เร่งบูรณะทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ ยันไม่ใช่เรื่องอาถรรพณ์

%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%96%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%93%e0%b9%8c

เร่งบูรณะคนงานวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร จ.เชียงใหม่ ใช้เลื่อยตัดต้นไม้ที่ล้มทับลำตัวพญานาค ทางขึ้นวัดออก เพื่อให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นลงได้ตามปกติแล้ว โดยวัดจะเร่งบูรณะให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ ยันไม่ใช่เรื่องอาถรรพณ์

วันที่ 14 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางคนงานของวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ได้เร่งทำการนำต้นไม้ที่ล้มทับปูนปั้นรูปตัวพญานาคบริเวณทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพออกไป พร้อมกันนี้ทาง พระธรรมเสนาบดี รอง เจ้าคณะภาค 7 และเจ้าอาวาสวัดดอยสุเทพฯ ได้ร่วมกับทางเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ที่ 4 ได้ตรวจสอบความเสียหาย ลำตัวพญานาค หลังจากถูกต้นสน ขนาด 2 คนโอบ ล้มทับ จากพายุฝนที่ตกลงมาอย่างหนักพบว่า เสียหายเพียงตัวเดียว ความกว้างประมาณ 2 เมตร ลึก 1 เมตร ส่วนอีกตัวไม่พบร่องรอย ความเสียหาย แต่จะตรวจว่า มีรอยร้าวหรือไม่ สำหรับการดำเนินการก่อสร้างบูรณะทาง วัดต้องการให้บูรณะเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ แต่พญานาคของวัดได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมศิลปากร จะต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียด พร้อมเสนองบประมาณในการก่อสร้าง ซึ่งทางวัดเห็นว่า จะต้องใช้เวลานานนับเดือน ทางวัดจะขอใช้งบประมาณในการบูรณะเอง โดยทางบรรดาพ่อค้าแม่ค้า ที่ขายของบริเวณใกล้บันไดนาค ต่างก็แสดงเจตจำนง ขอร่วมบริจาคเงินในการบูรณะก่อสร้าง ในเรื่องนี้จะต้องมีการปรึกษาหารือกันในหลายฝ่ายส่วนเส้นทางบันไดนาค ได้เปิดให้ขึ้นลงตามปกติแล้ว

นายวัลลภ นามวงศ์พรหม กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ได้เผยว่าในเรื่องที่เกิดขึ้นมานี้ ชาวบ้านต่างวิตกกังวลว่า จะเกิดอาเพศอาถรรพณ์ ขึ้นกับบ้านเมือง เพราะถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ในเรื่องนี้ตนได้มีการแจ้งให้ทางพระธรรมเสนาบดี รองเจ้าคณะภาค 7 และเจ้าอาวาสวัดดอยสุเทพฯ รับทราบท่านได้บอกว่า ไม่ใช่เรื่องอาเพศอาถรรพณ์ แต่อย่างใด เพราะเกิดในช่วงที่พายุฝนเข้ามา และฝนตกหนักมาก แต่หากเกิดในเหตุการณ์ปกติ จู่ๆ ล้มลงมาก็จะเชื่อว่า เป็นอาเพศอาถรรพณ์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงก่อนบูรณะจะมีพิธีบวงสรวงขอขมาลาโทษ ตามประเพณี สำหรับในช่วงรอการซ่อมต้องจัดเวรยามดูแล เพราะไม่ต้องการให้ใครมานำเอาเศษหินเศษปูนไปแม้แต่ชิ้นเดียว และสำหรับเกล็ดพญานาคจะต้องหาช่างคนเดียว ที่เคยบูรณะมาดำเนินการ ส่วนจะบูรณะเวลาไหน จะต้องมีการประชุมกันอีกครั้ง แต่ก็คงจะเร่งบูรณะ เพราะอยากให้เป็นภาพที่งามตากับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของบ้านเมือง ถ้าสังเกตจะเห็นว่า นักท่องเที่ยวที่ขึ้นมานมัสการพระธาตุ ส่วนใหญ่มักจะชี้ให้ดู และสนใจถ่ายภาพบริเวณที่เกิดเหตุไว้อย่างต่อเนื่อง

ร่วมแสดงความคิดเห็น