เที่ยวตามใจ ไปบน “ราง” กับ “รถไฟ” สายวัฒนธรรม

%e0%b8%aa%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%87-1_resize

การท่องเที่ยวถือเป็นรายได้หลักของประเทศไทยเรา ซึ่งในปีหนึ่งๆสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำให้กับประเทศ และในปีนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยว ให้สมกับเป็น “ปีท่องเที่ยววิถีไทย 2559” ที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ตั้งไว้ ทางภาครัฐจึงจับมือกันสร้างการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ให้ “เก๋ไก๋” ชวนเที่ยวขึ้น กับการท่องเที่ยวไปตามราง “รถไฟ” ภายใต้กิจกรรม “ท่องเที่ยวทางรถไฟสายวัฒนธรรม ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่” ซึ่งงานนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) ร่วมมือกันจัดขึ้น

%e0%b8%aa%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%87-4_resize

กิจกรรมนี้เกิดขึ้นตามนโยบายรัฐบาลดังนี้ ข้อ 3.2 นโยบายสร้างรายได้ ข้อ 3.2.1 ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงวัฒนธรรม เชิงสุขภาพ และสปาที่มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มสูง ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี ข้อ 3.3.3 ภาคการท่องเที่ยว การบริการและการกีฬา ส่งเสริมกิจกรรมและรูปแบบการท่องเที่ยว เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยว พัฒนาคุณภาพการบริการท่องเที่ยว สนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างชาติในประเทศไทย และส่งเสริมการเสนอตัวให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดกิจกรรมนานาชาติขนาดใหญ่ และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการสร้างสรรค์สินค้าและบริการให้โดดเด่นและมีคุณค่า มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ หัตถสร้างสรรค์ ศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว มีเป้าประสงค์ มีการพัฒนาคุณภาพและความหลากหลายของสินค้าและบริการ อย่างสร้างสรรค์ และรายได้จากการขยายฐานตลาดนักท่องเที่ยว รวมถึงสินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

tim_dsc_4507_resize

โดยกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีภูมิประเทศอันงดงาม ทรัพยากรธรรมชาติที่มั่นคง มีระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ ภูมิอากาศที่น่าอยู่ ประชากรมีวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมที่เก่าแก่ และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง นับเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยว ที่มีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญในระดับประเทศ การบริการ ทั้งทางด้านโรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร ที่มีมาตรฐาน ระบบคมนาคมขนส่งทางบกและทางอากาศที่ได้มาตรฐานการให้บริหารนำเที่ยว ในการรองรับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ขบวนรถไฟท่องเที่ยวสายวัฒนธรรม ลำปาง – ลำพูน – เชียงใหม่ จึงเกิดขึ้น

นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “กิจกรรมส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวทางรถไฟ โดยใช้ขบวนทางรถไฟวิ่งระยะสั้นระหว่างจังหวัดลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่ เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยว เชื่อมโยงการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ช่วยขยายฐานนักท่องเที่ยว พร้อมยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยว ส่งเสริมปีท่องเที่ยววิถีไทย 2559 ภายใต้โครงการ เมืองต้องห้าม…พลาด ของการท่องที่ยวแห่งประเทศไทย ที่คัดสรรจังหวัดลำปางเป็น 1 ใน 12 เมือง ที่มีศักยภาพและความพร้อมทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วิถีชีวิต และศิลปวัฒนธรรม”

s__32825358_resize

สำหรับขบวนรถไฟท่องเที่ยวสายวัฒธรรมนี้ จะมีจำนวน 4 โบกี้ด้วยกัน วิ่งพาท่องเที่ยวในระยะเวลา 5 เดือน เดือนละ 1-2 ครั้ง ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ ระหว่างเส้นทางสถานีรถไฟเชียงใหม่ – ลำพูน – ลำปาง ที่จะเริ่มรอบปฐมฤกษ์ในวันที่ 22 – 23 ตุลาคม 2559 จากนั้นจะมี 5 ขบวนให้ได้ท่องเที่ยวกัน ได้แก่ วันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2559 เทศกาลท่องเที่ยวแม่เมาะ , วันที่ 3-4 ธันวาคม 2559 ขบวนวันพ่อ , วันที่ 24-25 ธันวาคม 2559 ขบวนสุขสันต์คริสต์มาสต์ , วันที่ 14-15 มกราคม 2560 ขบวนวันเด็กแห่งชาติ และขบวนสุดท้าย ขบวนแห่งความรัก ในวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2560

โดยตลอดรายทางจะมีจุดจอดด้วยกัน 6 จุด ด้วยกัน ได้แก่ จุดที่ 1 สถานีรถไฟเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ , จุดที่ 2 สถานีรถไฟศาลาแม่ทา อ.แม่ทา จ.ลำพูน จุดที่ 3 สะพานทาชมภู อ.แม่ทา จ.ลำพูน จุดที่ 4 สถานีรถไฟขุนตาน อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง จุดที่ 5 สถานีรถไฟแม่ตานน้อย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง และจุดที่ 6 สถานีรถไฟนครลำปาง อ.เมือง จ.ลำปาง

สถานีรถไฟเชียงใหม่
สถานีรถไฟเชียงใหม่

ซึ่งแต่ละที่แต่ละแห่ง ล้วนมีเรื่องราวและสถานที่ท่องเที่ยว “ริมราง” น่าสนใจมากมาย ได้แก่ “สถานีรถไฟเชียงใหม่” เป็นสถานนีรถไฟระดับ 1 และเป็นสถานีปลายทางของทางรถไฟสายเหนือ ซึ่งสถานีนี้มีจุดเด่นอยู่ที่ “หอนาฬิกา” คล้ายกับสถานีรถไฟธนบุรีที่ออกแบบโดย ศ.มจ. โวฒยากร วรวรรณ “สถานีรถไฟศาลาแม่ทา” เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ที่ตั้งอยู่ ต.สบเส้า อ.แม่ทา จ.ลำพูน ใช้สัญญาณแบบหางปลา โดยตัวย่อสถานีรถไฟนี้คือ ลท.

สะพานทาชมภู
สะพานทาชมภู

“สะพานทาชมภู” ชาวลำพูนเรียกว่า สะพานขาว เป็นสะพานที่ทอดข้ามแม่น้ำทา ผู้ที่เดินทางโดยรถไฟสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ จะถึงสะพานแห่งนี้ตอนเช้าตรู่ก่อนถึง จ.เชียงใหม่ มีทิวทัศน์สวยงาม เป็นจุดที่บอกว่ารถไฟได้พ้นช่วงที่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมาแล้ว ใกล้ถึงจุดหมายปลายทาง ใช้เวลาอีกราว 1 ชั่วโมงจะถึงเชียงใหม่ โดย สะพานทาชมภู สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2462 เป็นสะพานสีขาว แตกต่างจากสะพานรถไฟอื่นๆ คือเป็นโครงคอนกรีตเสริมเหล็กยาว 87.3 เมตร

อุโมงค์รถไฟขุนตาน
อุโมงค์รถไฟขุนตาน

“อุโมงค์ขุนตาน” เป็นอุโมงค์ชนิดคอนกรีตเสริมเหล็กตลอดแนว และเป็นอุโมงค์รถไฟลอดผ่านที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวถึง 1,352.15 เมตร ขนาดกว้าง 5.20 เมตร และสูง 5.50 เมตร ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาน ระหว่าง อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง กับ อ.แม่ทา จ.ลำพูน เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2450 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2461 โดยการรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม ที่มี พล.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยาการ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการ มีนายช่างชาวเยอรมัน เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างทั้งหมด ใช้เวลาสร้าง 11 ปี ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 1,362,050 บาท

สถานีรถไฟนครลำปาง
สถานีรถไฟนครลำปาง

“สถานีรถไฟขุนตาน” เป็นสถานีระดับ 3 อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 578 เมตร ซึ่งเป็นสถานีรถไฟที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย บริเวณรอบสถานีฯ เป็นอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง มีสถานที่พักของการรถไฟแห่งประเทศไทยไว้บริการนักท่องเที่ยว “สถานีรถไฟแม่ตานน้อย” เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ตั้งอยู่บ้านแม่ตานน้อย ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ถ้าต้องการไปตลาดทุ่งเกวียนสามารถลงได้ที่สถานีนี้ และ “สถานีรถไฟนครลำปาง” ตั้งอยู่ ต.สบตุ๋ย อ.เมือง จ.ลำปาง มีพื้นที่ 161 ไร่ สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2458 และเปิดใช้งานเมื่อครั้งรถไฟหลวงขบวนแรกเดินถึง จ.ลำปาง เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2459

งานนี้สนใจเปลี่ยนบรรยากาศการท่องเที่ยว มานั่ง “รถไฟเที่ยว” ฟังเสียงฉึกฉักๆ สามารถสอบถาม และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แฟนเพจ :นั่งรถไฟแอ่วเมืองเหนือ หรือโทรศัท์ 093-1398931

ร่วมแสดงความคิดเห็น