ยกระดับสินค้าลำพูนแบรนด์

b-4พาณิชย์จังหวัดลำพูน จัดอบรมเพิ่มศักยภาพผู้ผลิตผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เด่น ยกระดับสินค้า Lamphun Brand/GI สู่สากล หวังเพิ่มมูลค่าการค้าผลิตภัณฑ์ของจังหวัดเพิ่มขึ้น เกิดการลงทุน ขยายกิจการ การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจชุมชนขยายตัว

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำพูน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการตลาดแก่ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เด่น Lamphun Brand/GI ระหว่างวันที่ 8-10 กันยายน 2559 ณ โรงแรมลำพูนวิล จังหวัดลำพูน โดยมี นายณรงค์ อ่อนสะอาด ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานในพิธีเปิด

นางเฟื่องฟ้า ตุลาธรรมกุล พาณิชย์จังหวัดลำพูน กล่าวว่า “การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการตลาดให้แก่ผู้ผลิต/ ผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์เด่น Lamphun Brand / GI ของจังหวัด เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและการตลาดผลิตภัณฑ์ของจังหวัด ที่จังหวัดลำพูน ได้มอบหมายให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำพูนเป็นหน่วยงานดำเนินงาน เป็นการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการจังหวัดลำพูน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ และการตลาดผลิตภัณฑ์ของจังหวัดลำพูน กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาขีดความสามารถด้านการตลาดให้แก่ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เด่น Lamphun Brand/ GI ของจังหวัด

การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในด้านการตลาดให้แก่ผู้ผลิต และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เด่น Lamphun Brand/ GI ของจังหวัดลำพูน ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์ของจังหวัดให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ต่างๆ ส่งผลให้มูลค่าการค้าผลิตภัณฑ์ของจังหวัดเพิ่มขึ้น เกิดการลงทุน ขยายกิจการ การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจชุมชนขยายตัว ทั้งนี้ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับการอบรม คือ ผู้ผลิตและผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์เด่น Lamphun Brand / GI ในจังหวัดลำพูน จำนวน 40 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มผู้ผลิต/ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัด 2. กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์เด่นลำพูน (Lamphun Brand) 3. กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของจังหวัด คือผ้าไหมยกดอก และลำไยอบแห้งสีทอง

การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันนี้ วันที่ 8 – 10 กันยายน 2559 ณ โรงแรมลำพูนวิว จังหวัดลำพูน แห่งนี้ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรและผู้ทรงความรู้และทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยคณาจารย์จากสถาบันการศึกษา จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และมหาวิทยาลัยพายัพเชียงใหม่ รวมถึงวิทยากรผู้มีประสบการณ์ตรงจากภาคธุรกิจ ที่จะมาให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรม ทั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรม ที่มีระยะเวลาการเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จะได้รับใบประกาศนียบัตรจากทางจังหวัดด้วย นางเฟื่องฟ้า กล่าวในที่สุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น