ลายปูนปั้นวัดป่าสัก ศิลปกรรมล้านนาในเมืองเชียงแสน

dscf2784 วัดป่าสัก ถือได้ว่าเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของอาณาจักรล้านนา วัดนี้มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในตำนานว่า พระเจ้าแสนภู กษัตริย์องค์ที่ 3 พระโอรสในพระเจ้าชัยสงคราม แห่งราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เป็นผู้สร้างขึ้นภายหลังจากที่พระองค์ได้มาสร้างเมืองเชียงแสนเมื่อราวปี พ.ศ.1883

เมื่อเชียงแสนก่อนที่พระเจ้าแสนภูจะทรงได้มาสร้างเมืองนั้น มีเรื่องราวบันทึกอยู่ในพงศาวดารโยนกว่า อันเมืองเชียงแสนนี้แต่กาลก่อนเป็นที่ตั้งของแคว้นโยนกนาคบุรีหรือโยนกนาคพันธุ์ ครั้นอยู่ต่อมาไม่นานแคว้นโยนกนาคบุรีก็ถึงกาลล่มสลาย พระเจ้าลาวจักราชก็ได้มาสถาปนาเมืองขึ้นใหม่ในบริเวณทางทิศตะวันออกริมฝั่งแม่น้ำโขงนามว่า “หิรัญนครเงินยาง”

dscf2786นอกจากนั้นพงศาวดารยังได้กล่าวถึงเมืองหรัญนครเงินยางอีกว่า ในแผ่นดินของสมเด็จอมรินทราธิราช ทรงมีเทวโองการให้ลาวจกเทวบุตรได้พาบริวารหนึ่งพันมาจุติยังเทวโลก ถือเอาจองเขาเกตุบรรพต (ดอยตุง) ลงมาสถิตเหนือแท่นเงินใต้ร่มไม้ทันหมาก(พุทรา)ใกล้ฝั่งแม่น้ำละว้านัทรี(แม่น้ำสาย)สร้างพระนคร ณ ที่นั้น ให้ชื่อว่า “หิรัญนครเงินยาง”

จากที่กล่าวมาแล้วนั้น อาณาจักรล้านนาในยุครุ่งเรือง หิรัญนครเงินยางนับเป็นศูนย์กลางแห่งอาณาจักร ซึ่งสังเกตุได้จากซากของโบราณสถานในบริเวณอำเภอเชียงแสนทุกวันนี้แสดงให้เห็นถึงร่องรอยศิลปวัฒนธรรมแต่ครั้งอดีตอันรุ่งโรจน์ได้ชัดเจน โดยเฉพาะที่วัดป่าสัก ซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมือง ที่เชื่อว่าพระเจ้าแสนภูเป็นผู้สร้างขึ้นนั้น พระเจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านนา 5 ยอดยังคงอยู่ในสภาพที่นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ต่างเห็นค่อนข้างตรงกันว่า มีสภาพที่สมบูรณ์และสวยงามจนไม่มีสถาปัตยกรรมที่ไหนในแผ่นดินล้านนาจะงดงามเท่า เจดีย์ทรงปราสาทวัดป่าสักแห่งนี้ นับเป็นวัฒนธรรมอีกรูปแบบหนึ่งของเจดีย์ในล้านนา ก็คือ เป็นเจดีย์ประธานที่สร้างอยู่ด้านหลังของพระวิหารdscf2791ลักษณะของเจดีย์ดังที่กล่าวที่วัดป่าสักนี้ที่ชั้นฐานล่างจะมีซุ้มโดยรอบ แต่ละซุ้มนั้นจะเป็นท่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนสลับกับซุ้มเทวดา พระพุทธรูปที่ประดิษฐานในซุ้มนั้นมีอยู่ 2 แบบ แบแรกเป็นแบบปางประทับยืน แบบที่สองเป็นแบบปางลีลา ซึ่งหลายซุ้มยังคงปรากฏร่องรอยความงดงามของฝีมือช่างล้านนาที่รับเอาศิลปกรรมแบบสุโขทัยมา
ถัดจากชั้นฐานเหนือขึ้นไปเป็นองค์เรือนธาตุมีซุ้มทั้ง 4 ด้าน ในแต่ละซุ้มมีเสาประดับลวดลายปูนปั้นสวยงาม เหนือซุ้มทำเป็นวงโค้งมีลายปูนปั้นรูปมกรคายนาค ตีนเสาที่รองรับวงโค้งทำเป็นลายปูนปั้นเกียรติมุข หรือเรียกอีกอย่างว่า หน้ากาล

dscf2801ที่หัวเสาปั้นเป็นลวดลายพรรณพฤกษาประดับประดา ลวดลายดังกล่าวนักโบราณคดีเชื่อกันว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะแบบจีน เหนือเรือนธาตุขึ้นไปอีกเล็กน้อยจะเป็นชั้นฐานแว่นฟ้าและที่ฐานแว่นฟ้านี้จะเห็นองค์เจดีย์ขนาดเล็ก ๆ ตั้งอยู่ทั้ง 4 มุมอันเป็นวัฒนธรรมการสร้างเจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านนา

เหนือฐานแว่นฟ้าขึ้นไปจะเป็นองค์ระฆังสลับกับบัวกลุ่มจนกระทั่งถึงปลียอด ที่แต่ละช่วงก็จะเห็นลวดลายปูนปั้นที่ยังเหลืออยู่

เจดีย์วัดป่าสักที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายแห่งนี้นั้น มีความงดงามทางสถาปัตยกรรมมากที่สุดในล้านนาก็ว่าได้ ซึ่งก็นับได้ว่าลูกหลานของชาวล้านนาในวันนี้มีความโชคดีไม่น้อยที่ยังมีสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าให้เราได้พบเห็นกันอยู่ ดังนั้นจึงจะต้องช่วยกันรักษาและหวงแหนมรดกของบรรพบุรุษเหล่านี้เอาไว้.

จักรพงษ์ คำบุญเรือง
[email protected]

ร่วมแสดงความคิดเห็น