แอ่วเมืองแพร่ “ไหว้พระธาตุช่อแฮ”

dscf2250“ปัจจุบันเมืองแพร่แม้ว่าจะไม่ได้เป็นเมืองที่การท่องเที่ยวคึกคักมากนัก แต่ด้วยเป็นเมืองที่มีธรรมชาติขุนเขาป่าไม้เขียวขจี เมื่อบวกรวมกับศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ที่คนเมืองแพร่ยึดถือปฏิบัติจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบบแล้ว จึงเป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนเมืองแห่งนี้มากยิ่งขึ้น”

จังหวัดแพร่หรือเมืองแป้ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งไม้สักทอง เพราะนับตั้งแต่อดีตที่ผ่านเรามักรู้จักชื่อของเมืองแพร่ในฐานะเป็นเมืองที่มีการทำไม้สักมากที่สุดของประเทศ พื้นที่ต่างของจังหวัดแพร่ไม่ว่าที่ไหน ๆ ก็เต็มไปด้วยไม้สัก ตั้งแต่ขุนขอดยอดดอยไปจนถึงลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำแม่งาว แม่สอง แม่หลาย ตลอดจนถึงแม่พวก แม่ป่านจนสุดเขตแคว้นแดนจังหวัด นับได้ว่าเป็นแผ่นดินแห่งไม้สักจริง ๆ

ย้อนหลังไปประมาณสัก 50 – 60 ปีเมื่อยังมีการทำไม้สัก เมื่อใครสามารถนำขอนไม้สักในป่าเมืองแพร่ล่องแม่น้ำยมลงไปขายที่ปากน้ำโพจังหวัดนครสวรรค์ได้ บรรดาพ่อค้าไม้ที่ไปรอรับซื้อไม้เป็นได้แย่งกันซื้อไม้สักจากเมืองแพร่ก่อนไม้สักที่ล่องไปจากป่าอื่น แสดงให้เห็นว่าไม้สักเมืองแพร่นั้นเป็นไม้ที่พ่อค้าไม้ต้องการและมีราคาสูง

dscf2268

ประวัติศาสตร์ของเมืองแพร่ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า พลนคร,เมืองพล หรือ เวียงโกศัย นั้นกล่าวว่า ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ระหว่างปี พ.ศ.1470 – 1560 พระนางจามเทวีเข้าครอบครองแคว้นล้านนาได้เปลี่ยนชื่อเมืองจากเมืองพลนครเป็น “โกศัยนคร” หรือ “เวียงโกศัย” ซึ่งแปลว่า “ผ้าแพร” นับแต่นั้นมาก็มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมาโดยตลอดจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเจ้าพิริยะชัยเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองเมืองแพร่องค์ที่ 18 เป็นเจ้าหลวงกำกับด้วยข้าหลวงซึ่งโปรดเกล้าฯให้พระยาไชยบูรณ์ เป็นข้าหลวงองค์แรก

ต่อมาในปี พ.ศ.2445 พวกเงี้ยวได้ก่อการกบฏขึ้นโดยยึดสถานีตำรวจ ศาลากลาง ปล้นเงินคลังและปล่อยนักโทษออกจากคุก พระยาไชยบูรณ์ถูกพวกเงี้ยวจับตัวและถูกบังคับให้ยกเมืองให้ แต่พระยาไชยบูรณ์ไม่ยินยอมจึงถูกจับประหารชีวิต เมื่อความทราบถึงในหลวงรัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีนำทัพหลวงเข้าปราบปรามพวกเงี้ยวจนราบคาบ เจ้าพิริยะชัยเทพวงศ์ เกรงพระราชอาญาจึงลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองหลวงพระบางและถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ.2452 นับแต่นั้นมาก็ไม่มีเจ้าผู้ครองนครแพร่อีกเลย

dscf2258

ปัจจุบันเมืองแพร่แม้ว่าจะไม่ได้เป็นเมืองที่การท่องเที่ยวคึกคักมากนัก แต่ด้วยเป็นเมืองที่มีธรรมชาติขุนเขาป่าไม้เขียวขจี เมื่อรวมกับศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ที่คนเมืองแพร่ยึดถือปฏิบัติจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบบแล้ว จึงเป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนเมืองแห่งนี้มักยิ่งขึ้น

โบราณสถานท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองแพร่เห็นจะได้แก่ “วัดพระธาตุช่อแฮ” ซึ่งเป็นวัดสำคัญเก่าแก่คู่เมืองแพร่ จากพระราชพงศาวดารกรุงสุโขทัย หอสมุดแห่งชาติ กล่าวถึงวัดพระธาตุช่อแฮว่า วัดนี้สร้างขึ้นระหว่างจุลศักราช 586 – 588 ตรงกับ พ.ศ.1879 – 1881 (ราวพุทธศตวรรษที่ 19) ในสมัยพระมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท) พระองค์ได้พระราชทานพระบรมธาตุแด่ขุนลัวะอ้ายก้อม ชาวละว้าได้สร้างองค์พระธาตุขึ้นสูง 33 เมตรฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตรเป็นเจดีย์พุกามทรง 8 เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง บุด้วยทองดอกบวบศิลปะสมัยเชียงแสนเพื่อบรรจุพระบรมเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าdscf2253

นอกจากนั้นตำนานพระธาตุช่อแฮอีกทางหนึ่ง กล่าวถึงความเป็นมาของพระองค์นี้ว่า เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงเมืองพล (เมืองแพร่) พระองค์ได้มาประทับ ณ บริเวณดอยโกสัยธชัคคะบรรพต ขณะนั้นมีเจ้าลาวนามว่า “ขุนลัวะอ้ายค้อม” (อ่านว่า “ก้อม”) ได้มากราบไหว้พระพุทธเจ้า จากนั้นพระพุทธเจ้าได้แสดงอิทธิปาฏิหารย์ให้ขุนลัวะอ้ายค้อมเห็น เนื่องจากสถานที่นี้เป็นที่ร่มรื่น เหมาะสำหรับตั้งเป็นที่ไว้ในพระพุทธศาสนา พระองค์ได้ประทานพระบรมสารีริกธาตุ โดยเอาเส้นพระเกศาเส้นหนึ่งให้แก่ขุนลัวะอ้ายค้อมไว้ และทรงสั่งว่า เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ให้เอาพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ ณ สถานที่นี้ และต่อไปภายหน้าจะได้ชื่อว่า “เมืองแพร่”

ทุก ๆ ปีจะมีการจัดงานนมัสการพระธาตุช่อแฮ ในวันขึ้น 9 – 15 ค่ำเดือน 6 เหนือ หรือราวเดือนมีนาคม ในอดีตเมื่อถึงประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เจ้าผู้ครองเมืองแพร่พร้อมด้วยพระชายาและราชบุตรจะขึ้นช้าง ส่วนบรรดาข้าราชการจะขึ้นม้า นำเครื่องสักการะบูชาไปถวายองค์พระธาตุช่อแฮ โดยออกเดินทางจากคุ้มเจ้าตั้งแต่เช้ามืด พอรุ่งสางเมื่อขบวนช้างม้าของเจ้าหลวงเมืองแพร่ไปถึงวัดก็จะนำบรรดาข้าราชการ ประชาชนชาวเมืองร่วมทำบุญตักบาตรไหว้พระธาตุ ถวายภัตตาหารและสังฆทานพร้อมเครื่องไทยทานและรับประทานอาหาร่วมกันdscf2262

ปัจจุบันประเพณีไหว้พระธาตุแบบโบราณได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง โดยนำตุงกระด้างขนาดใหญ่ที่แกะสลักด้วยไม้สักเป็นลวดลายนำมาเข้าร่วมในขบวนแห่ด้วย รวมถึงได้เปลี่ยนชื่องานจาก “ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ” มาเป็น “ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ แห่ตุงหลวง” และได้เพิ่มการจัดงานจาก 5 วัน 5 คืน มาเป็น 7 วัน 7 คืน
ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ แห่ตุงหลวง ประกอบด้วยริ้วขบวนแห่ของทุกอำเภอ มีขบวนช้างหลวง ขบวนแห่กังสดาล ขบวนแห่หมากเบ็งเครื่องบวงสรวงพระธาตุ ขบวนแห่ผ้าองค์พระธาตุ 12 ราศีและขบวนฟ้องรำของชาวบ้าน อันนับเป็นประเพณีเก่าแก่สำคัญของจังหวัดแพร่

ดังนั้นหากใครที่เดินทางมาเยือนเมืองแพร่ แล้วละเลยที่จะไปนมัสการองค์พระธาตุช่อแฮ ก็ยังนับว่ามาไม่ถึงเมืองแพร่

dscf2266

จักรพงษ์ คำบุญเรือง
[email protected]

ร่วมแสดงความคิดเห็น