ฤดูฝน ปลูกส้มโอ

B6 ฤดูที่เหมาะสำหรับปลูกส้มโอมากที่สุด คือช่วงต้นฤดูฝน โดยเกษตรกรต้องทำการขุดหลุมให้มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร จากนั้นให้ผสมดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตเข้าด้วยกันแล้วเทลงในหลุมประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม นำถุงต้นกล้าส้มโอลงในหลุม ให้ปากถุงสูงกว่าระดับปากหลุมปลูกเล็กน้อย จากนั้นให้ใช้มีดกรีดถุงออกอย่างระมัดระวัง อย่าให้ดินแตกออกจากต้นกล้า จากนั้นให้กลบดินบริเวณโคนต้นกล้าส้มโอให้แน่น นำไม้มาปักและนำเชือกมาผูกเพื่อยึกหลักและต้นส้มโอให้อยู่ด้วยกัน จากนั้นให้น้ำเศษหญ้าหรือฟางคลุมหน้าดิน เพื่อป้องมดหรือแมลง รดน้ำให้โชก
การเตรียมพื้นที่ปลูกส้มโอ สำหรับพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรต้องทำการยกร่องให้สูงจากระดับน้ำท่วม ถึงประมาณ 50 เซนติเมตร ทำการยกร่องปลูกระหว่างแปลงปลูกเป็นร่องน้ำ แปลงปลูกควรมีขนาดกว้างประมาณ 8 เมตร ขนาดร่องน้ำกว้างประมาณ 1.5 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร สำหรับพื้นที่ดอน เกษตรกรควรทำการไถเตรียมดินปรับพื้นที่ให้เรียบและควรตากดินเพื่อกำจัดวัชพืชและเชื้อโรค

การดูแลรักษาส้มโอ การให้น้ำส้มโอ ในช่วงแรกที่เกษตรกรทำการปลูกส้มโอใหม่ ๆ เกษตรกรควรให้น้ำส้มโออย่างสม่ำเสมอ พอต้นส้มโอเริ่มโตเต็มที่แล้ว เกษตรกรจึงให้น้ำน้อยลง โดยสังเกตุดูจากความชื้นของดิน

การให้ปุ๋ยส้มโอ ในช่วงที่ส้มโอมีอายุ 1-3 ปี เกษตรกรควรให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราส่วน 300-500 กรัม ต่อการใส่ปุ๋ยแต่ละครั้งและต่อต้นส้มโอ 1 ต้น โดยระยะเวลา 1 ปีให้ใส่ปุ๋ยได้ 2 ครั้ง หลังจากที่ส้มโอมีอายุได้ 4 ปี จะเริ่มออกผลให้เกษตรกรให้ปุ๋ยสูตร 13 – 13 – 21 หรือ 15 – 15 15 โดยให้ใส่ครึ่งหนึ่งของอายุต้นส้มโอ ตัวอย่าง ส้มโอมีอายุ 4 ปี ให้เกษตรกรใส่ปุ๋ย 2 กิโลกรัม โดยให้ทำการแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 กิโลกรัม หลังจากที่เกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวผลส้มโอแล้ว 6 เดือน จึงทำการใส่ปุ๋ยอีกครั้ง

การกำจัดวัชพืชส้มโอ เกษตรกรควรทำการพรวนดินบริเวณโคนต้นส้มโออย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ดินโปร่ง ข้อควรระวังคือ อย่าให้โดนโคนต้นหรือบริเวณรากของส้มโอเป็นอันขาด หากเกษตรกรต้องการฉีดสารเคมี ควรระวังอย่าให้สารเคมีโดนใบส้มเป็นอันขาด

การตัดแต่งกิ่งส้มโอ ให้เกษตรกรทำการตัดแต่งกิ่งส้มโอที่เป็นโรค แห้ง กิ่งที่ขึ้นแข่งกับลำต้น กิ่งที่ขึ้นไขว้กัน ทิ้งเสีย หลังจากที่เกษตรกรทำการตัดแต่งกิ่งแล้ว ให้ใช้สารกันราหรือปูนแดงละลายผสมกับน้ำ ทาตรงรอยแผลที่ตัด เพื่อป้องกันแผลเน่าเนื่องจากเชื้อราB7

ร่วมแสดงความคิดเห็น