วิสาหกิจชุมชนผลิตอาหารสัตว์ 4 ตำบล โครงการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งตามนโนบายรัฐบาล สร้างงาน สร้างอาชีพ กระจายรายได้สู่ท้องถิ่นแบบยั่งยืน

0004

วิสาหกิจชุมชนผลิตอาหารสัตว์ 4 ตำบล จัดตั้งตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 ในช่วงปี พ.ศ.2546-2547 ทางรัฐบาลได้มีโครงการจัดตั้งสวนสัตว์กลางคืนเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีขึ้น มีนโยบายหลักเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทันสมัยระดับโลก

แต่ก่อนจะเริ่มโครงการก็ได้มีกลุ่มองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศคัดค้านต่อต้านกันอย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันชมรมกำนันและผู้ใหญ่บ้านทั้ง 4 ตำบล ก็ได้สอบถามราษฏรในพื้นที่ต่างก็มีมติเห็นชอบในโครงการดังกล่าว รวมทั้งผู้นำด้านการปกครองต้องออกมาร้องขอบรรดาแกนนำจนมีคำพูดว่า “ขอประชาชนในพื้นที่ได้ตัดสินใจกับอนาคตในพื้นที่ดังกล่าวได้ไหม” จนโครงการดังกล่าวเดินหน้าได้

นี้คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้รับผิดชอบโครงการได้มีมติเห็นชอบให้ชุมชนรายรอบเข้าโครงการในด้านการส่งเสริมรายได้แก่ชุมชนรายรอบที่อาจจะได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงเกิดแผนชุมชน 7 แผนชุมชนขึ้น
แผนชุมชน 7 แผนมี 1.แผนงานชุมชนที่พักเชิงอนุรักษ์ 2.กลุ่มมัคคุเทศน์ท่องเที่ยวชุมชน 3.กลุ่มรถสี่ล้อแดงรับนักท่องเที่ยว 4.กลุ่มกิ๋นข้าวลำนัก-ฮักศิลปินล้านนา 5.กลุ่มสินค้าโอท็อปในชุมชนใกล้เคียง 6.กลุ่มนวดสปา-แผนโบราณ และ 7.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตอาหารสัตว์ 4 ตำบล

OLYMPUS DIGITAL CAMERA
OLYMPUS DIGITAL CAMERA

0002กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตอาหารสัตว์ 4 ตำบล สามารถดำเนินงานไปได้ด้วยดีมาอย่างต่อเนื่องในการผลิตพืช ผลิตสัตว์เพื่อเป็นอหารให้สัตว์ในไนท์ซาฟารีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบันรวม 11 ปี ซึ่ง 4 ตำบลประกอบด้วย ต.แม่เหียะ ต.สุเทพ อ.เมือง และ ต.หนองควาย และ ต.บ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2547 พร้อมกันกับทางรัฐบาลที่จัดสร้างสวนสัตว์กลางคืนเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีในพื้นที่ 4 ตำบลใน จ.เชียงใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 118/3 หมู่ที่ 5 ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (ที่เลี้ยงสัตว์บ้านสันพระนอนประชาชนใช้ร่วมกัน)

มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนผลิตอาหารสัตว์ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพเสริม และมีรายได้เพิ่มขึ้น และเพื่อสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนรวมกับโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

กลุ่มวิสาหกิจผลิตอาหารสัตว์ 4 ตำบล ได้สร้างงานสร้างอาชีพให้ประชาชนในพื้นที่ 4 ตำบล สมาชิก ต.แม่เหียะ อ.เมือง มีจำนวน 245 ราย สมาชิก ต.สุเทพ อ.เมือง มีจำนวน 25 ราย สมาชิก ต.หนองควาย และ ต.บ้านปง อ.หางดง จำนวน 171 ราย ลูกสมาชิกสมทบ จำนวน 21 ราย ใน จ.เชียงใหม่ยังสร้างอาชีพและรายได้ให้เครือข่ายสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอื่นๆในจังหวัดต่างๆในภาคเหนือ รวมกว่า 600 ครอบครัว ยังไม่รวมสมาชิกเครื่อข่ายจังหวัดอื่นๆอีกจำนวนมาก มีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยและปลูกฝักทองและมันเทศ และข้าวโพด อ.สารภี อ.สะเมิง อ.แม่วาง อ.แม่แจ่ม อ.แม่แตง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ อ.เวียงป่าเป่า จ.เชียงราย อ.แม่สะเรียง และ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ผู้ปลูกหญ้าเพื่อเป็นอาหารสัตว์ อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน เกษตรกรทั้งหมดมีการส่งเสริมทางวิชาการให้ชุมชนต่างๆได้ผลิตอาหารสำหรับสัตว์ที่ดีมีมาตราฐานด้วย ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นแบบยั่งยืน และที่สำคัญชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีอีกด้วย

0007 กลุ่มวิสาหกิจผลิตอาหารสัตว์ 4 ตำบล ทำตามกฏหมายและบริหารงานในรูปแบบวิสาหกิจชุมชนที่ง่ายต่อการบริหารงานกับองค์การภาครัฐ มีประธานบริหาร รองประธาน เลขา คณะกรรมการ มีการตรวจสอบบัญชี มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบงบดุลประจำปี ปันผลประกอบการทุกๆปี มีการระดมทุนโดยสมาชิกจาก 4 ตำบล ลูกสมาชิกหุ่นละ 100 บาท โดยไม่ได้ใช้งบประมาณแผนดิน หรืองบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานใดแม้แต่บาทเดียว

ทางกลุ่มได้ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด ตามเป้าหมายของหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลวิสาหกิจชุมชน คือประชาชนได้รวมกลุ่ม มีโอกาสได้เข้าถึงงบประมาณ ค้าขายกับรัฐอันจะนำความเข็มแข็งสู่ประชาชนตามวัตถุประสงค์ของร่างพระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 แสดงให้เห็นว่าหางชุมชนมุ่งมั่นจะดำเนินกิจการ รัฐตอบสนอง และให้โอกาสการกระจายรายได้สู่ชุมชนโดยตรงไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ปะชาชนกลุ่มเกษตรกรจะมีความมั่นคง ยืนได้ด้วยลำแข้งของตนเอง

ช่วง พ.ศ.2557 เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีจากที่ได้รับอาหารสัตว์จากวิสาหกิจชุมชนมาด้วยตลอด ได้เปลี่ยนแปลงการรับอาหารสัตว์โดยได้เพิ่มการประกวดราคาให้ประมูลอาหารสัตว์บางชนิด เช่นรายการเนื้อสัตว์ที่เป็นอาหารสัตว์ และอาหารแปรรูปเป็นต้น เหตุผลอ้างว่าวิสาหกิจชุมชนผลิตอาหารสัตว์ไม่มีอาหารแปรรูปและไม่ได้ผลิตเนื้อสัตว์เป็นอาหารสัตว์ได้ และอีกเหตุผลเพื่อจะลดต้นทุนอาหารสัตว์บางรายการ ทำให้ผู้ประมูลบางรายที่ประมูลได้ต้องจัดส่งอาหารสัตว์ต่ำกว่าต้นทุน และต่ำกว่าราคาท้องตลาดจึงแบกภาระและส่งผลถึงการขาดทุน ผู้ประมูลได้บางรายส่งสินค้าไม่มีคุณภาพและไม่ได้มาตราฐาน เช่นกล้วย ได้กล้วยหวีเล็กลง และอาหารแปรรูปจะไม่มีโปรตีน เนื้อสัตว์ที่เป็นอาหารสัตว์ก็อาจจะได้เพียงโคลงไก่เท่านั้นเป็นต้น สัตว์ที่กินอาหารจะได้รับสารอาหารไม่ครบและได้กินอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ

0003ส่วนของวิสาหกิจชุมชนผลิตอาหารสัตว์ 4 ตำบล ยังดำเนินการแบบเสนอราคาเป็นส่วนใหญ่ จะมีบางรายการที่ประมูลได้ ก็นำส่งตามความเหมาะสมของราคาตลาดที่เกษตรกรผู้ปลูกที่เป็นสมาชิกวิสาหกิจสามารถส่งได้โดยไม่ขาดทุน ก็ยังดำเนินการส่งให้ในราคาประมูลต่อไป โดยเฉพาะกล้วยในปีนี้ฝนแล้ง กล้วยได้ผลผลิตน้อยและราคาแพง ถึงจะแบกภาระส่งกล้วยในราคาประมูลก็ยังมีกล้วยสดจากสวนที่คุณภาพดีส่งให้ไนท์ซาฟารีได้โดยไม่ขาดทุน เนื่องจากมีพืชชนิดอื่นช่วยประคองไว้ได้ และวิสาหกิจได้ประกันราคาความเสี่ยงไว้ให้เกษตรกรผู้ผลิตอาหารสัตว์ไว้เรียบร้อยแล้ว

ที่น่าสนใจคือผลการตรวจสอบบัญชีรายรับรายจ่ายเปรียบเทียมในรอบ 1 ปีของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เปรียบเทียบรายจ่ายการใช้รูปแบบเสนอราคาของวิสาหกิจชุมชน จะถูกกว่ารายจ่ายในรูปแบบของการประกวดราคาในแบบประมูลของผู้ประมูลเอกชนรายอื่น ที่มีตัวเลขค่าใช้จ่ายห่างกันสูงเกินกว่า 1 ล้านบาทต่อปี

ดังนั้นถือว่าการเสนอราคาของเกษตรกรจะทำให้ไนท์ซาฟารีลดต้นทุนรายจ่ายได้ และได้อาหารสัตว์ทั้งพืชและสัตว์ที่สดและได้มาตราฐานกว่า ที่สำคัญเกษตรกรมีรายได้แบบกระจายลงทั่วทุกพื้นที่ เพราะเกษตรกรอยู่ใน 4 จังหวัดภาคเหนือดังกล่าว ย่อมดีกว่าเอกชนรายเดียวได้ค่าตอบแทนในรูปแบบประมูลดังกล่าว

แต่ในปี พ.ศ.2560 นี้มีกระแสข่าวออกมาอีกว่า จะมีการประกวดราคาให้ประมูลอาหารสัตว์ทุกประเภทการประกวดราคาในรูปแบบประมูล ถือว่าเป็นตัวทำลายระบบชุมชนเข้มแข็ง การประมูลในราคาต่ำกว่าความเป็นจริงของราคาสินค้าในท้องตลาด แน่นอนว่าจะไม่ได้ของดีและสินค้าจะไม่มีคุณภาพ

0001

กลุ่มส่งอาหารสัตว์ทุกชนิดให้ไนท์ซาฟารีแบบเสนอราคา ผู้ผลิตคือเกษตรกรหรือชาวบ้านปลูกเองกำกับดูแลโดยเกษตรอำเภอ บางพื้นที่ดูแลโดยโครงการหลวง ส่งอาหารสัตว์ตรงให้เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ได้อาหารสัตว์ที่สดวันต่อวัน ผลิตอยู่ในพื้นที่ใกล้ไนท์ซาฟารีอยู่ภาคเหนือทั้งหมด ต่อมาผู้บริหารไนท์ซาฟารียกเลิกรายการอาหารสัตว์บางชนิดอ้างว่า วิสาหกิจชุมชนไม่สามารถผลิตได้ มีเนื้อสัตว์และอาหารสำเร็จรูป ให้มีการประมูลราคา จึงเป็นห่วงว่าจะผิดวัตถุประสงค์หลักที่ทางเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีกับชุมชนทำแผนแม่บทไว้ตั้งแต่ต้นก่อนการจัดตั้งเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ไม่ตรงตามร่าง พรบ.วิสาหกิจชุมชน ปีพ.ศ. 2548 คือประชาชนได้รวมกลุ่มมีโอกาสได้เข้าถึงงบประมาณ ค้าขายกับรัฐอันจะนำความเข็มแข็งสู่ประชาชนตามวัตถุประสงค์ของร่างพระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชนดังกล่าวตามนโยบายของรัฐบาล

ทางกลุ่มยังดำเนินการแบบเสนอราคา และร้องขอให้ผู้บริหารกลับไปทบทวนดูวัตถุประสงค์หลักของการเริ่มก่อตั้งเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีดังกล่าว หากมีการเปลี่ยนแปลงถือว่าเป็นการทำลายระบบความเข็มแข็งของชุมชนผิดจากนโยบายของรัฐบาลได้ขอให้ชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

จักรพงษ์ คำบุญเรือง
[email protected]

ร่วมแสดงความคิดเห็น