กรมควบคุมโรค เตือนเมนูเสี่ยง! แนะกินของสุก

dsc_04991

กรมควบคุมโรค เตือนระวัง 10 เมนู เสี่ยงเจ็บป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร พร้อมแนะรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ป้องกันอาหารเป็นพิษ

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2559 นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในช่วงนี้พสกนิกรหลายจังหวัดทั่วประเทศไทยได้แสดงพลังสามัคคีร่วมกิจกรรมในพิธีถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ สถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะบริเวณท้องสนามหลวง และบริเวณรอบพระบรมมหาราชวัง ซึ่งมีประชาชนและร้านค้าจำนวนมากจัดบริการอาหารและเครื่องดื่มฟรีให้กับพี่น้องประชาชนที่มาเข้าร่วมถวายสักการะและลงนามแสดงความอาลัย อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้มีสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวทำให้อาหารบูดเสียได้ง่าย ประชาชนจึงมีความเสี่ยงเจ็บป่วยจากโรคระบบทางเดินอาหารสูง

จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม–17 ตุลาคม 2559 ทั่วประเทศพบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษ 102,673 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต และพบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 939,529 ราย เสียชีวิต 4 ราย และตลอดทั้งปี 2558 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษ 129,638 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต และพบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 1,097,751 ราย เสียชีวิต 12 ราย ดังนั้นในช่วงนี้ขอให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการรับประทานอาหารและน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ปรุงเองที่บ้าน อาหารสั่งซื้อ หรือออกไปรับประทานอาหารตามจุดต่างๆ นอกบ้าน%e0%b8%aa%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%9c%e0%b8%b1%e0%b8%81

นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อไปว่า อาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินอาหารที่ประชาชนควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ 10 เมนู ได้แก่

  1. ลาบ/ก้อยดิบ
  2. ยำกุ้งเต้น
  3. ยำหอยแครง/ยำทะเล
  4. ข้าวผัดโรยเนื้อปู
  5. อาหารหรือขนมที่มีส่วนประกอบของกะทิสด
  6. ขนมจีน
  7. ข้าวมันไก่
  8. ส้มตำ
  9. สลัดผัก
  10. น้ำแข็งที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน

ซึ่งเมนูอาหารเหล่านี้ควรรับประทานเฉพาะที่ปรุงสุกใหม่ ซึ่งเมนูอาหารเหล่านี้ควรรับประทานเฉพาะที่ปรุงสุกใหม่ สำหรับอาหารทะเลขอให้ปรุงสุก หลีกเลี่ยงการปรุงโดยวิธีลวกหรือพล่าสุกๆ ดิบๆ ส่วนอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หมู ไก่ และไข่ ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทานทุกครั้ง ไม่รับประทานแบบสุกๆ ดิบๆ นอกจากนี้ อาหารถุง อาหารกล่อง ควรแยกกับข้าวออกจากข้าว และควรรับประทานภายใน 2-4 ชั่วโมง หลังจากปรุงเสร็จและหาก มีกลิ่นผิดปกติไม่ควรรับประทานเด็ดขาด เพื่อป้องกันโรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วง

สำหรับการป้องกันทั้งสองโรคดังกล่าว ขอแนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้ ในกลุ่มผู้ประกอบการอาหาร ขอให้ปรุงอาหารให้สุกด้วยความร้อนทั่วถึงและสะอาด ล้างผัก/ผลไม้ด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง หลีกเลี่ยงการใช้มีด เขียง หั่นอาหารดิบและอาหารสุกแล้วร่วมกัน เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรค ดูแลครัวให้สะอาด ส่วนผู้บริโภคขอให้ยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ได้แก่ 1. กินร้อน คือ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ในกรณีข้าวกล่อง อาหารถุง ต้องนำมาอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทาน 2. ใช้ช้อนกลาง คือเมื่อรับประทานอาหารในหมู่มากร่วมกัน ควรใช้ช้อนกลางในการตักอาหาร และ3. ล้างมือ คือ ต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร ก่อนปรุงอาหาร หลังขับถ่าย และหลังสัมผัสสิ่งสกปรก

“โรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วง มีอาการคล้ายกัน คือ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลวบ่อยครั้ง อาจมีไข้ ส่วนการดูแลเบื้องต้น ให้ดื่มน้ำละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) เพื่อป้องกันการขาดน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้น ยังถ่ายบ่อย รับประทานอาหารไม่ได้ กระหายน้ำมากกว่าปกติ หรืออุจจาระเป็นมูกปนเลือด ขอให้ไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน ถ้ามีข้อสงสัยประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422 ” นายแพทย์เจษฎา กล่าวทิ้งท้าย

ice

ร่วมแสดงความคิดเห็น