สินค้าโอทอปฝีมือไม้แกะสลักบ้านร้อง นายคำอ้าย เดชดวงตาครูภูมิปัญญาไทย

11 ผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลัก เป็นงานศิลปะหัฒกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในภาคเหนือที่มีการสืบทอดกันจากรุ่นสู่รุ่นและประชาชนบ้านท่าเจริญก็เป็น อีกรุ่นหนึ่งที่ได้รับการสืบทอดมา และยึดแป็นหลักอาชีพหลักเลี้ยงตนเองและครอบครัว ต่อมา นางนงนุช จันทิมา ซึ่งประกอบอาชีพแกะสลักในหมู่บ้าน ได้นำงานไม้แกะสลักเข้าร่วมคัดสรร หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี 2547 และได้รับรางวัล 2ดาวจากการที่ได้เข้าร่วมคัดสรร ทำให้มีโอกาศเข้าร่วมรับการ อบรมให้ความรู้ในโครงสมาร์ทโอทอปของหน่วยงงานภาครัฐที่จัดขึ้น และได้นำความรู้ที่ได้รับมาเผยแพร่ในชุมชน รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2547

นางนงนุช จันทิมา ให้ข้อมูลว่ากลุ่มพัฒนาอาชีพแกะสลัก เกิดขึ้นจากแนวความคิดในการจัดตั้งงกลุ่มเพื่อร่วมกันผลิต พัฒนา และริเร่มสร้างสรรผลิตภัณฑ์จำหน่ายสู่ตลาด ขอความช่วยเหลือ และสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่ออนุรักษ์ และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เดิมสมาชิกกลุ่มมีเพียง 19 คน เพิ่มอีก 7 คน เป็น 26 คน มารวมกลุ่มกันผลิตสินค้าไม้แกะสลัก มีการส่งสินค้าอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอจากลูกค้าเก่าและใหม่ รายได้ดีขึ้น มีผลิตภัณฑ์ หลากหลายขึ้น สินค้าที่ผลิตด้รับมาตรฐาน มผช. สินค้าเป็นที่ยอมรับ และเป็นที่ต้องการของตลาด

45นอกจากนี้ยังมีศูนย์ศิลปะชุมชนเมืองงาว หรือ บ้านจ้างหลวง (ช้างหลวง) ตั้งอยู่ที่ 33 หมู่ 9 บ้านข่อย ตำบลบ้านร้อง ก่อตั้งโดย ครูคำอ้าย เดชดวงตาสำหรับนายคำอ้าย เดชดวงตา ได้รับการยกย่องจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็น ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 1 ภาคเหนือ ด้านศิลปกรรม (การแกะสลักไม้) ประจำปี 2544ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 1“ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย” นายคำอ้าย เดชดวงตาครูภูมิปัญญาไทย ด้านศิลปกรรม (การแกะสลักไม้)ครูคำอ้าย เดชดวงตา เป็นศิลปินด้านการแกะสลักไม้ เป็นผู้ริเริ่มการสอนแกะสลักไม้ด้วยวิธีการสมัยใหม่ ใช้ชุดสื่อการสอนสำเร็จรูป มีแนวคิดในการใช้ทรัพยากรไม้อย่างคุ้มค่าและถูกกฎหมาย เป็นผู้มีแนวคิดนำสมัยประสานประโยชน์ และใช้บ้านของตนเองเป็นสถานที่ถ่ายทอดการแกะสลักไม้ ได้ตั้ง “ศูนย์ส่งเสริมชุมชนหัตถกรรม” (บ้านช้าง) ขึ้น รวมทั้งมีแนวคิดในการจัดตั้งกลุ่มกองทุนการแกะสลักไม้ เพื่อให้ช่างแกะสลักไม้มีความมั่นใจและมั่นคงในอาชีพ สามารถสร้างสรรค์งานศิลปะที่มิใช่มุ่งเพียงการค้าเท่านั้นองค์ความรู้ ครู คำอ้ายมีความรู้ในเรื่อง การแกะสลักไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแกะสลักช้างที่มีหัวเหมือนจริง เป็นต้นแบบของการแกะสลักที่มีสวยงามและมีคุณค่าไปทั่วภาคเหนือ ทำให้มีผู้สมัครเป็นลูกศิษย์เพื่อจะเรียนรู้เรื่องการแกะสลักจำนวนมากกระบวนการถ่ายทอด

88ริเริ่มการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมชุมชนหัตถกรรม เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้สนใจที่จะเป็นช่างสลัก2. จัดทำสื่อการสอนสำเร็จรูป สาขาวิชาการแกะสลัก ซึ่งสะดวกและประหยัดเวลาในการเรียน3. มีการสอนตัวต่อตัว/สอนจากการปฏิบัติจริง4. การจัดทำเอกสารคู่มือการแกะสลักที่มีภาพประกอบชัดเจนพร้อมคำอธิบาย ทำให้สะดวกและเรียนรู้ได้ง่าย5. มีแนวคิดเพื่อจัดตั้งกองทุนการแกะสลักไม้ เพื่อรองรับชิ้นงานจากผู้เรียนแกะสลักไม้ เพื่อเป็นกองทุนในการนำมาใช้จ่ายหมุนเวียนในศูนย์การเรียนสถานที่ติดต่อ นายคำอ้าย เดชดวงตา ด้านศิลปกรรม (การแกะสลักไม้)ศูนย์ส่งเสริมชุมชนหัตถกรรม 33 หมู่ 9 ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง52110 โทรศัพท์ (054) 365-229

ร่วมแสดงความคิดเห็น