เทิดทูนจอมราชา ธ ทรงสร้างสุขสู่แผ่นดิน

2-jpg

สังคมไทยมีรากฐานมาจากสังคมเกษตรกรรม การปลูกข้าวเป็นผลผลิตของคนส่วนใหญ่ในประเทศ

วิถีชนคนปลูกข้าว จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการรังสรรค์วัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ ทั้งวัฒนธรรมการเมืองการปกครอง วัฒนธรรมการกินอยู่ วัฒนธรรมทางความคิด ความเชื่อ วัฒนธรรมทางภาษา และตลอดจนการแสดงออกต่าง ๆ ซึ่งรวมเรียกได้ว่า “เป็นวัฒนธรรมข้าว”

“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแนวทางเกี่ยวกับการจัดการแก้ไขปัญหา “น้ำ” ซึ่งเปรียบเสมือน หัวใจของการเกษตร หากมีน้ำน้อย

ทรงมีทฤษฎีใหม่เป็นการสร้างแหล่งน้ำบนผิวดิน โดยแบ่งที่ดินเป็น 3 ส่วน คือส่วนที่1ร้อยละ 30 ของผืนดิน หรือเท่ากับที่ดินประมาณ 3 ไร่ ขุดเป็นสระน้ำ ให้มีลึกประมาณ 4 เมตร จะกักเก็บน้ำได้ถึง 19,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถใช้ทำการเกษตรได้ตลอดปีและยังใช้เป็นแหล่งเลี้ยงปลา นอกจากนี้บริเวณขอบสระก็ใช้ปลูกพืชสวนครัวได้ด้วย3-jpg

ส่วนที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 60 ของผืนดิน ซึ่งก็คือที่ดินจำนวน 10 ไร่ ใช้สำหรับการเพาะปลูก แยกได้เป็น 2 ลักษณะคือ ใช้ทำนา 5 ไร่ และอีก 5 ไร่ ใช้ในการปลูกพืชไร่หรือพืชสวน

ส่วนที่สาม คิดเป็นร้อยละ 10 ของผืนดิน โดยมีเนื้อที่เฉลี่ย 2 ไร่ สำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นทางเดิน และลานบ้าน “หากใช้ทฤษฎีใหม่สมบูรณ์ สระน้ำทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ และเต็มความสามารถ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพิ่มเติม”

“…ถ้า น้ำ มีไม่พอทั้งในด้านการบริโภคหรือใช้ เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมแล้ว ประเทศชาติไม่มีทางที่จะเจริญได้” พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตาลัย 4 ธันวาคม 2536

“…เศรษฐกิจของเราขึ้นอยู่กับการเกษตรมา แต่ไหนแต่ไรแล้ว รายได้ของประเทศที่ได้มาใช้สร้างความเจริญ ต่างๆ เป็นรายได้จาก การเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจกล่าวได้ว่า ความเจริญของประเทศต้อง อาศัยความเจริญของเกษตรเป็นสำคัญ…” พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานคณะผู้อำนวยการสำนักงาน กปร. ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน17 มีนาคม 2529

1-jpg

แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น มิได้เน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่ง ทรงยึดหลักความต้องการที่แท้จริงของประชาชน สภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และประเพณีของชุมชนในสังคมนั้นเป็นหลัก ยึดโยงมิติทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ภูมิสังคม

“น้ำ” คือชีวิตของราษฎร ในหลวงของเราจึงทรงงานอย่างหนัก เพื่อให้พสกนิกรของพระองค์อยู่เย็นเป็นสุข มีงานทำตามอัตถภาพพระปรีชาสามารถในการจัดการทรัพยากรน้ำให้เพียงพอต่อการกินอยู่ของพสกนิกร ผ่านแนวพระราชดำริมากมาย จนได้รับขนานพระนามว่า “ครูทรัพยากรน้ำของแผ่นดิน” ต้องมีน้ำ น้ำบริโภคและน้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำ คนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้า คนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้า ไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้…”พระราชดำรัส 17 มีนาคม 2539

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ในหลวงตอบว่า “ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ

ด้วยสาระที่”ทีมข่าวเกษตร เชียงใหม่นิวส์” เรียบเรียงมานำเสนอ คงตอกย้ำให้ “พสกนิกรชาวไทย” ตระหนัก รับรู้ เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ ตั้งใจ คิดดี ทำดี ตามรอย…พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช..”พระราชา..ผู้ยิ่งใหญ่”

ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม..ย่อมรุ่งโรจน์ โชติช่วงตลอดกาล

ฉัตรบวร…เรียบเรียง

ร่วมแสดงความคิดเห็น