เฝ้าติดตามควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิก้าต่อเนื่อง

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เฝ้าติดตามควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิก้าต่อเนื่อง
 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เฝ้าติดตามควบคุมสถานการ์โรคติดเชื้อไวรัสซิก้าต่อเนื่อง       ขอให้ประชาชนทุกคนช่วยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงภายในบ้านตนเองทุก 7 วันตามมาตรการ   3 เก็บ 5 ส. ก็จะปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสซิการวมทั้งไข้เลือดออก
29-1
 นายแพทย์ไพศาล ธัญญาวินิชกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังและการวิเคราะห์ทางระบาดวิทยาของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าโรคไข้เลือดออก ซึ่งขณะนี้มีผู้ป่วยตั้งแต่ วันที่ 3 มกราคม – 18 กันยายน 2559 จำนวน 3,824 ราย เสียชีวิต จำนวน 3 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 15-24 ปี รองลงมาคืออายุ อายุ 25-34 ปี และอายุ 10-14 ปี ตามลําดับ โดยอำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อำเภอแม่แตง อำเภอแม่วาง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอเมือง และอำเภอสันกำแพง
สถานการณ์ไวรัสซิกาล่าสุดในวันที่ 19 กันยายน 2559 จังหวัดเชียงใหม่พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิก้า จำนวนทั้งหมด 13 ราย การจากตรวจหาซิกาในจังหวัดเชียงใหม่มีทั้งสิ้น 920 ราย มีผลเป็นบวก 13 ราย      เป็นบุคคลทั่วไป 10 ราย หญิงตั้งครรภ์ 3 ราย ขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ รับทราบวิธีการป้องกันตนเอง โดยข้อมูลจากการเฝ้าระวังในหญิงตั้งครรภ์ 3 คนที่ติดเชื้อไวรัสซิกาอยู่ในความดูแลของสูตินรีแพทย์ สำหรับผู้ป่วยที่พบรายล่าสุดตรวจพบเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2559 เป็นหญิง อายุ     24 ปี ซึ่งพักอาศัยในพื้นที่ ตำบลท่าศาลา และทำงานในพื้นที่ ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการตามมาตรการของกรมควบคุมโรคแล้ว
สำหรับอาการของผู้ป่วยที่พบติดเชื้อไวรัสซิกา ผู้ป่วยทั้ง 13 ราย ส่วนใหญ่ มีไข้ ต่ำๆ ออกผื่น อาการ     ดีขึ้น ภายใน 3 – 5 วัน รักษาแบบผู้ป่วยนอก ขณะนี้อาการเป็นปกติทุกราย
มาตรการที่ทุกคนทำได้ และได้ผลดีคือการร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนนี้ ซึ่งเป็นฤดูระบาดสูงสุดของโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ตามมาตรการ 3 เก็บ  คือ“เก็บบ้าน เก็บขยะ เก็บน้ำ” เพื่อป้องกัน 3 โรค คือ ไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ให้ทำอย่างสม่ำเสมอทุกสัปดาห์ รวมถึงการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด โดยใช้ยาทากันยุง นอนในมุ้ง หรือห้องที่มีมุ้งลวด ส่วนหญิงตั้งครรภ์แนะนำให้ทายากันยุงที่ทำจากสมุนไพร เช่นตะไคร้หอม ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อนั้น ทารกที่คลอดไม่ได้มีศีรษะเล็กแต่กำเนิดทุกราย จึงไม่ควรกังวลมากเกินไป อย่างไรก็ตามควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการดูแลติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เบอร์โทรศัพท์ 053-211048-50 ต่อ 111

ร่วมแสดงความคิดเห็น