บทบาท หน้าที่ ของ สปสช.

345090
ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดี อย่างครอบคลุมและครบวงจร ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กำหนดให้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำหน้าที่จัดบริการสาธารณสุขให้แก่ บุคคลที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลจากกฎหมายประกันสังคม หรือสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สิทธิหลักประกันสุขภาพ” หรือที่คนรู้จักกันในนาม “สิทธิ 30 บาท หรือ สิทธิบัตรทอง” เพื่อการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึง ตั้งแต่การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟู สมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตโดย พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 26 กำหนดให้ สำนักงานฯ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  1. รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน คณะอนุกรรมการของคณะกรรมการดังกล่าว และคณะกรรมการสอบสวน
  2. เก็บ รวบรวม วิเคราะห์ ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานการบริการ
    สาธารณสุข
  3. จัดให้มีทะเบียนผู้รับบริการหน่วยบริการ และเครือข่ายหน่วยบริการ
  4. บริหารกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
  5. จ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขตามที่คณะกรรมการกำหนดให้แก่หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา 46
  6. ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
  7. ดำเนินการเพื่อให้ ประชาชนมีหน่วยบริการประจำ และการขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนทราบข้อมูลของหน่วยบริการ
  8. กำกับดูแลหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการในการให้ บริการสาธารณสุขให้ เป็นไปตามมาตรฐานที่คณะกรรมการกำหนด และอำนวยความสะดวกในการเสนอเรื่องร้องเรียน
  9. ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่างๆ
  10. ก่อตั้งสิทธิและทำนิติกรรมสัญญาหรือข้อตกลงใดๆ
    เกี่ยวกับทรัพย์สิน
  11. เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการในการดำเนินกิจการของสำนักงาน
  12. มอบให้องค์กรอื่นหรือบุคคลอื่นทำกิจการที่อยู่ ภายในอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน
  13. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดำเนินงานของคณะกรรมการและคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน และเผยแพร่ต่อสาธารณชน
  14. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของสำนักงานหรือตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมอบหมาย

%e0%b8%aa%e0%b8%9b%e0%b8%aa%e0%b8%8a-%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%9f%e0%b8%b4%e0%b8%81

สปสช. ดำเนินงานคุ้มครองสิทธิประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ โดยทำงานแบบเครือข่าย ร่วมกันระหว่าง หน่วยรับเรื่องร้องเรียนทุกระดับ และ สปสช. ส่วนกลาง,สปสช.เขต 13 แห่ง ซึ่งมีพื้นที่ดูแลครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศนอกจาก สปสช.เขต ทั้ง 13 เขตแล้ว ยังมีศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ กว่ า 818 แห่งทั่วประเทศ (ข้ อมูล ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2559, สำนักบริการประชาชนและคุ้มครองสิทธิ สปสช.) และหน่วยรับเรื่องร้องเรียนฯ ตามมาตรา 50 (5) ซึ่งเป็นการดำเนินงานคุ้มครองสิทธิร่วมกับภาคประชาชนกว่า 109 แห่ง (ข้อมูล ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2559, สำนักส่งเสริมการมี ส่วนร่วม สปสช.) และยังมีศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ที่ร่วมดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิดในการเข้าถึงสิทธิและรับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

ร่วมแสดงความคิดเห็น