เกษตรเชียงใหม่ เตือนการระบาดของเพลี้ยกระโดดฯ

หลายพื้นที่ในช่วงนี้กำลังเจอปัญหาเรื่องเพลี้ยกระโดด ศัตรูตัวดีของข้าว ซึ่งเป็นปัญหามายาวนานของชาวนา ที่ปลูกข้าว ในระยะข้าวแตกกอมักพบการระบาดของแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว แมลงบั่ว หนอนม้วนใบข้าว เป็นต้น นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) และจากการสำรวจและติดตามสถานการณ์ การระบาดศัตรูพืช แปลงพยากรณ์ศัตรูพืช ในนาข้าวในจังหวัดเชียงใหม่ สำรวจพบเพลี้ยกระโดดหลังขาว ในพื้นที่ อำเภอสะเมิง แม่วาง ดอยหล่อ แม่แตง ดอยสะเก็ด แม่แตง ฝาง และแม่อาย จึงขอแจ้งเตือนเกษตรกรให้หมั่นสำรวจแปลงปลูก และเตรียมการป้องกันกำจัดตามคำแนะนำเพื่อไม่ให้เพื่อระบาดไปในพื้นที่อื่นๆต่อไป ดังนี้

p-115

เพลี้ยกระโดดหลังขาว Sogatella furcifera (Horvath) เป็น แมลงจำพวกปากดูด ตัวเต็มวัยคล้ายกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่ปีกมีจุดดำที่กลางและปลายปีก และมีแถบสีขาวตรงส่วนอกระหว่างฐานปีกทั้งสอง ตัวเต็มวัย มีสีน้ำตาลถึงสีดำ ลำตัวสีเหลือง มีแถบสีขาวเห็นชัดอยู่ตรงส่วนอกระหว่างฐานปีกทั้งสอง มีทั้งชนิดปีกสั้นและปีกยาว เพศผู้พบเฉพาะชนิดปีกยาวลำตัวยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร เพศเมียยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร วางไข่ในใบและกาบใบข้าวโดยจะวางไข่อยู่เหนือกว่าระดับที่เพลี้ยกระโดดสี น้ำตาลวางไข่ เพศเมียสามารถวางไข่ได้ 300-500 ฟองในชั่วชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ไข่มีลักษณะและขนาดเหมือนกับไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่มีเปลือกหุ้มไข่ยาวกว่า ตัวอ่อนมีจุดดำและขาวที่ส่วนท้องด้านบน ต่างจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ตัวอ่อนมีสีน้ำตาลอ่อน ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอาศัยอยู่บริเวณกอข้าวเช่นเดียวกับเพลี้ยกระโดดสี น้ำตาล แต่ตัวเต็มวัยชอบอาศัยอยู่บริเวณกลางต้นข้าวเหนือระดับที่เพลี้ยกระโดดสี น้ำตาลอยู่

p-117

ลักษณะการทำลาย
เพลี้ยกระโดดหลังขาวตัวเต็มวัยเข้ามาในแปลงข้าวช่วง 30 วันแรกหลังจากเป็นต้นกล้า โดยจะอาศัยอยู่บริเวณโคนต้นข้าว ใน 1 ฤดูปลูกสามารถเจริญเติบโตขยายพันธุ์ได้น้อยชั่วอายุกว่าเพลี้ยกระโดดสี น้ำตาล และชอบดูดกินน้ำเลี้ยงบนข้าวต้นอ่อน และขยายพันธุ์เป็นพวกปีกยาว จากนั้นจะอพยพออกจากแปลงข้าวก่อนที่ข้าวจะออกดอก กับดักแสงไฟสามารถดักจับตัวเต็มวัยได้เป็นจำนวนมาก เพลี้ยกระโดดหลังขาวพบเป็นแมลงประจำท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบนมากกว่าภาคกลาง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดหลังขาวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากโคนกอข้าว ต้นข้าวที่ถูกทำลายใบมีสีเหลืองส้ม ซึ่งต่างจากต้นข้าวที่ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายจะแสดงอาการใบสีน้ำตาล แห้ง เมื่อมีปริมาณแมลงมาก ต้นข้าวอาจจะถูกทำลายจนเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด การระบาดค่อนข้างกระจายสม่ำเสมอเป็นพื้นที่กว้าง ซึ่งแตกต่างจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่การระบาดทำลายข้าวจะเป็นหย่อมๆ พบระบาดตั้งแต่ระยะกล้าถึงระยะออกรวง ยังไม่มีรายงานว่าเป็นแมลงพาหะนำโรคไวรัสมาสู่ต้นข้าว ตัวเต็มวัยเพลี้ยกระโดดหลังขาว ข้าวแสดงอาการใบสีเหลืองเป็นหย่อมๆ

p-114

การป้องกันกำจัด

  1. ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทาน เช่น สุพรรณบุรี 60 ชัยนาท 1 สุพรรณบุรี 1 กข 31 และชุมแพ 60 โดยปลูกสลับกันอย่างน้อย 2 พันธุ์เพื่อป้องกันไม่ให้เพลี้ยกระโดดหลังขาวปรับตัวทําลายข้าวพันธุ์ต?านทานได?เร็ว หรือถ้าปลูกข้าวพันธุ์เดียว ไม่ควรปลูกติดต้อกันเกิน 4 ฤดูปลูก
  2. เมื่อตรวจพบเพลี้ยกระโดดหลังขาวมากกว?า 1 ตัวต?อต้นให?ระบายน้ำออกจากแปลงนา 3 – 4 วัน ในช่วงที่พบเพลี้ยกระโดดหลังขาว แล?วไขน้ำเข้าแปลงนาให?ท?วมกาบใบข้าวจะช่วยลดปริมาณเพลี้ยกระโดดหลังขาวลงได?
  3. เมื่อเริ่มพบเพลี้ยกระโดดหลังขาวในแปลงนา ป้องกันโดยใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย ฉีดพ่นในช่วงเวลาอากาศเย็น เพื่อให้มีโอกาสสัมผัสกับตัวแมลงมากที่สุด
  4. หากมีการระบาดรุนแรงถึงขึ้นจำเป็นต?องใช?สารเคมีให?เลือกสารเคมี ดังนี้
  • สารไดโนทีฟูเรน (ชื่อการค?า : สตาร?เกิล) ฉีดพ?นในอัตราตามคําแนะนําในฉลาก
  • สารอิมิดาโคลพริด (ชื่อการค?า : คอนฟ?ดอร? 10% เอสแเอล) ฉีดพ่น อัตรา 80 ซีซี/น้ำ20 ลิตร หรือ (คอนฟ?ดอร? 5%) ในอัตรา 30 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร

นี่ก็เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่ทางเกษตรจังหวัดได้ให้ข้อมูลมา หากเกษตรกรท่านใดมีข้อสงสัยต้องการ ปรึกษาและขอคำแนะนำติดต่อได้ที่ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.)และสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่านหรือ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ โทร.053 112 478-9 ต่อ 15 หรือ โทรสาร. 053 112481

ร่วมแสดงความคิดเห็น