รายงานพิเศษ “ท่านาสามัคคี”ชุมชนตัวอย่าง แก้ปัญหาขยะล้นเมือง

b-1-jpg

ปัญหาขยะ ดูจะเป็นปัญหาหลักของชุมชน ไม่ว่าจะสังคมเมืองหรือชนบท ล้วนมีปัญหาไม่ต่างกัน แม้หน่วยงานรับผิดชอบที่รับผิด
ชอบจะจัดเก็บ แต่ทำเท่าไหร่ก็ไม่หมด ดังนั้นแต่ละชุมชนจึงหันมาช่วยกันสร้างจิตสำนึก และเรียนรู้ที่จะตระหนักถึงผลกระทบของการทิ้งขยะไม่
ถูกวิธี ตลอดจนรณรงค์การคัดแยก เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ โดยเริ่มที่ครัวเรือนเป็นอันดับแรก ดังเช่นที่ชุมชนท่านาสามัคคี หมู่ 9 ต.ตากตก อ.
บ้านตาก จ.ตาก รณรงค์ให้ชาวบ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะที่ถูกต้อง คัดแยกขยะในครัวเรือน ลดปริมาณขยะในชุมชนให้น้อยลง
ด้วยการสร้างความรู้ ความตระหนัก และจิตสำนึกรับผิดชอบชุมชนร่วมกัน นำไปสู่ชุมชนที่น่าอยู่แต่กว่าที่จะประสบผลสำเร็จในวันนี้ก็ต้องใช้เวลา
ชุมชนท่านาสามัคคี เป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบทอยู่ติดริมน้ำปิง มีประชากร 244 คน 102 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการ
ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป ด้วยความเป็นสังคมเมืองจึงทำให้ประสบปัญหาด้านขยะอย่างเลี่ยงไม่ได้ ขยะในชุมชนท่านาสามัคคี พบว่ามีประมาณ
15 กิโลกรัมต่อครัวเรือนต่อสัปดาห์ ทั้งหมดไม่มีการทิ้งหรือกำจัดที่ถูกต้อง ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม และอื่นๆ ใน
ชุมชนเมื่อแกนนำของชุมชนมองเห็นว่าหากปล่อยไว้เช่นนี้ต่อไป ชุมชนจะเต็มไปด้วยเชื้อโรค หันมองไปทางไหนก็ไม่น่ามอง คนในก็ไม่อยากอยู่
คนนอกก็ไม่อยากเข้า ดังนั้นจึงร่วมกันคิด ร่วมกันทำ โครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่หมู่บ้านท่านาสามัคคี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงาน
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อแก้ปัญหาขยะในชุมชนอย่างจริงจัง ด้วยการสร้างจิตสำนึกและรับผิดชอบของชาวชุมชนร่วม
กัน

b-2-jpg

สายใจ บุญมาลีรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการ บอกถึงสภาพปัญหาก่อนเข้าร่วมโครงการว่า ปัญหาขยะที่เกิดขึ้นมาจากการเพิ่มขึ้นของ
จำนวนประชากร ทำให้มีปริมาณขยะเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน นอกจากครัวเรือนทั่วไปแล้ว ยังมีกลุ่มร้านค้าที่มีพวกเศษขยะ เศษผัก ซึ่งเป็น
ขยะสดอีกไม่น้อย แม้ว่าจะมีรถเทศบาลมาเก็บทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ แต่ปริมาณขยะยังมากอยู่ ทำให้จัดเก็บในวันเดียวไม่หมด ส่วนที่ไม่ได้
เก็บก็หมักหมมอยู่ในถังขยะรอมาจัดเก็บรอบต่อไป ขยะจึงตกค้างเมื่อแต่ละครัวเรือนไม่มีการคัดแยกขยะ ก็จะทิ้งผสมปนเปกันอยู่ในถัง กว่ารถเก็บขยะจะมาเก็บขยะเปียกก็เริ่มเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น น้ำเน่าไหลเต็มข้างถังขยะ หมาคุ้ยเขี่ย สกปรกเลอะเทอะ เป็นแหล่งชุกชุมของแมลงวัน กลายเป็นแหล่งพันธุ์เชื้อโรคต่างๆ นอกจากบางส่วนก็ทิ้งลงในแม่น้ำปิงด้วย
ดังนั้นจึงเข้าร่วมโครงการรร่วมชุมชนให้น่าอยู่ ของ สสส. เมื่อปี 2558 เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาขยะในชุมชนอย่างยั่งยืน
โดยได้จัดตั้งสภาผู้นำชุมชนขึ้นจากทุกภาคส่วน มีสมาชิกจำนวน 35 คน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมาย หลังจากนั้นจึงจัด
เวทีประชาคมขึ้น เพื่อขอความคิดเห็นชาวบ้าน เพราะการจัดการขยะจะประสบผลสำเร็จได้ ทุกคนต้องมีส่วนร่วมด้วย
ข้อตกลงแรกที่ชาวชุมชนท่านาสามัคคี ทำร่วมกัน คือ การส่งคืนถังขยะให้กับเทศบาล แล้วให้แต่และครัวเรือนคัดแยกขยะใส่ถังไว้ใน
บ้าน เมื่อถึงวันที่รถเก็บขยะมา ค่อยเอาขยะที่คัดแยกใส่ถุงไว้ออกมาวางหน้าบ้านให้รถจัดเก็บไป ซึ่งตอนนี้มีบ้านที่คืนถังขยะไปแล้วกว่า 60% ทำ
ให้แต่ละครัวเรือนได้คัดแยกขยะนำไปขายได้ เศษผักหรือเศษอาหารก็เอาไปทำน้ำหมักชีวภาพได้ด้วย พร้อมทั้งจัดประกวดครัวเรือนที่รักษาความ
สะอาด มีระเบียบเรียบร้อยทั้งในบ้านและหน้าบ้าน จำนวน 10 หลังคาเรือน และมอบใบประกาศเพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยขณะเดียวกันยัง รณรงค์ใช้ถุงผ้าเดียวเที่ยวจ่ายตลาด เพราะตามปกติแล้วเมื่อไปซื้อของ แม่ค้าจะใส่ถุงให้ ซื้อมาก ก็ได้ถุงพลาสติกกลับบ้านมาก สุดท้ายแล้วถุงเหล่านี้ ก็จะกลายเป็นขยะต่อไป
“เราจึงแจกถุงผ้าและรณรงค์ให้ทุกคนใช้ถุงผ้าใบเดียวในการไปจับจ่ายซื้อของ เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้ถุงใส่ของ จนถึงตอนนี้ก็ยังมีคนใช้ถุงผ้าไปจ่ายตลาดให้เราเห็นหลายๆ คนอยู่” สายใจ เล่าขยะบางส่วนสามารถคัดแยกไปขายสร้างรายได้ให้ครัวเรือน และบางอย่างถูกนำมาประดิษฐ์เป็นของใช้ได้มากมาย ซึ่งในส่วนนี้ ชานุ อินทร์กลิ่น แกนนำด้านไอเดียจากวัสดุเหลือใช้ บอกว่า วัสดุเหลือใช้บางอย่างไม่สามารถเอาไปขายได้ แต่สามารถเอามาทำประโยชน์ได้ ดีกว่าทิ้งไปไม่เกิดประโยชน์ โดยมีการรวมกลุ่มกันทำสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ เช่น โมบายหลอดกกาแฟ เสื้อกันฝน และเอี้ยมกันเปื้อน ซึ่งทำจากถุงผงซักฟอกหรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น
ชานุ เล่าต่อว่า นอกจากนี้ยังมีการคุยกันว่าระหว่างถังขยะกับกระถางดอกไม้อันไหนสวยกว่ากัน ในที่สุดชุมชนก็ช่วยกันนำยางรถยนต์
เก่ามาทำเป็นกระถางและปลูกดอกไม้วางไว้ที่หน้าบ้านบริเวณที่เคยวางถังขยะไว้ อย่างเมื่อวันที่ 12 สิงหา ที่ผ่านมา ทางชุมชนก็ปลูกดอกมะลิเพื่อ
เป็นสัญลักษณ์ของวันแม่แห่งชาติ ตอนนี้หน้าบ้านทุกหลังจะมีกระถางดอกไว้หลายกระถาง คนที่ผ่านไปผ่านมาก็ได้เห็นสิ่งสวยๆ งาม หน้าบ้าน
สะอาดชวนมอง
“ขยะอันตรายอย่าง หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ กระป๋องสี กระป๋องสเปรย์ ที่ผ่านมาชาวบ้านมักจะทิ้งในถังขยะทั่วไป เราจึงได้คิด
โครงการ ขยะแลกไข่ โดยในวันที่มีการแจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้ชาวบ้านนำขยะอันตรายที่มีอยู่นำมาแลกไข่ไก่กับเราตามความเหมาะสม ขยะที่
รับมอบก็จะส่งต่อไปกำจัดที่ อบจ. ตามวิธีการ ถ้าไปบอกให้เขานำมาให้เปล่าๆ ชาวบ้านไม่เอามาให้หรอก แต่ถ้ามีไข่มาแลกกันเขาทำ ถือเป็นแรง
จูงใจ ซึ่งก็ไม่ได้สิ้นเปลืองอะไรมากมาย” ชานุบอก
ผลของการทำโครงการที่ชาวบ้านทุกคนมีส่วนร่วม ทำให้ปริมาณขยะในชุมชนท่านาสามัคคี ค่อยๆ ลดลง ทุกคนช่วยกันดูแลหน้าบ้าน
และในบ้านของตัวเอง ให้ปลอดจากขยะ “ถามว่าสิ้นสุดโครงการไปแล้ว ขยะจะกลับมาเหมือนเดิมมั้ย บอกได้เลยว่า ไม่มีแน่นอน โครงการนี้เป็น
เหมือนตัวจุดประกาย เรายังสานต่อ เพราะชุมชนจะน่าอยู่ได้ทุกคนต้องช่วยกัน เพราะทุกคนเป็นเจ้าของชุมชนร่วมกัน”
สิริลักษณ์ จันทรี ชาวบ้านชุมชนท่านาสามัคคี บอกด้วยพลังของผู้นำสภาชุมชนและชาวชุมชนที่ร่วมมือกันอย่างจริงจัง ทำให้สามารถ
จัดการปัญหาขยะได้ผลสำเร็จ และทางอำเภอบ้านตากยกให้ “ชุมชนท่านาสามัคคี” เป็นชุมชนต้นแบบการจัดการขยะ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้
ชุมชนอื่นๆ ได้ทำตามต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น