาณน้ำฝนสะสม ตกหนัก ซึ่งช่วงนี้ อุตุนิยมวิทยา แจ้งเตือนให้ระวังรับมือ น้ำฝนสะสม ฝนตกหนักจากร่องมรสุม

4.jpg
เชียงใหม่ ที่ ต.แม่วิน อ.แม่วางเผชิญน้ำป่า ดินโคลนถล่มเสียหาย

ผู้สื่อข่าว รายงานเพิ่มเติมว่า นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารภัย (ปภ.) ได้ สั่งการ ให้ปภ.จังหวัดในภาคเหนือ ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก ทั้งน่าน,พะเยา, ให้เร่งประสานงาน การช่วยเหลือ และประสานงานกับ ปภ.ในโซนภาคเหนือ ในพื้นที่ลุ่มน้ำหลักๆทั้งน้ำปิง ,น้ำโขง,น้ำอิง ,น้ำลี้,น้ำแม่แจ่ม,น้ำแม่ทาระวังน้ำไหลหลาก จากปริมาณฝนสะสม ตกต่อเนื่องในระยะนี้ด้วย

6.jpgขอบคุณภาพ-ข้อมูล: สนง.ลำพูน -ท้องถิ่น จ.ลำพูนและสนง.เชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น