เยี่ยมสวนเกษตรระบบอินทรีย์ป้าอำภา

dsc_0027

ชาวเกษตรถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตอาหารชั้นหนึ่งให้กับผู้คนทั่วไปได้รับประทาน เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลัง ที่หลายคนอาจจะลืมเขาไปก็ว่าได้ การได้กินพืชผัก อาหารดีๆ ส่วนใหญ่ก็มาจากชาวเกษตรกรทั้งนั้น ยิ่งตอนนี้ที่ชาวนากำลังเดือดร้อนเรื่องการขายข้าว เมื่อทุกคนมารวมตัวกัน ไม่ขายให้พ่อค้าคนกลาง เปิดโรงสีทำขายเองสร้างรายได้ดีกว่าโดยมีอบต.ยืรมืช่วยเหลือ แต่ชาวสวนเกษตรที่ทำผักผลไม้ยังขาดการส่งเสริมและช่วยเหลืออีกเยอะ เช่นเดียวกับนางอำภา วงค์จัก ชาวเกษตรระบบอินทรีย์ บ้านป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ที่อดทนสู้มา 10 กว่าปี กับการทำเกษตรระบบอินทรีย์ ที่ร่วมกับสถาบันเกษตรกรรมยั่งยืน (isac) ที่เอาผืนนาหลังบ้านมาเป็นเกษตรอินทรีย์ 15 ไร่ จากวันนั้นที่ล้มลุก คลุกคลาน เกือบจะท้อถอย แต่ด้วยความอดทนที่มีแรงใจจากที่ได้คำมาจกา เกษตรคนไทยไม่มีวันตาย ทุกอย่างเราทำได้..?

วันนี้ป้าอำภาก็ทำได้จริง กับระบบเกษตรอินทรีย์ ที่ไร้ปุ๋ยเคมี จนเป็นที่รู้จักของผู้คนในอำเภอและจังหวัด พร้อมกับหลายๆองค์กร ที่ได้เข้ามาดูงานและการทำระบบเกษตรอินทรีย์ของป้าอำภา ที่คุยให้เราฟังว่า ตอนไปอบรมนั้นก็มีถึง 50 คนในรุ่นเดียวกัน พออบรมนานๆเข้าต่างคนต่างหายไป เหลือไม่ถึงสิบคนที่อดทน ก่อนอื่นป้าบอกว่าต้องเข้าใจในการทำ การปลูกพืชผักในระบบอินทรีย์ มันไม่ได้เร็วไว สวยงามอย่างปุ๋ย-ยาเคมี

dsc_0034เริ่มแรกป้ากับสามี ก็เอาพื้นที่นา-สวนหลังบ้านมาทำการเกษตรปลูกถั่วผักยาวลงไปเยอะ ด้วยความเป็นเกษตรมือใหม่ ถูกเพี้ยดำลงมากินต้น-ใบถั่ว จนต้องถอนทิ้ง และก็เข้าหาผู้รู้ เขาก็แนะนำให้ ได้ลองผิด ลองถูกกันมาไม่กี่ครั้งก็ได้ผล สองสามีภรรยาได้ทำการเกษตรโดยได้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำเองจากเศาพืชผัก และขี้วัว-ควาย ที่รับซื้อเขามา แล้วเอามาหมักเอง อย่างที่เห็นเป็นกองใหญ่ๆนี้ ก็สามารถใช้ได้ทั้งปี พร้อมกับการทำน้ำปุ๋ยหมัก จากใบสะเดา ใบสาบเสือ ใบลมแลง ข่า ตะไคร้ มาผสมกันหมักไว้ ตามที่ไปอบรมมา เมื่อได้ที่ก็เอามาพ่นตามพืชผักของเรา รับรองไม่มีแมลงมารับกวน แถมพืชผัก ทุกอย่างสามารถเด็ดกินได้เลย ไม่ต้องรอสามวัน สี่วันอย่างที่คนอื่นใช้จากสารเคมี
เมื่อสามีของป้าอำภาเสียชีวิต ก็เหมือนขาดเสาหลักไป แต่ด้วยความสู้ของป้าเขา จึงลงมือทำต่อและไม่ยอมท้อ ทุกวันนี้ก็จัดพื้นที่แบ่งเป็นสัดส่วนที่ปลูกพืชผัก ไม้ผม ไม้ยืนต้น ในสวนก็จะมีไผ่ มะพร้างว มะละกอ ต้นกระเจี๊ยบ ฝรั่ง ต้นชายา/ ไชยา หรือที่ทั่วไปรู้จักกัน คะหน้าแม็กซิกัน ทุเรียนเทศ ผักหวานยูนาน นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ป้าเขาปลูกทิ้งไว้ เพราะการดูแลง่าย ตอนนี้อาจรกบ้าง แต่ก็ดูแลได้

ส่วนในสวนที่จัดเป็นแปรงก็มีหลายอย่างเช่นกันที่เตรียมการปลูกและได้ปลูกไปแล้ว อาทิ จูง จิง ฉ่าย กะเพา ผักเชียงดา มะเขือปู หรือมะอึกที่เอาไปตำน้ำพริกได้ ที่ลาวจะใส่ส้มตำ เบญจรงค์ ที่รู้จักในนามตำลึงหวาน/อ่อมแซบ ที่แก้โรคเก๊าได้ ต้นหอม ผักชี และอีกหลายอย่างในส่วนนี้ บางอย่างก็เก็บไม่ทัน เพราะทำคนเดียว ลูกๆก็เรียนจบขอทำงานก่อน ยอมรับว่าป้าเขาเป็นเกษตรนักสู้จริงๆ ถึงจะเป็นผู้หญิงตัวคนเดียว แต่ก็สามารถดูแลพืชผัก ในสวน15 ไร่ได้ ถ้าหญ้าขึ้นเยอะๆในช่วงฝนนี้ก็จ้างให้คนมาช่วยตัด

dsc_0013ด้วยความมุ่งมานะและสู้ วันนี้ป้าอำภา ถือว่าประสบผลสำเร็จกับการทำเกษตรในระบบอินทรีย์ ที่ป้าเขากล้าพูดได้เลยว่าในสวนของป้าไม่ได้ใช้สารเคมี แม้แต่หยดเดียว ทุกวันใช้แต่ปุ๋ยน้ำหมัก มาฉีดพ่น พักก็จะนำไปขายที่กาดน้อยในม.แม่โจ้ และหน้าบ้าน รายได้ถือว่าเลี้ยงชีพได้สบาย พอมี พอใช้ ตามพระราชดำริของในหลวงที่ว่าไว้ และตามรอบๆรั้วของบ้านป้าก็มีพืชผักเต็มไปหมด กินไม่ทัน

ถามว่าเคยท้อไหม….ป้าบอกเลยว่าแรกๆนะท้อมาก เพราะเราทำไปไม่ทันเห็นผล และไม่เร็วอย่างเกษตรกรคนอื่น ที่ใช้ปุ๋ย-สารเคมี ด้วยความอดทนที่จะสู้ต่อจึงทำใหม่ พอเริ่มเห็นผลที่เราปลูก เราทำกัน ก็เริ่มมีกำลังใจและรอยยิ้มขึ้นมา กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ก็หมดแรงไปเยอะ หน้แล้งที่ผ่านมาก็ประสบปัญหาเช่นกันในเรื่องน้ำ เคยทำหนังสือขอเจาะบ่อบาดาล แต่ได้ผลตอบกลับมาว่า ไม่มีนโยบาย ก็ทำเอาป้าหมดแรงใจไปอีกครั้ง ได้แต่รอน้ำฝนเท่านั้น

dsc_0046อยากจะฝากถึงผู้บริหารทั้งหลายว่า ให้ความใส่ใจชาวเกษตรที่ตั้งใจทำกันจริงๆบ้างเถอะพร้อมกับยกระดับเกษตรกรบ้าง โดยเฉพาะเกษตรกรที่ใช้ระบบอินทีย์ เน้นความเป็นธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ปลอดยาฆ่าแมลง ลงมาดูอย่างจริงจังกันบ้าง และส่งเสริมตลาดพืชผัก ของเราบ้าง ทุกวันนี้มีการแบ่งแยก โดยไม่คิดถึงผู้บริโภค ส่วนใบรับรองมาตฐานของระบบอินทีรย์ จะมีใครมารับรองและออกให้

ก่อนจบป้าอำภาได้ให้ความรู้ฝากมาถึงผู้บริโภคด้วยว่า ที่ซื้อผักกินกันทุกวันนี้เคยอ่าน เคยดูกันหรือไม่ว่า แต่ละร้านจะมีป้ายเขียวไว้ว่าพืชผักที่เราซื้อกินควรมีอะไรบ้าง เราต้องรู้ 3 ข้อนี้ไว้นะค่ะ อินทรีย์ / ปลอดภัย / ปลอดสาร..
อินทรีย์ = เป็นพืชผักที่ไม่ใช้สารเคมี สามารถนำไปกินได้เลย
ปลอดภัย= ผักจะต้องทิ้งระยะก่อนนำออกมาจากสวนอย่างน้อยก็สอง สามวัน เพราะใช้ 2 อย่างคือปุ๋ยและยา
ปลอดสาร= ผักที่ใช้ปุ่ยเคมี ผักพวกนี้ก็ทิ้งระยะเหมือนกัน ก่อนที่จะตัดมาขายในตลาดจะมีป้ายบอก เราควรอ่านไว้บ้าง เพราะทุกวันนี้ผู้คนไม่สนใจเลย เอาผักเขียว สดเข้าว่า ก็เป็นข้อเตือนใจที่ดีจากป้าอำภา ที่ให้ความรู้มา ส่วนใครที่จะมาดูงานที่สวนป้าอำภา ก็โทรติดต่อได้เลยที่ 085-421 720

dsc_0007
ท.ลุงเกษตร

[email protected]

ร่วมแสดงความคิดเห็น