รายงานพิเศษ…บ้านสันลมจอย พื้นที่เปิดมุมมองสร้างเยาวชน เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมภาคเหนือ

b-7-jpg เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559 เครือข่ายป้องกันปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติดในจังหวัดเชียงใหม่และเครือข่ายเยาวชนสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมภาคเหนือตอนบนภายใต้การสนับสนุนจาก มูลนิธิภูมิพลังชุมชนไทย, สสส, IOGT จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนสันลมจอย ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาบทเรียนการทำงานเพื่อการแก้ไขปัญหาการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติดและสร้างชุมชนเข็มแข็งผ่านการมีส่วนของคนในชุมชนพื้นที่ชุมชนสันลมจอย

หนึ่งในหลักสูตรในการพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีมุมมองแนวคิดและมีศักยภาพในการทำงานเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาซึ่งทางมูลนิธิภูมิพลังชุมชนไทยเชื่อว่า“กลุ่มพลังทางสังคมที่เป็นคนรุ่นใหม่มีศักยภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองหากได้รับการพัฒนาศักยภาพได้รับโอกาสในการเรียนรู้และได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสมรวมตัวกันเป็นเครือข่ายที่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์และนำไปสู่การจัดการปัญหาอย่างมีนัยยะสำคัญ”การลงพื้นที่ชุมชนสันลมจอย ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ในเขตเมืองเชียงใหม่แต่เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายของผู้คนในชุมชนอาศัยอยู่ด้วยในพื้นที่

b-9-jpgอาทิ คนเมือง ชาติพันธุ์อาข่า ชาติพันธุ์ลาหู่ โดยชุมชนมีทั้งประชากรที่อาศัยอยู่เดิมประมาณ 1,000 คน และประชากรแฝงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มากกว่าเป็น 3 เท่าตัว เนื่องจากเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่และใกล้มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสลับซับซ้อนในการจัดการปัญหาในการรวมตัวของเครือข่ายผู้นำในชุมชนสามารถที่จะสานพลังคนในชุมชนในการจัดการปัญหาอย่างเป็นระบบทั้งผู้นำในชุมชนหน่วยงานท้องถิ่นรวมไปถึงเครือข่ายชุมชนจนสามารถนำไปสู่การจัดการชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จึงเป็นบทเรียนที่น่าจะเปิดมุมมองการเรียนรู้ให้กลุ่มเด็กและเยาวชนนักศึกษาในเครือข่ายทั้งในจังหวัดเชียงใหม่และในภาคเหนือตอนบน

หลักสูตรการพัฒนาคนรุ่นใหม่ในครั้งนี้ได้จัดทำขึ้นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการแบ่งกลุ่มเยาวชนออกเป็น 5 ประเด็นในการเรียนรู้ร่วมกันอาทิการวิเคราะห์ผู้นำในสันลมจอย,การควบคุมและการลดผลกระทบการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด,การบริหารจัดการชุมชนอย่างเข้มแข็ง,การท่องเที่ยวโดยชุมชนผ่านมิติทางวัฒนธรรมและความหลากหลายของผู้คนในชุมชนและข้อสังเกตในการอยู่ร่วมกันของประชากรหลักและประชากรแฝงในพื้นที่สันลมจอยซึ่งประเด็นการเรียนรู้ทั้ง 5 ประเด็นผ่านการนำเสนอบริบทข้อมูลจากชุมชนโดยกลุ่มเครือข่ายชุมชน รวมไปถึงการลงพื้นที่ของกลุ่มแกนนำเยาวชนนักศึกษาผ่านการตั้งคำถามมีข้อมูลมีการสังเกตการณ์และการจดบันทึกข้อมูลพร้อมทั้งมีการวิเคราะห์ข้อมูลและนำมาแลกเปลี่ยนกันในช่วงท้ายซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมที่จะสามารถเพิ่มพูนองค์ความรู้และเทคนิคในการวิเคราะห์ชุมชนการลงพื้นที่ชุมชนเพื่อที่จะนำไปสู่การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับกลุ่มสมาชิกในชุมชนและชมรมนักศึกษา

b-8-jpgนอกจากนี้ทุกชมรม/มหาวิทยาลัยจะมีโครงการในการลงพื้นที่ชุมชนของตนเองซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคเหล่านี้ในการเข้าไปเรียนรู้กับชุมชนพึ่งชุมชนจะมีของดีมีบทเรียนมีชุดประสบการณ์อยู่แล้วแต่การลงไปในพื้นที่เพื่อสังเกตและจัดเก็บข้อมูลรวมไปถึงการวิเคราะห์จะนำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือในการทำงานกับชุมชนอันจะนำไปสู่การออกแบบรูปแบบการแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วมระหว่างแกนนำนักศึกษาในโครงการและเครือข่ายชุมชนซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานและการสร้างการเรียนรู้ไปพร้อมกันซึ่งเชื่อมั่นว่ากระบวนการเหล่านี้จะนำไปสู่การเรียนรู้การทำงานกรมไปถึงการออกแบบกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของสมาชิกกลุ่มนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเองที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชุมชนและสังคมในหลายประเด็นหลายมิติต่อไป

b-10-jpg

ร่วมแสดงความคิดเห็น