สกู๊ปหน้า 1… ชาวบ้านศาลารวมใจ โรงทอผ้าพระราชทาน

2%e0%b8%aa%e0%b8%81%e0%b8%b8%e0%b9%8a%e0%b8%9bผ่านมากว่า 40 ปีแล้ว สำหรับศาลารวมใจ และสร้างโรงทอผ้าพระราชทาน บ้านดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ หลังเสด็จพระราชดำเนินเปิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2519 ด้วยเงินพระราชทาน เพื่อให้เป็นห้องรักษาชาวบ้าน และห้องสมุดสำหรับส่วนรวม ณ บ้านดอนเปา ตำบลดอนเปา อำเภอสันป่าตอง ในสมัยนั้น ก่อนเปลี่ยนมาเป็น อำเภอแม่วาง ในปัจจุบัน

ต่อมาอีก 2 ปี 2521 ได้ดำเนินการจัดสร้างโรงงานฝึกทอผ้าพระราชทาน เป็นโรงฝึกของชาวบ้านแต่ก่อนมีกว่านับร้อยคน เป็นการทอผ้าไหมและผ้าฝาย แบบยกดอก ลำพูน โดยผ้าทุกชิ้นได้ถูกจัดจำหน่ายผ่านร้านจิตรลดา โดยขณะนี้ผ้าไหม สีฟ้าแบบลิ้มทองและเงิน ยอดสั่งมากแต่การผลิตของผู้ทอได้เดือนละ 1-2 ผืนเท่านั้น

นายบุญเรือน เต๋จา อายุ 62 ปี ผู้ดูแลศาลารวมใจและโรงทอผ้าพระราชทาน เปิดเผยว่า ตอนเปิดศาลารวมใจนั้นตนเองยังเป็นหนุ่มอายุ 25 ปี ได้เป็นสมาชิกของลูกเสือชาวบ้านและได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระองค์ท่านกับสมเด็จพระราชินี และฉายพระรูปร่วมด้วย ได้ดำเนินการทำศาลารวมใจพระราชทานในพื้นที่รกร้างหน้าวัดดอนเปา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้อาชีพ เป็นแหล่งรักษาคนในพื้นที่เบื้องต้น

ได้จัดส่งให้เจ้าหน้าที่ไปเรียนการพยาบาลรักษากับหมอหลวง โดยมีเตียงคนไข้ ตู้ยาและอ่างน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมตำราหนังสือความรู้ต่างๆ ที่ตอนนี้จะเป็นแหล่งอนุสรณ์แห่งความทรงจำและความจงรักภักดีของพสกนิกรที่มีต่อพระองค์ท่าน แต่เรายังสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระองค์ท่านเป็นล้นพ้น

ด้านนางสาววันดี เป็งอ้าย อายุ 51 ปี ช่างทอผ้า กล่าวว่า ที่โรงทอผ้านี้เป็นโรงทอผ้ายกลายทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้าย มีคนงานซึ่งเป็นชาวบ้านมาฝึกและทำอาชีพจำนวน 20 คน และที่โรงปักอีก 4 คน โดยหลังทราบข่าวแล้วตนรู้สึกเศร้าสลดใจเสียใจที่สุดในโลก ทำอะไรก็ไม่ถูก ขอยืนยันจะทำหน้าที่นี้ต่อไปเรื่อยๆ เพราะเป็นมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ได้มาทำที่โรงงานทอผ้าแห่งนี้

1%e0%b8%aa%e0%b8%81%e0%b8%b8%e0%b9%8a%e0%b8%9b

ร่วมแสดงความคิดเห็น