ปล่อยกู้รีไฟแนนซ์ ออมสินเอาใจครู

b5-w9h6-5คลังจับมือศึกษาฯจัดโครงการลดภาระหนี้ครู ออมสินปล่อยกู้รีไฟแนนซ์หนี้เก่า คิดดอกเบี้ย 4% ระยะเวลา 20 ปี โดยให้นำเงินช.พ.ค.มาวางค้ำประกันเงินกู้ คาดเบื้องต้นช่วยได้ 289,000 ราย บรรเทาภาระหนี้ 7.22 หมื่นล้านบาท“อภิศักดิ์”เผยเตรียมชงแพ็กเกจแก้หนี้นอกระบบเข้าครม.ภายใน 2 สัปดาห์นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ชี้แจงว่า โครงการนี้จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แก่ข้าราชการครู ตามนโยบายของรัฐบาล โดยจะต้องนำเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ครอบครัว (เงินช.พ.ค.) ที่ทายาทจะได้รับในอนาคตมาวางค้ำประกันการขอสินเชื่อกับธนาคารออมสิน คิดอัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี ต่ำกว่าเงินกู้เดิมที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 5.85-6.7% ต่อปี ระยะเวลาการกู้ 20 ปี แต่รวมระยะเวลาการกู้แล้วจะต้องมีอายุไม่เกิน 75 ปี

ทั้งนี้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้ที่มีภาระหนี้สินเชื่อโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค.กับธนาคารออมสิน มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และยังมีสถานะเป็นสมาชิกช.พ.ค. โดยกำหนดวงเงินสินเชื่อเท่ากับจำนวนเงินฌาปนากิจสงเคราะห์ครอบครัวที่ทายาทมีสิทธิ์จะได้รับหลังหักค่าจัดการศพแล้วประมาณ 7 แสนบาท โดยธนาคารออมสินจะให้กู้ 3 แสนบาท เพื่อมาชำระหนี้เดิมของธนาคาร ส่วนผู้ที่มีอายุไม่ถึงเกณฑ์ 50 ปี ก็ให้เข้าโครงการปรับโครงสร้างหนี้ปกติของทางธนาคาร

ขณะที่สินเชื่อจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.นำไปชำระเงินต้นบางส่วนหรือปิดบัญชีเงินกู้ ช.พ.ค.เดิมหากมีหนี้ไม่เกิน 3 แสนบาท ได้ทันทีและ 2.กันไว้เพื่อชำระดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญาใหม่ และชำระเงินสงเคราะห์รายศพรายเดือนตลอดระยะเวลากู้ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถช่วยเหลือครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ราว 289,000 ราย ลดภาระหนี้ทันทีเฉลี่ย 250,000 บาทต่อราย คิดเป็นวงเงิน 72,250 ล้านบาท ทำให้ลดภาระการผ่อนชำระหนี้เดิมลงได้ 2,000-4,000 บาทต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม จำนวนหนี้ที่เป็นข้าราชการครูรวมทุกโครงการของธนาคารออมสินมีทั้งหมด 5 แสนราย เป็นโครงการ ช.พ.ค. ประมาณ 4 แสนราย คิดเป็นวงเงิน 4 แสนล้านบาท เฉลี่ยครูมีหนี้ 1 ล้านบาทต่อราย โดยในจำนวนนี้มี 250,000 ราย เป็นไปตามหลักเกณฑ์เข้าร่วมโครงการ จาก 289,000 ราย ส่วนอีกประมาณ 4 หมื่นราย ที่ต้องดำเนินการในอีก 6 เดือน เนื่องจากเป็นเอ็นพีแอลที่ต้องมีการพิจารณาอีกครั้ง และธนาคารได้ขอแยกบัญชีนโยบาย(พีเอสเอ) โดยรัฐบาลจะจ่ายชดเชยให้ 50% ของเอ็นพีแอล

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่าโครงการนี้ทำให้ลูกหนี้มีส่วนในการแก้ไขปัญหาของตนเองด้วยความสมัครใจ การกู้เงินตามโครงการนี้ จะช่วยลดภาระหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบันโดยการดำเนินโครงการนี้ ธนาคารออมสินได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสำนักงานคณะกรรมการ สกสค. ในการตรวจสอบยืนยันความเป็นสมาชิก ช.พ.ค. ของผู้ที่จะขอสินเชื่อใหม่ตามโครงการนี้ โดยที่ธนาคารยินดีที่ได้มีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาในครั้งนี้

“โครงการนี้จะทำให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานทำให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพครูในภาพรวม ที่สำคัญจะเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างยั่งยืน”

นายอภิศักดิ์กล่าวถึงความคืบหน้าในการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบว่า ในอีก 2 สัปดาห์นี้ คณะรัฐมนตรี(ครม.) จะมีการพิจารณาเห็นชอบแพ็กเกจ การแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จและยั่งยืน ผ่านการบูรณาการจากหลายหน่วยงาน โดยกระทรวงการคลังจะมีการจัดตั้งพิโค ไฟแนนซ์ เพื่อให้กลุ่มเจ้าหนี้นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบ และสามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างถูกกฎหมาย คิดอัตราดอกเบี้ย 36% ต่อปี โดยหากไม่เข้าร่วมพิโค ไฟแนนซ์จะต้องปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี

สำหรับในช่วงที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้สั่งการให้ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ออกแบบเพื่อร่วมตั้งหน่วยงานแก้ไขหนี้นอกระบบ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีความเดือดร้อนทางการเงิน โดยไม่ต้องอาศัยช่องทางหนี้นอกระบบ ซึ่งจะให้ลูกหนี้ที่ต้องการกู้นั้นสามารถกู้ผ่านสาขาของธนาคารที่กำหนดไว้ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำไม่เกิน 1% ต่อเดือน

“ที่ผ่านมาเราพยายามเร่งผลักดัน ซึ่งก่อนหน้านี้เราคิดว่าอยากจะเสนอให้นายกรัฐมนตรีใช้มาตรา 44 เพื่อเอาผิดกับเจ้าหนี้ที่ปล่อยกู้เกินกำหนด 15% ต่อปี ให้มีโทษทางอาญา หรือจำคุก แต่ปรากฏว่าที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมเดินหน้าได้เร็วจึงได้ออ

ร่วมแสดงความคิดเห็น