เดินหน้าสร้างภูมิคุ้มกัน หนี้นอกระบบในไทย ผ่านเกม “The Choice เกมทางเลือก-ทางรอด”

b5-w9h6-19
ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้ฯ กระทรวงยุติธรรม ร่วมมือกับ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) เดินหน้าสร้างภูมิคุ้มกันหนี้นอกระบบให้แก่ประชาชน ผ่านเกม “The Choice เกมทางเลือก-ทางรอด” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ พร้อมสอดแทรกข้อกฎหมายการทำนิติกรรมสัญญาเบื้องต้น ส่งเสริมหลักนิติธรรม การบริหารจัดการการเงินและหลักปรัญชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นายพีระพล ขันตี นักศึกษาฝึกประสบการณ์ สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รายงานว่า เมื่อวันที่ผ่านมา นายธวัช พันมา ยุติธรรมจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นางอุมาพร แพรประเสริฐ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ และนางสาวจันทร์จิรา เฉลิมวุฒิศักดิ์ เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ชำนาญการ ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาคเหนือ ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เรื่องการจัดกิจกรรม Rule of Law Education ผ่านการเล่นเกม “The Choice เกมทางเลือก-ทางรอด” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบแก่ประชาชน ในวาระการแถลงข่าวสื่อมวลชนประจำสัปดาห์จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 40/2559 ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 4 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่
ทั้งนี้ นายธวัช พันมา ยุติธรรมจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปัญหาความยากจนของประชาชน หรือการถูกเจ้าหนี้นอกระบบเอาเปรียบหลอกลวงในเรื่องการทำสัญญา เรียกดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่ากฏหมายกำหนดอ ถูกข่มขืนทำร้ายร่างกาย ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี อย่างไม่เป็นธรรม นับวันเเนวโน้มความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมาจากหลายปัจจัย เช่น การทวงหนี้ 1.ด้วยวิธีการที่มีความรุนแรง ของกลุ่มนายทุนนอกระบบที่ปล่อยเงินกู้ โดยเรียกดอกเบี้ยรายวัน ในอัตราที่สูง มีขบวนการเข้าไปปล่อยเงินกู้ในพื้นที่ ติดตามทวงหนี้ด้วยวิธีการที่รุนแรง ข่มขู่ ทำร้ายร่างกายโดยใช้อำนาจและอิทธิพล 2. ปัญหาจากการที่เจ้าหนี้เอารัดเอาเปรียบในการทำสัญญา เช่น ทำสัญญากู้สูงกว่ายอดเงินที่รับจริง การให้ลงชื่อในสัญญาเปล่าแล้วนำมากรอกจำนวนเงินในจำนวนที่สูงกว่าที่ได้รับจริง การทำสัญญากู้ย้อนหลังแล้วนำไปฟ้องศาล ให้มีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความก่อน มอบเงินให้กับลูกหนี้เป็นต้น 3. ปัญหาเฉพาะตัวของลูกหนี้เอง เช่นความสามารถในการเข้าถึงแหล่งทุน เนื่องจากขาดคุณสมบัติ ขาดศักยภาพด้านรายได้ ความสามารถชำระเงินคืน นอกจากนี้ ยังไม่ได้รับการสนับสนุนแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างจริงจัง ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ 4. ปัญหาด้านการมีวินัยทางการเงิน เหตุจำเป็น สุดวิสัย หรือการใช้จ่ายเกินตัว การดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง การไม่มีที่ปรึกษาด้านการเงินและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นต้น 5. การไม่รับรู้ถึงบริการของภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือทางด้านกฏหมาย ทนายความ และการอำนวยความยุติธรรม และสาเหตุประการสำคัญ คือ การไม่รู้กฏหมายและการไม่เข้าใจกระบวนการยุติธรรมเมื่อเกิดปัญหาไม่รู้จะไปขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานใด ซึ่งเป็นสาเหตุต้นๆ ของการไม่ได้รับความเป็นธรรม
นายธวัช กล่าวต่อว่า ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม (ศนธ.ยธ.) ได้ตระหนักถึงการสร้างความรับรู้ให้กับคนในสังคม เพื่อช่วยป้องกันและการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ และเห็นว่าควรจะมีเครื่องมือที่สามารถสื่อสารเข้าใจง่าย สร้างการรับรู้ สร้างจิตสำนึก และสามารถใช้สื่อสารเรียนรู้ได้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงได้เลือกผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เสริมสร้างการเรียนรู้และการเข้าถึงความเป็นทางเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนในรูปแบบเกมกระดาน Board Game ภายใต้ชื่อ The Choice เกมทางเลือก-ทางรอด ซึ่งเป็นสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ที่ออกแบบมาเพื่อเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม Social Game Designer ซึ่งศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้เป็นผู้ดำเนินงานต่อยอดจากงานวิจัยนโยบายการยุติธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ประกอบผลการสำรวจความคิดและความเห็นของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพประชาชนทั้งด้านกฎหมายและการเข้าถึงความเป็นธรรม และจากโครงการดรีม อีสาน อนาคตภาคอีสานกับการเข้าถึงกระบวนยุติธรรมอย่างเท่าเทียม Dream Esan : Equity of Justice System ที่ได้บทสรุปว่า การให้ความรู้ของผู้ใช้กับใช้คำที่ถูกต้องจะเป็นการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบได้อย่างยั่งยืน
สำหรับสื่อดังกล่าวได้จำลองชีวิตของคนที่ตกเป็นหนี้นอกระบบมาเป็นตัวละครในเกมจำนวน 8 เรื่อง โดยเป็นตัวอย่างของคนในสังคมเมืองไทยที่มีรายได้ประจำและไม่มีรายได้ประจำ รวมทั้งชีวิตของคนสังคมชนบทที่มีรายได้ประจำและไม่มีรายได้ประจำ ได้แก่ 1. เรื่อง “ขจิต เกษตรรุ่นเก๋า” เป็นเรื่องราวของเกษตรกรอยากซื้อเครื่องมือการเกษตรจึงไปขอกู้ยืมเงินนางอ้วนโดยที่เอาที่ดินไปจำนอง เป็นการให้ความรู้ข้อกฎหมายในเรื่องของการจำนอง 2.เรื่อง “นวล โกอินเตอร์” เป็นเรื่องราวของนางนวลและนางล้วน สองแม่ลูกที่ประสบปัญหาชีวิต นางอมรเพื่อนบ้านจึงแนะนำให้ไปทำงานต่างประเทศ เป็นการให้ความรู้ข้อกฎหมายในเรื่อง การทำสัญญาและการชำระหนี้เงินกู้ 3. เรื่อง “ครูโชค น้ำผึ้งหยดเดียว” เป็นเรื่องของกูต่างจังหวัดที่เห็นโฆษณาของร้านขายรถมอเตอร์ไซค์และเกิดความรู้สึกอยากได้ จึงได้ไปทำสัญญาเช่าซื้อ การให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับการเช่าซื้อ 4. เรื่อง “อุไร จำใจจำเป็น” เป็นเรื่องของช่างสปาซึ่งเข้าร่วมป่วยจำเป็นต้องหาเงินมารักษา ฉันขอกู้เงินจากนางแย้มและทำสัญญาขายฝากกัน เป็นการให้ความรู้ข้อกฎหมายในเรื่อง การชำระหนี้เงินกู้และการทำสัญญาฝากขาย 5.เรื่อง “นิ้ง ป้ายแดง” เป็นเรื่องของช่างแต่งหน้าที่ใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อ อยากได้รถยนต์ป้ายแดงแต่ผ่อนไม่ไหว เป็นการให้ความรู้ข้อความหมายและเรื่อง เช่าซื้อ 6. เรื่อง “ฤดี รูดปรื้ด” เป็นเรื่องของพนักงานบริษัทซื้อขายของออนไลน์เป็นรายได้เสริม ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ส้ม ลูกน้องไปยกเลิกบัตรเครดิตแทนตน รายการลงชื่อลอยแต่ไม่กรอกข้อความ เป็นการให้ความรู้ข้อกฎหมายในเรื่อง บัตรเครดิตและการลงลายมือชื่อในเอกสาร 7. เรื่อง “ป้านิ่ม รวยทางลัด” เป็นเรื่องของแม่ค้าส้มตำที่ชอบเล่นหวยจะต้องไปกู้เงินนอกระบบมาเล่นหวยและไม่สามารถชำระหนี้ได้ เป็นการให้ความรู้ข้อกฎหมายในเรื่อง หนี้นอกระบบ และ 8. เรื่อง “เอก สิงห์มอเตอร์ไซค์” ประโยชน์ของพนักงานโรงงานที่อะไหล่มอเตอร์ไซค์จึงขอกู้ยืมเงินจากเจ้านาย รายการให้ความรู้ข้อกฎหมายในเรื่องการทำสัญญาเงินกู้ยืมเงินและการเช่าซื้อ ยุติธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ว่าและกล่าว
“ทั้งนี้ ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และเผยแพร่ The Choice เกมทางเลือก-ทางรอด ครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2558 ณ โรงแรมพูลแมนขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 31 มีนาคม – 2 เมษายน 2559 ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้ ใช้ร่วมกับสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) จัดกิจกรรม Rule Of Law Education ผ่านการเล่นเกม The Choice เกมทางเลือก – ทางรอด เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ พร้อมสอดแทรกใส่ข้อกฎหมายการทำนิติกรรมสัญญาเบื้องต้น ส่งเสริมหลักนิติธรรม การบริหารจัดการการเงินและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมีชัยพัฒนา อำเภอลำปลายมาศ และชุมชนบ้านหนองสระ จังหวัดบุรีรัมย์ ตลอดจนนำไปเป็นเครื่องมือการให้ความรู้กับกลุ่มประชากรทั่วไป ครูอาจารย์ นักเรียน นิสิตนักศึกษา ทั้งนี้เครือข่ายภาคประชาสังคมอย่างไรก็ตาม เกม The Choice เกมทางเลือกทางรอด จะเป็นนวัตกรรมหนึ่งของการเรียนรู้ที่สามารถเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มได้อย่างแท้จริง และเป็นการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนได้เรียนรู้ข้อกฎหมาย และวิธีการเข้าถึงหน่วยงานที่มีหน้าที่ ช่วยเหลืออำนวยความยุติธรรม รวมทั้งรู้จักการวางแผนการใช้จ่ายเงิน แต่การวางแผนการดำเนินชีวิตในทางที่ถูกต้องตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้แนวคิด ทุกชีวิตมีทางเลือก ทุกสถานการณ์มีทางออก เรียนรู้กฎหมาย การเงิน การวางแผนชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อทางเลือกชีวิตที่ดีกว่า ชื่อโครงการนี้ได้ถูกกำหนดเป็นแผนงานโครงการเพื่อการปฏิบัติปฏิรูปประเทศไทยในระยะที่ 1 ของกระทรวงยุติธรรม”

ร่วมแสดงความคิดเห็น