คิ๊กออฟ เจาะอุโมงค์ส่งน้ำแม่งัด-แม่กวง ชลประทานยันเสร็จตามแผนในปี 64

img_1572กรมชลฯ เดินเครื่องเจาะอุโมงค์ส่งน้ำ“สานต่องานพ่อ เติมน้ำเติมชีวิต” เพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา กรมชลประทานเร่งรัดต่อยอดโครงการตามพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เปิดงาน “สานต่องานพ่อ เติมน้ำเติมชีวิต” เดินเครื่องเจาะอุโมงค์ส่งน้ำ โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา หวังสร้างความมั่นคงในเรื่องน้ำให้กับ 3 ลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำปิง และยังเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 76,129 ไร่

วันนี้ 8 พ.ย.59 นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่ พร้อมด้วย นายโสภณ ธรรมรักษา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา(ด้านควบคุมการก่อสร้าง) กรมชลประทาน ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “สานต่องานพ่อ เติมน้ำเติมชีวิต” งานเดินเครื่องเจาะอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่งัด – แม่กวง สัญญาที่ 2 โครงการเพิ่มปริมาณนํ้าในอ่างเก็บนํ้าเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ณ บ้านป่าสักงาม ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ โดยมีนายณรงค์ ลีนานนท์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ

img_1643img_1665นายโสภณ เปิดเผยว่าการเจาะอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่งัด – แม่กวงดังกล่าว เป็นการเจาะในชั้นหินครั้งแรกของประเทศ ไทย โดยใช้ทั้งเทคนิคการขุดเจาะระเบิด (Drill & Blast) ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้เฉลี่ยประมาณ 4 – 6 เมตร/วัน และเทคนิคการใช้เครื่องเจาะ Tunnel Boring Machine (TBM) ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้เฉลี่ยประมาณ 12-20 เมตรต่อวัน การใช้เทคนิคผสมผสานกัน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาประสิทธิภาพความเหมาะสมทางเทคนิค ต้นทุน และความจำเป็นของสภาพแวดล้อม เช่น สภาพหิน โครงสร้างหิน น้ำใต้ดิน เพราะต้องดำเนินการเจาะอุโมงค์ ซึ่งมีความลึกจากผิวดิน ประมาณ 300 เมตร จนถึง 700 เมตร ซึ่งการเจาะอุโมงค์ในช่วงนี้จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์ กลาง 4.20 เมตร

สำหรับโครงการเพิ่มปริมาณนํ้าในอ่างเก็บนํ้าเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จะมีการดำเนินงานก่อสร้างเป็น 2 ช่วงคือ อุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่แตง – แม่งัด ระยะทางตั้งแต่ประตูระบายน้ำแม่ตะมาน ซึ่งกั้นลำน้ำแม่แตง จนถึงอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล แบ่งออกเป็น 2 สัญญา มีกำหนดแล้วเสร็จพร้อมกันทั้งสองสัญญาในปี พ.ศ.2564 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมงานเบื้องต้น ขอหนังสือรับรองเพื่อประกอบการขออนุญาตมีและใช้วัตถุระเบิด และอุปกรณ์ และเริ่มกระบวนการออกแบบ จัดหาเครื่องเจาะ Tunnel Boring Machine อุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่งัด – แม่กวง ระยะทางตั้งแต่อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จนถึงอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา แบ่งออกเป็น 2 สัญญา โดยสัญญาที่ 1 มีความยาวอุโมงค์ 12.500 กิโลเมตร เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ.2558 กำหนดแล้วเสร็จปี พ.ศ.2564 ส่วนสัญญาที่ 2 มีความยาวอุโมงค์ 10.476 กิโลเมตร ได้เริ่มขุดเจาะในวันนี้ กำหนดแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2562

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานอาจจะล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้เล็กน้อย เนื่องจากในช่วงก่อนที่จะเริ่มดำเนินการยังคงมีปัญหาเรื่องการขออนุญาตเข้าใช้ประโยชน์ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับการขุดระเบิดอุโมงค์ ผ่านหินไม่ดี (Poor Rock) ส่งผลให้การทำงานต้องมีขั้นตอนการปรับปรุงเสถียรภาพภายในอุโมงค์ ผู้ทรง คุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา กรมชลประทาน กล่าวด้วยว่า อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา เป็นโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานให้กรมชลประทานดำเนินก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 เพื่อประโยชน์ด้านอุปโภค บริโภค และการเกษตร ในเขตพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ประมาณ 175,000 ไร่ และเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำปิง ประกอบด้วยลุ่มน้ำย่อย ได้แก่ ลุ่มน้ำแม่แตง ลุ่มน้ำแม่งัด ลุ่มน้ำแม่กวง เกิดประ โยชน์สูงสุด

จึงได้ดำเนินโครงการ เพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ซึ่งความคืบหน้า ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยเฉพาะลุ่มน้ำแม่กวง ที่มีความต้องการน้ำสูงขึ้น ทั้งด้านการท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรม และการขยายตัวของชุมชนในพื้นที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน จนเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ 137 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และจะเพิ่มเป็น 173 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ในอีก 20 ปีข้างหน้า จึงต้องมีโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน เฉลี่ยปีละประมาณ 160 ล้านลูกบาศก์เมตร

ทั้งนี้การเจาะอุโมงค์ส่งน้ำจากลำน้ำแม่แตง (ประตูระบายน้ำแม่ตะมาน) จะส่งน้ำส่วนเกิน ประมาณ 113 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ในฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จากนั้นจะส่งน้ำส่วนเกินของลำน้ำแม่แตง ประมาณ 113 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และน้ำส่วนเกินของอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัด สม บูรณ์ชล ประมาณ 47 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี รวมเป็นปริมาณน้ำที่ส่งผ่านอุโมงค์จากอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ทั้งสิ้นประมาณ 160 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำแม่กวง ทั้งด้านการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรมได้

ขณะเดียวกัน กรมชลประทานยังมีโครงการส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ไปยังระบบส่งน้ำของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง เพื่อสนับสนุนให้พื้นที่การเกษตรในลุ่มน้ำแม่แตงในฤดูแล้ง ประมาณ 25 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งจะทำให้ประชาชนที่อยู่ทั้ง 3 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำปิง ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ ทำให้มีความมั่นคงในเรื่องน้ำตลอดปี ทั้งน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภค-บริโภค ลดปัญหาน้ำท่วม โดยเฉพาะในลุ่มน้ำแม่แตง รวมทั้งพื้น ที่เศรษฐกิจของ จ.เชียงใหม่ และยังเพิ่มพื้นที่ชลประทานของโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ในฤดูแล้งจาก 17,060 ไร่ เป็น 76,129 ไร่ อีกด้วยimg_1567

ร่วมแสดงความคิดเห็น