ชาวนาพร้าวปลื้ม ข้าวหอมมะลิ 105 ขายได้ราคาสูง

148398 เกษตรกรชาวนาพร้าว พอใจข้าวเปลือกดอกมะลิ 105 ขายได้สูงสุด ตันละ13,000 บาท หลังสหกรณ์การเกษตรพร้าวเปิดงานวันเกี่ยวข้าวหอมมะลิของดีอำเภอพร้าว และเปิดจุดรับซื้อข้าวเปลือกฤดูใหม่ต่อเนื่องหลายวัน โดยโครงการนาแปลงใหญ่สนับสนุนรถเกี่ยวข้าว แต่ปัญหาความชื้นยังสูง ขณะเดียวกันสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ ก็เปิดจุดขายข้าวสารให้ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง

ตามที่ นายนิกร ทะกลกิจ ประธานสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคาข้าวตกต่ำในช่วงนี้ ไม่ส่งผลกระทบกับการรับซื้อข้าวจากสมาชิกของสหกรณ์ เนื่องจากสหกรณ์การเกษตรพร้าวฯ ได้เข้าโครงการนาแปลงใหญ่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งเสริมสมาชิกกว่า 500 ครัวเรือนปลูกข้าวหอมมะลิ ขณะนี้ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดโดยเริ่มเก็บเกี่ยวกลางเดือนนี้ คาดว่ามีผลผลิต 3 พันตัน ลดลงจากปีที่แล้วผลิตได้ 5,000 ตัน หรือลดลง 30-40% เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนไปปลูกข้าวเหนียวสันป่าตอง นอกจากนี้ได้รับผลกระทบจากโรคข้าว อาทิ เพลี้ยกระโดด และโคนเน่า โดยคาดว่าจะรับซื้อข้าวจากสมาชิก กิโลกรัมละ 10-13 บาท หรือ 10,000-13,000 บาท/ตัน ขึ้นอยู่กับคุณภาพและความชื้นเป็นหลัก ซึ่งจะใช้เงิน ประมาณ 40-50 ล้านบาท ซึ่งราคาข้าวดังกล่าว เกษตรกรสามารถอยู่ได้

ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าว่า เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ที่จุดรับซื้อข้าวเปลือกของสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด ตำบลเวียง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ นายทนงศักดิ์ วลัยใจ นายอำเภอพร้าว เป็นประธานเปิดงาน โดยมี น.ส.ดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ นางสุมิตรา อภิชัย สหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมพิธี148394นายนิกร ทะกลกิจ ประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด กล่าวรายงาน วันเกี่ยวข้าวหอมมะลิของดีอำเภอพร้าว นายจำรูญวิทย์ จันนรานนท์ ผอ.กลุ่มส่งเสริมธุรกิจสหกรณ์ ในฐานะผู้จัดการเกษตรแปลงใหญ่จังหวัดเชียงใหม่ชี้แจงความเป็นมา ทั้งนี้มีสมาชิกสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ และเกษตรกรในพื้นที่ร่วมงานจำนวนมาก พร้อมกันนั้นมีเกษตรกรนำข้าวเปลือกมารอขายเป็นขบวนรถหลายคัน นายนิกร ทะกลกิจ ประธานกรรมการสหกรณ์ฯ เปิดเผยว่า ตามโครงการเกษตรแปลงใหญ่ ได้เริ่มเกี่ยวข้าวดอกมะลิ 105 แล้วตั้งแต่บัดนี้ และรับซื้อข้าวจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในราคาตันละประมาณ 13,000 บาท ราคานี้รวมค่าขนส่ง และค่ามาตรฐานการผลิตด้วย ทั้งนี้อยู่ที่ความชื้นหากสูง และมีสิ่งเจือปนก็จะถูกหักออกตามเกณฑ์ที่กำหนด ที่พบในช่วงนี้ข้าวเปลือกมีความชื้นสูงเกินกว่า 28% จะต้องนำไปเข้าลานตากอีกหลายวัน

อย่างไรก็ตาม ผลผลิตข้าวหอมมะลิของสมาชิกสหกรณ์พร้าว และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการส่งเสริมให้ปลูกแบบข้าวอินทรีย์ลดใช้สารเคมี และได้รับมาตรฐาน GAP จากกรมการข้าว รวมทั้งได้รับปัจจัยการผลิตจากหน่วยงานราชการต่างๆ ที่มาร่วมสนับสนุน ทำให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตลง และมีความพึงพอใจในราคาที่ได้รับ ทั้งนี้ การที่ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิพร้าว มีราคาสูงกว่าพื้นที่อื่น เนื่องจากอำเภอพร้าวเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำแม่งัด เหมาะสมกับการปลูกข้าวคุณภาพดี สำหรับการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่ปีนี้มีสมาชิกร่วมโครงการ 435 ราย พื้นที่ปลูก 6,760 ไร่ พร้อมกับการเปิดงานวันเกี่ยวข้าว สหกรณ์ร่วมกับโครงการนาแปลงใหญ่ ได้ร่วมกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ เปิดธนาคารสินค้าเกษตรในสถาบันเกษตร ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้เลือกสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด เป็นหนึ่งจำนวน 10 แห่งด้วย และนับจากนี้ไปจนถึงสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยว ได้เปิดจุดรับซื้อข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2559/60 ทุกวัน2%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%b2ทางด้าน นายทนงศักดิ์ วลัยใจ นายอำเภอพร้าว กล่าวว่าน่ายินดีที่เกษตรกรทั้งที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ และเกษตรกรทั่วไปที่เข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ ได้ขายข้าวเปลือกในราคาที่ค่อนข้างดี ขณะเดียวกันตามโครงการนี้ได้รับปัจจัยการผลิตหลายอย่าง ทำให้ลดต้นทุนการผลิตลง นอกจากมีการเปิดจุดรับซื้อข้าวเปลือกแล้ว ยังได้เปิดธนาคารข้าวสถาบันเกษตรกรขึ้น เชื่อว่าปัญหาข้าวของชาวนาอำเภอพร้าวไม่มี การที่จังหวัดเชียงใหม่ได้เลือกพื้นที่อำเภอพร้าวเป็นแปลงต้นแบบผลิตข้าวหอมมะลิ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ทำให้เห็นผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม ทั้งการเพิ่มโอกาสการแข่งขันให้กับสินค้าเกษตร การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้มากขึ้น และข้าวมีคุณภาพดีอีกด้วย

นางสุมิตรา อภิชัย สหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ได้มาร่วมงานวันเกี่ยวข้าวของเกษตรกรอำเภอพร้าว พร้อมกับเปิดธนาคารข้าวสถาบันเกษตรกรขึ้น ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์สนับสนุน เห็นการรับซื้อข้าว ตรวจสภาพคุณภาพข้าวตามกระบวนการรับซื้อ และสอบถามเกษตรกรต่างก็พึงพอใจ ที่ได้ขายข้าวในราคาไม่ตกต่ำเกินไป เพราะได้สูงสุดถึงตันละ 13,000 บาท ทั้งนี้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดฯ ยังสนับสนุนให้สหกรณ์การเกษตรฝาง-สันป่าตอง-ดอยสะเก็ด และแห่งอื่นๆ เปิดจุดรับซื้อข้าวเปลือกนาปีทั้งข้าวเจ้า และข้าวเหนียวไปพร้อมกัน นอกจากนั้นยังได้สนับสนุนให้สหกรณ์การ เกษตรต่างๆ นำข้าวสารถุงออกจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและดึงราคาข้าวเปลือกให้สูงขึ้น

ทางด้าน นายจำรูญวิทย์ จันนรานนท์ ผู้จัดการนาแปลงใหญ่จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ผลสัมฤทธิ์ของโครงการนี้เป็นที่ประจักษ์ว่าทำให้เกษตรกรได้รับปัจจัยการผลิตตั้งแต่ต้น จนถึงวันเก็บเกี่ยว โดยได้รับการสนับสนุนรถเกี่ยวข้าว 2 คัน รถบรรทุก 1 คัน ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง และราคาข้าวเปลือกก็สูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งอำเภอพร้าวจะเป็นต้นแบบอย่างดีให้เกษตรกรพื้นที่อื่น ได้เข้ามาร่วมโครงการต่อไป นายจำรูญวิทย์ กล่าวอีกว่า สำหรับการสนับสนุนการตลาดจำหน่ายข้าวสารของสหกรณ์การเกษตรต่างๆ นั้น ล่าสุด สายวันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 นายทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ได้ร่วมสนับสนุนให้เปิดจุดขายข้าวสารคุณภาพดี ที่หน้าสำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่อีกหนึ่งแห่ง ซึ่งจะเปิดขายตั้งแต่เวลา 09.00 น.เป็นต้นไปทุกวัน พร้อมกันนั้นสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ เชียง ใหม่-ลำพูน จำกัด ก็นำไข่ไก่มาจำหน่ายแก่พ่อค้าแม่ค้า ที่ไปจับจ่ายซื้อของที่ตลาดเมืองใหม่ใกล้สำนักงานเทศบาลฯด้วย…เสน่ห์ นามจันทร์…รายงาน

ร่วมแสดงความคิดเห็น