หนอนกระทู้กล้า

b4

หนอนกระทู้กล้า เป็นศัตรูที่สำคัญชนิดหนึ่งของต้นกล้าข้าวในแปลงตกกล้า และต้นอ่อนของข้าวในแปลงนาหว่าน โดยทั่ว ๆ ไป จะเกิดในระยะประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน หนอนชนิดนี้เข้าทำลายกัดกินกล้าข้าวทำให้เกิดความเสียหาย ในระยะแรกจะกัดกินผิวใบ เมื่อโตขึ้นจึงเริ่มกัดกินใบข้าวทั้งใบเหลือไว้แต่ก้านใบ และจะกัดกินลำต้นกล้าระดับพื้นดิน ปกติหนอนจะกัดกินข้าวในเวลากลางคืน

หนอนชนิดนี้เกิดจากผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ที่มีสีเทาปนน้ำตาล หนอนกระทู้กล้าเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 40 มม. ด้านบนของตัวหนอนมีสีน้ำตาลแก่ และลายตามความยาวของลำตัว 3 เส้น ด้านล่างของหนอนมีสีน้ำตาลอ่อน ความกว้างของปีกเมื่อกางออกประมาณ 35 – 40 มม. ตัวแก่วางไข่เป็นกลุ่ม ๆ ละ 15 – 20 ฟอง โดยไข่จะถูกวางที่ยอดอ่อนของข้าว ไข่ฟัก 3 – 5 วัน อายุหนอนประมาณ 3 สัปดาห์ และระยะดักแด้ประมาณ 10 วัน อยู่ตามร่องกินแตกระแหง หรือโคนกอหญ้า จะออกเป็นผีเสื้อ แล้ววางไข่ขยายพันธุ์ต่อไป
+++วิธีป้องกันกำจัด+++
1. ควรถางหญ้าบริเวณคันนาของแปลงกล้าให้เตียนอยู่เสมอ เพราะหนอนกระทู้กล้าชอบอาศัยกินหญ้าบริเวณคันนา
ก่อนที่จะลุกลามเข้าไปในแปลงกล้า
2. หมั่นตรวจแปลงกล้า ถ้าพบกลุ่มไข่ของผีเสื้อให้เก็บทำลายทิ้ง
3. เมื่อเกิดหนอนระบาดในแปลงกล้า ถ้าสามารถระบายน้ำได้ให้ระบายน้ำจนระดับน้ำท่วมยอดข้าว แล้วเก็บหนอนมาทำลายทิ้ง
4. ใช้เหยื่อพิษ ประกอบด้วยสารหนูเขียว หรือสารหนูตะกั่วผสมน้ำตาลและรำ แล้วนำไปหว่านในแปลงข้าวที่ไม่มีน้ำขังหรือบนคันนา
5. ควรใช้ยาเคมีกำจัด ชนิดใดชนิดหนึ่งดังนี้
– ฉีดยาน้ำ มาลาไธออน 53% อี.ซี. โดยใช้ยา 40 ซี.ซี. (4 ช้อนแกง) ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดหลังปักดำ 15, 30, 45, และ60 วัน (ใช้น้ำยา 40 ลิตร ต่อเนื้อที่ 1 ไร่)
-ฉีดยาน้ำ ซูมิไธออน 50% อี.ซี. ใช้ยานี้ 40 ซี.ซี. (4 ช้อนแกง) ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดหลังปักดำ 15, 30, 45, 60 วัน (ใช้น้ำยา 40 ลิตรต่อเนื้อที่ 1 ไร่)
-ฉีดยาน้ำ อะโซดริน 56% W.S.C. อัตรา 40 ซี.ซีง (4 ช้อนแกง) ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดบริเวณที่พบหนอนกำลังทำลาย

ร่วมแสดงความคิดเห็น