ยิ่งลักษณ์เซ่นของดำ-เพื่อเป็นสิริมงคล คดีจำนำข้าว-สมชาย-แจมด้วย

35843อดีต 2 นายกรัฐมนตรีควงแขนทำบุญที่วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เพื่อความเป็นสริมงคล ขณะที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ถือโอกาสถวายของดำ 8 อย่าง เพื่อสะเดาะเคราะห์ตามความเชื่อท่ามกลางแฟนคลับมารอต้อนรับร่วมกับอดีต ส.ส. นับ พันคน

เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 15 ก.ย. 59 ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมด้วย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีเดินทางมาทำบุญที่วัด โดยทันทีที่ลงจากรถ นางสาวยิ่งลักษณ์ได้เข้าพบกับพระเทพรัตนนายก เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัย เพื่อกราบยนมัสการขอพรก่อนที่จะทำพิธีเซ่นของดำ แปดอย่างเพื่อบูชาราหูทั้งนี้เพื่อให้พ้นจากเคราะห์กรรมตามความเชื่อของชาวล้านนา จากนั้น ได้เข้าไปถวายและกราบพระในวิหารสะดือเมืองโดยมีแฟนคลับมารอถ่ายรูปเป็นจำนวนมากเกือบ 1,000 คน

นอกจากนี้ ยังมีอดีตส.ส.ลำพูน และอดีต ส.ส.เชียงใหม่ ติดตามมาร่วมพิธีด้วยโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ได้กราบพระในวิหารหลวงของวัดพระธาตุหริภุญชัยและร่วมทำบุญอีกด้วยขณะเดียวกันได้มีแฟนคลับได้มาขอถ่ายรูปเพื่อเก็บเป็นที่ระลึก ด้วยจนเจ้าหน้าที่ต้องกันผู้คนให้ออกไปเนื่องจากบรรยากาศร้อนอบอ้าว

ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่าหลังจากที่ได้ร่วมทำบุญในวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เสร็จแล้ว อดีตนายก ทั้ง 2คน ได้เข้ากราบสักการะ อนุสาวรีย์เจ้าแม่จามเทวี ที่ข้างศาลากลางจังหวัดลำพูนด้วยและในเย็นวันเดียวกัน จะได้ร่วมชมพิธีขบวนแห่สลากย้อมซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญอีกประเพณีหนึ่งของทางภาคเหนือ

สำหรับประเพณีสลากย้อม ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร มีพิธีเปิดงานในเวลา 17.00 น. และงานมีถึงวันที่ 16 ก.ย.เพียง 2 วัน ประวัติงานประเพณีสลากย้อมของจังหวัดลำพูน คืองานประเพณีที่สืบทอดกันมา นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ได้มีการนำประเพณี“สลากย้อม”ที่เริ่มสูญหายมาผนวกรวม เป็นประเพณี“สลากภัตและสลากย้อม”ที่ดำเนินการจัดควบคู่กันไปประเพณีนี้นอกจากเป็นการถวายทานตามคติความเชื่อของงานสลากภัตแล้วยังเป็นการรวมต้นสลากย้อมจากหลากหลายชุมชนมาถวายและจัดงานที่วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารศูนย์รวมจิตใจของชาวลำพูนก่อนเป็นลำดับแรกของทุกๆปี(นับตั้งแต่ปี 47 เป็นต้นมา)หลังจากนั้นจึงจะมีการจัดงานของสลากวัดอื่นๆเรื่อยไปตามการตกลงกันในแต่ละปีว่าวัดใดจะเป็นเจ้าภาพจัดงานจนถึงวันแรม14 ค่ำ เดือน 11 (เดือนเกี๋ยงเหนือ แรม 14 ค่ำ หรือเดือนเกี๋ยงดับ) สลากย้อม เป็นประเพณีที่มีพื้นเพมาจาก“ชาวยอง”(กลุ่มชาติพันธุ์ลื้อจากสิบสองปันนาก่อนจะอพยพมาอยู่ที่เมืองยองในพม่าและย้ายมาตั้งหลักแหล่งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดลำพูนอีกทีหนึ่งเมื่อ 200กว่าปีที่แล้ว ปัจจุบันมีชาวยองอาศัยอยู่ในลำพูนกว่า 80%) เดิมสลากย้อมเป็นการถวายทานเพื่อเป็นพุทธบูชาของหญิงสาวบางพื้นที่จำเพาะเจาะจงว่าต้องมีอายุ 20 ปีเท่านั้น ขณะที่บางพื้นที่ไม่จำเป็นขอให้เป็นช่วงคาบเกี่ยวกับอายุ 20 ปี (บวกลบ 2-3 ปี)แต่สิ่งที่เชื่อเหมือนกันก็คือ ต้องเป็นหญิงสาวที่ไม่แต่งงาน โดยเชื่อว่าการถวายสลากย้อมของหญิงสาวจะได้รับอานิสงส์ผลบุญอย่างสูงยิ่งเทียบเท่ากับการบวชของผู้ชาย

ร่วมแสดงความคิดเห็น