14 พฤศจิกายน “วันเบาหวานโลก” “รู้จักเพื่อป้องกัน รู้ทันเพื่อควบคุม”

776

จากสถานการณ์โรคเบาหวานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่าในปี พ.ศ.2552 ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 108 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 422 ล้านคน ในปี พ.ศ.2557 และมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานมีจำนวน 1.5 ล้านคน นอกจากนี้ยังพบว่า ประชากรทั่วโลกที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 8.5 ซึ่งในปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คน ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ(international diabetes federation (idf) จึงได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก World Diabetes Day และกำหนดประเด็น (Theme) การรณรงค์วันเบาหวานโลกในปี 2559 คือ “Eyes on Diabetes” โดยเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการคัดกรองเบาหวานและการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับจอตา เพื่อการรักษาที่รวดเร็วและลดโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย กล่าวเปิด งานวันเบาหวานโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี พร้อมแนะนำให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองระยะเริ่มแรก ทั้งจากการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นประจำ ส่วนการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานระดับกลูโคสในเลือดนั้น แนะนำให้ทำเฉพาะในกลุ่มความเสี่ยงสูงที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ และกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันเลือดสูงและระดับไขมันในเลือดผิดปกติอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งการประเมินความเสี่ยงเพื่อตรวจกรองหาผู้ป่วยนั้น นอกจากจะช่วยค้นหาผู้ที่มีโอกาสที่จะเป็นเบาหวานในอนาคตและให้การป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานแล้ว ยังช่วยให้ตรวจพบผู้ที่เป็นเบาหวานโดยไม่มีอาการและให้การรักษาแต่เนิ่นๆ

322

ด้าน นพ.เอกลักษณ์ วโนทยาโรจน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคต่อมไร้ท่อ กล่าวว่า “ภาวะนํ้าตาลตํ่าในเลือด เป็นอีกอาการหนึ่งที่มักเกิดกับผู้ป่วยเบาหวานที่รักษาด้วยอินซูลินและยาลดระดับนํ้าตาลในเลือดชนิดกินบางชนิดหรือเมื่อไตเสื่อมหน้าที่ สำหรับอาการของภาวะนํ้าตาลตํ่าในเลือดระดับรุนแรงจนผู้ป่วยไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเองและต้องอาศัยผู้อื่นช่วยเหลือ หรืออาการรุนแรงมาก เช่น ชัก หมดสติใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว รู้สึกหิว รู้สึกร้อน เหงื่อออกมือสั่น รู้สึกกังวล ความดันโลหิตซิสโตลิคสูงกระสับกระส่าย คลื่นไส้ และชา

อาการสมองขาดกลูโคส ได้แก่ อ่อนเพลีย รู้สึกร้อนทั้งที่ผิวหนังเย็นและชื้น อุณหภูมิกายตํ่า มึนงง ปวดศีรษะความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง สับสน ไม่มีสมาธิ ตาพร่ามัวพูดช้า ง่วงซึม หลงลืม พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอัมพฤกษ์ครึ่งซีก คล้ายโรคหลอดเลือดสมอง หมดสติและชัก ซึ่งภาวะนํ้าตาลตํ่าในเลือดเกิดขึ้นในแต่ละคนไม่เหมือนกัน อาจจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้วิธีการรักษาผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุด้วยอินซูลินหรือยากลุ่มซัลโฟนีลยูเรีย ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากความเสี่ยงต่อภาวะนํ้าตาลในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น ประเมินสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนํ้าตาลตํ่าในเลือดการปรับเปลี่ยนชนิดยา ขนาดยา และรูปแบบยารักษาเบาหวานกลุ่มอื่นๆ

ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดเมื่อเกิดภาวะนํ้าตาลตํ่าในเลือด คือ การค้นหาสาเหตุเพื่อป้องกันการเกิดซํ้า”

นพ.เพชร รอดอารีย์ เลขาธิการสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติม “การรักษาเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับความรุนแรงของโรค สภาพร่างกาย และวิถีชีวิตของผู้ป่วย โดยสามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้พิจารณาการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายได้ดังนี้ 1.ความพอประมาณ ให้คำแนะนำการทานอาหารทั้งชนิดและปริมาณที่เหมาะสม การออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย 2.การมีเหตุผล เลือกใช้ยาอย่างสมเหตุผล ทั้งด้านความรุนแรงของโรค การออกฤทธิ์ ผลข้างเคียงรวมไปถึงราคาที่เหมาะสมทั้งกับผู้ป่วยและสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศ 3.การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี นอกจากจะควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดแล้วยังต้องส่งเสริมให้ผู้ป่วยดูแลตนเองให้มีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งกายและใจ ลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ในอนาคต”

ขอขอบคุณข้อมูล
จากหนังสือพิมพ์แนวหน้า

ร่วมแสดงความคิดเห็น