เชียงใหม่ระดมกำลัง หนุนเศรษฐกิจดิจิทัล นำร่องโครงการ Digital Lanna หวังพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล

b-5

444

โครงการที่จัดขึ้นนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจะประสบผลสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องมีรากฐานที่แข็งแกร่ง ประกอบไปด้วยบุคลากรที่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องของเศรษฐกิจดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตบุค ลากร หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งหากมีการบูรณาการร่วมกันแล้ว เชื่อว่าจะช่วยให้ความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศดีขึ้น และหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง (middle-income-trap) อย่างแน่นอน ตามแผนยุทศาสตร์ของรัฐบาล นอกเหนือจากนี้ กิจกรรมการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัล กับอุตสาหกรรมอื่นๆที่มีศักยภาพของ จ.เชียงใหม่ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากยังมีผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงวิสาหกิจชุมชนอีกเป็นจำนวนมาก ที่ต้องการความช่วยเหลือในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการเหล่านี้สามารถไปแข่งขันในตลาดโลกได้

วิทยาลัยศิลปะสื่อฯ มช. จับมือหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน นำร่องโครงการ Digital Lanna หนุนเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัล ให้แก่ นักศึกษา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชนและประชาชนทั่วไป หวังให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐและภาคการศึกษา เพื่อเชื่อมโยงความต้องการระหว่างอุตสาหกรรมและรวบรวมฐานข้อมูลของอุตสาหกรรมดิจิทัล ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เพิ่มศักยภาพและมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสินค้าและบริการ พร้อมเดินหน้าสร้างศูนย์บริการเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ภาคเหนือ

วิทยาลัยศิลปะสื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการสนับสนุนงบบูรณาการจากกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดทำโครงการบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ “Digital Lana” ภายใต้โครงการพัฒนาเศรษฐกิจลานนา (Lana Digital Economy) โดยได้จัดงานสัมมนา Tech Entrepreneur สำหรับนักศึกษา (ครั้งที่ 1) ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิด มี ผศ.ดร.ปิติพงษ์ ยอดมงคล คณบดีวิทยาลัยศิลปะสื่อ และเทคโนโลยีฯ กล่าวต้อนรับ อ.ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ รองคณบดี ฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี ฯ กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุม CGV 1 โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว

ภายในงานได้มีการบรยายพิเศษจากวิทยากรหลากหลายท่าน ได้แก่ การบรรยายพิเศษหัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจสำหรับผู้ประกอบรุ่นใหม่” โดย ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการเตรียมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม , การบรรยายหัวข้อ “ระบบนิเวศน์ของ Tech Startup” โดย นางสาวอรวี สมิทธิผล จาก Techsauce , การบรรยายหัวข้อ “Smart City” โดยนายพงษ์ศักดิ์ อริยะจิตไพศาล ผู้จัดการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ เชียงใหม่ , และการบรรยายหัวข้อ “Technology Trends 2017” โดยนายนที แสง จาก Maker Space

โดยนายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จ.เชียงใหม่ถือเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางของภาคเหนือ และอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งภาครัฐได้ให้ความสำคัญพร้อมผลักดันให้มีการพัฒนาในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการพัฒนาด้านสังคม เศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตประชาชน การผลิตทรัพยากร การพัฒนาบุคลากรเพื่อยกระดับตลาดเศรษฐกิจของภาคเหนือ การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการด้านการท่องเที่ยว เพื่อตอบสนองตลาดนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ทั้งยังเป็นแหล่งรวบรวมบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และหน่วยงานทั้งภาครัฐ/เอกชน ที่เข้มแข็งอยู่เป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันประเทศไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาชุมชนให้เป็น Smart City และโยงไปถึงการสร้าง Digital Economy สนับสนุน Start-Up ในด้านดิจิทัลให้เกิดขึ้นในทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ จ.เชียงใหม่เองก็ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้เช่นกัน และพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางของภาคเหนือ ในการขับเคลื่อนตลาดเศรษฐกิจระดับภาคให้ไปสู่ระดับประเทศ และยกระดับสู่นานาชาติต่อไป

รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต่อว่า ซึ่งโครงการที่จัดขึ้นนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจะประสบผลสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องมีรากฐานที่แข็งแกร่ง ประกอบไปด้วยบุคลากรที่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องของเศรษฐกิจดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตบุค ลากร หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งหากมีการบูรณาการร่วมกันแล้ว เชื่อว่าจะช่วยให้ความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศดีขึ้น และหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง (middle-income-trap) อย่างแน่นอน ตามแผนยุทศาสตร์ของรัฐบาล นอกเหนือจากนี้ กิจกรรมการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัล กับอุตสาหกรรมอื่นๆที่มีศักยภาพของ จ.เชียงใหม่ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากยังมีผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงวิสาหกิจชุมชนอีกเป็นจำนวนมาก ที่ต้องการความช่วยเหลือในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการเหล่านี้สามารถไปแข่งขันในตลาดโลกได้

เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในภาคเหนือในปัจจุบันด้วยแนวคิดเศรษฐกิจดิจิทัล
ขณะที่ ผศ.ดร.ปิติพงษ์ ยอดมงคล คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยีฯ กล่าวว่า “งานสัมมนา Tech Entrepreneur สำหรับนักศึกษา ภายใต้โครงการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลลานนา (Lanna Digital Economy) ถือเป็นโครงการบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ และได้รับการสนับสนุนงบบูรณาการ ประจำปี 2560 จากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในภาคเหนือในปัจจุบันด้วยแนวคิดเศรษฐกิจดิจิทัล มช.ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีวัตถุประสงค์หลักในการเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่บุคลากรที่สนับสนุนอุตสาหกรรมและชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือ โดยได้ก่อตั้งวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยีขึ้น เพื่อบูรณาการสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Industry) เช่น วิศวกรรมซอฟต์แวร์ แอนนิเมชัน การจัดการสมัยใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในท้องถิ่น

นอกจากนี้ มช.ยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายในท้องถิ่น จำนวน 12 มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันบูรณาการองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไปช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ ในภูมิภาค ให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้ และนอกจากนี้ยังได้ร่วมกันเสริมสร้างนักศึกษาและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ให้สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง

จัดตั้งศูนย์บริการเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อ อุตสาหกรรม (ภาคเหนือ) เพื่อเชื่อมโยงความต้องการระหว่างอุตสาหกรรมและรวบรวมฐานข้อมูลของอุตสาหกรรมดิจิทัล

ด้าน ดร. ภาราดร สุรีย์พงษ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการเศรษฐกิจดิจิทัลลานนา (Lana Digital Economy) ว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย วิทยาลัยศิลปะ สื่อ เเละเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการสนับสนุนงบบูรณาการจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดทำโครงการบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ Digital Lanna ภายใต้โครงการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลลานนา (Lanna Digital Economy) โดยได้จัดงานสัมมนา Tech Entrepreneur สำหรับนักศึกษาเป็นครั้งแรก เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในภาคเหนือด้วยแนวคิดเศรษบกิจดิจิทัล ยกระดับเศรษฐกิจประเทศไปสู่ระดับนานาชาติ โดยกิจกรรมมจะสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัลบูรณาการร่วมกับภาคการศึกษา และอุตสาหกรรมอื่นๆที่มีศักยภาพของจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลคอนเทนท์ในการนำไปช่วยพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรม

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยที่ราชการจัดขึ้นในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่บุคลากรและสนับสนุนอุตสาหกรรมและชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือเป็นหลัก ซึ่งในปี พ. ศ. 2546 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ก่อตั้ง วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี เพื่อบูรณาการสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Industry) เช่น วิศวกรรมซอฟต์แวร์ แอนิเมชั่น เกมส์ การจัดการสมัยใหม่ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในท้องถิ่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้นำเสนอโครงการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันเน้นการพัฒนากลุ่มแข่งขันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หัตถอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในภาคเหนือ และได้นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และดิจิทัลคอนเทนท์ (Digital Content) ของภาคเหนือ

วิทยาลัย ศิลปะสื่อและเทคโนโลยีจึงมีพันธะกิจหลักในการนำองค์ความรู้ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ ดิจิทัลคอนเทนท์ ไปช่วยเหลือชุมชนและอุตสาหกรรม ผ่านกลไกการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมที่สำคัญและมีบทบาทอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของภาคเหนือ เช่น หัตถกรรม ท่องเที่ยว อาหาร การแปรรูปสินค้าเกษตรและการบริการ อีกจำนวนมาก มีความต้องการให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต การจัดจำหน่ายและการตลาด จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างการบูรการระหว่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมดิจิทัลในพื้นที่ภาคเหนือ มาบูรณาการร่วมกับอุตสาหกรรมอื่นที่มีศักยภาพ พัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนและสังคมได้อย่างแท้จริง

ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นต้องมีการจัดตั้งศูนย์บริการเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อ อุตสาหกรรม (ภาคเหนือ) เพื่อเชื่อมโยงความต้องการระหว่างอุตสาหกรรมและรวบรวมฐานข้อมูลของอุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารและสนับสนุนการให้บริการของศูนย์บริการเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่ออุตสาหกรรม(ภาคเหนือ) นอกจากนี้ยังจำเป็นที่จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจแก่นักศึกษาผู้ประกอบการใหม่ (Startup) ผู้ประกอบการชุมชนและบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อลดช่องว่าง (Gap) ระหว่างอุตสาหกรรมดิจิทัลและอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพอย่างเป็นรูปธรรมและผลกระทบเชิงบวกในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในวิสาหกิจ รวมทั้งการสร้างกิจกรรมนำร่องในการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชนจำนวน 120 ราย

โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้ 1.เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัล ( Digital Industry) )ให้แก่ นักศึกษาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมวิสาหกิจชุมชนและประชาชนทั่วไป 2.เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคการศึกษา เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยนำ ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพ 3.เพื่อศักยภาพของผู้ประกอบการดิจิตอลและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพที่สำคัญของภาคเหนือเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Economic Value-added) ให้กับสินค้าและบริการ

คุณสมบัติของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ สถานภาพของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ:จำนวนกลุ่มเป้าหมายของโครงการ 120 คน จากกลุ่มนักศึกษาปริญญาตรีระดับชั้นปีที่ 3 (เทอมที่ 2) ระดับชั้นปีที่ 4 และนักศึกษาปริญญาโท ในกลุ่มสาขาวิชาการด้าน ร้านเทคโนโลยีสารสนเทศศาสตร์วิศวะคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ อนิเมชั่น เกมส์และดิจิทัลคอนเทนท์ คือสารมวลชนหรือสาขาวิชาที่เทียบเท่าทางคอมพิวเตอร์
ยุคปัจจุบันรัฐบาลเองก็กำลังที่จะพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อก้าวไปสู่สิ่งที่เรียกว่าเป็น “ประเทศไทย 4.0”

ด้าน ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการเตรียมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึงทิศทางของเศรษฐกิจดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ว่า ในยุคนี้เงินที่จะใช้ในการลงทุนก็ไม่ต้องใช้มาก บางครั้งต้องมีการลงทุนในมูลค่ามหาศาล เพื่อให้มีเครื่องมือที่ทันสมัยในการที่จะลองผิดลองถูกเพื่อนำไปสู่การที่สร้างโอกาสให้แก่ตัวผู้ประกอบเอง และระบบแบบนี้จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในยุคปัจจุบัน ซึ่งเทคโนโลยีก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีความสำคัญมากในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ในยุคปัจจุบันรัฐบาลเองก็กำลังที่จะพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อก้าวไปสู่สิ่งที่เรียกว่าเป็น “ประเทศไทย 4.0” ดังนั้นเป้าหมายของประเทศไทย 4.0 จึงมีผลต่อผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่จะสร้างโอกาสให้ได้พัฒนาและปรับปรุงตัวเอง หากจะให้อธิบายความหมายของคำว่า “ประเทศไทย 4.0 ” ก็คือการเปลี่ยนแนวความคิดของการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเดิม และถ้าเป็นในด้านธุรกิจก็จะเป็นการพัฒนาธุรกิจด้วยแนวใหม่ที่อาศัยศักยภาพของการสร้างนวัตกรรม และการสร้างสรรค์บนพื้นฐานของเทคโนโลยี ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยกำลังจะพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไปสู่ยุคของการสร้างมูลค่า ( Value Creation ) ภายใต้อันนี้จำเป็นจะต้องอาศัยศักยภาพของทุกคนในประเทศไทยทั้ง 70 กว่าล้าน จะต้องร่วมมือกันพัฒนาความสามารถในเรื่องการสร้างสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม Innovation and Creativity และประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าผู้ประกอบการจะเลือกสร้างสรรค์ แล้วพาไปสู่การสร้างนวัตกรรมให้เป็นไปตามที่ตลาดต้องการ และอีกประเด็นอยู่ที่ว่าผู้ประกอบเองจะเริ่มทำจากจุดไหน ว่าอะไรที่จะสร้างสรรค์ ผู้ประกอบจะมองอย่างไรให้เป็นเรื่องนวัตกรรม เพราะฉะนั้นก็ต้องกลับมาเรื่องประเทศไทย 4.0 ที่รัฐบาลต้องการพยายามที่จะบอกว่าให้ปรับทุกระบบในประเทศ ให้ไปสู่การที่ผู้ประกอบสามารถที่จะสร้างคุณค่า (Value Creation)

ในปัจจุบันนี้ผู้ประกอบอยู่ในยุคของเศรษฐกิจเพิ่มคุณค่า (Value Creation) ประเทศไทย 4.0 นั้นจะต้องปรับแนวความคิดในเรื่องของการเพิ่มคุณค่าและสร้างคุณค่าไปสู่ระบบเศรษฐกิจหรือระบบธุรกิจที่สร้างคุณค่า ต่างกันแค่เพิ่มคุณค่าและสร้างคุณค่า ดังนั้นหัวใจสำคัญของระบบทิศทางของเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น ก็คือการมุ่งประเด็นไปที่การใช้เทคโนโลยี เพื่อให้ผู้ประกอบทุกคนสามารถที่จะ Create งานร่วมกันได้เพราะฉะนั้นแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในยุคดิจิทัลนั้น อยู่บนพื้นฐานของการ Value Creation และเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการเป็นประเทศไทย 4.0

นอกจากนี้ภายใต้ประเทศไทย 4.0 เรื่อง Economy มีการให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจเพื่อ Create Value ด้วย ซึ่งในยุคนี้ต้องการเปลี่ยนจาก Value added เป็น Value Creation และระบบเศรษฐกิจบนพื้นฐานของ Value Creation นั้นต้องมีมองทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น สินค้าทางด้านการเกษตร ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้หรือบริการต่างๆ ที่อาศัยความรู้ ความสามารถของตัวผู้ประกอบไปทำประโยชน์ให้กับลูกค้าและนี้คือจุดหนึ่งที่ผู้ประกอบจะเริ่มเห็นโอกาสในการใช้เทคโนโลยี เพื่อยกระดับขึ้นไปสู่ Startup เพราะต้องอาศัยเทคโนโลยีค่อนข้างมาก เมื่อเป็นเช่นนี้สินค้าในยุคสมัยใหม่เป็นเพียงองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการบริการขึ้นมา และถ้าผู้ประกอบสามารถทำให้เสริม Value ให้กับผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น ผู้บริโภคก็จะเพิ่มมากขึ้นเพราะว่าเขาสนใจเรื่องคุณค่า การที่ผู้ประกอบพยายามที่จะเพิ่มคุณค่าให้มากขึ้นและสร้างคุณค่าให้มากขึ้นนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ในทิศทางของเศรษฐกิจดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่

หน่วยงานการศึกษาได้มีส่วนร่วมที่ผลักดัน Start Up มากขึ้น

ด้านนางอรวี สมิทธิผล จาก Techsauce ได้กล่าวในเรื่องของระบบนิเวศของ Tech Startup ว่า เรื่องระบบนิเวศของ Start up หลายคนอาจจะรู้จักว่าระบบนิเวศ มาจากวิชาชีววิทยา ทั้งนี้ “Start Up” คือการเริ่มต้นธุรกิจเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด มีวิธีสร้างรายได้ที่สามารถหาเงินแบบทำซ้ำและขยายได้ง่ายนั่นเอง ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเห็นโอกาสที่ยังไม่มีใครเคยเห็น เช่น แอพพลิเคชั่นเคลมประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุด้วยตัวเอง แอพพลิเคชั่นรวมที่จอดรถ เป็นต้น และบรรยายถึง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ สตาร์ทอัพ และจะปิดท้ายด้วยการ สรุปข่าว และสถานการณ์ทั้งหมดในช่วงปีที่ผ่านมา Start Up จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกัน กับหน่วยงานหลายๆส่วนเป็นอย่างมาก จะเรียกการพึ่งพาอาศัยแบบนี้ ว่า ระบบนิเวศ หรือว่า Ecosystem การจัด อีเว้นท์ มีความสำคัญทำให้ Techsauce กับ Start Up ได้มาเจอกัน บางทีการทำธุรกิจของตัวเราเองอาจจะไม่มีคนรู้จัก มากนัก การที่มาออกบูธ ประชาสัมพันธ์ แนะนำสินค้า เป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อให้ที่จะได้เจอกับลูกค้าและได้เจอกับ Start Up อื่นๆ งานอีเว้นท์ก็เป็น 1 ในระบบนิวเศที่ทำการสนับสนุน Start Up

ทั้งนี้หน่วยงานการศึกษาได้มีส่วนร่วมที่ผลักดัน Start Up มากขึ้น ก่อนหน้านี้ ความรู้เกี่ยวกับ Start Up ค่อนข้างจำกัด แต่มีหน่วยงานเล็กๆที่แยกออกมา เช่น บ้านอคาเดมี่ ที่สร้างขึ้นเพื่อจัดกิจกรรม มีหลักสูตรสั้นๆ เพื่อเปิดสอน Start Up แบบจริงจัง ความหมายของ Startup คือการเริ่มต้นธุรกิจเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด มีวิธีสร้างรายได้ที่สามารถหาเงินแบบทำซ้ำและขยายได้ง่าย ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเห็นโอกาสที่ยังไม่มีใครเคยเห็น เช่น แอพพลิเคชั่นเคลมประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุด้วยตัวเอง แอพพลิเคชั่นรวมที่จอดรถ เป็นต้น ทั้งนี้ Start Up ที่เริ่มใหม่จะอยู่คนเดียวไม่ได้ จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยหน่วยงานอื่นๆมาส่งเสริมด้วย และ Start Up ต้องหา Start Up ร่วมกันในอุตสาหกรรมหนึ่ง ทั้งนี้ E-commerce อาจจะคิดว่าแค่ใช้ขายของออนไลน์อย่างเดียวคงจบ แต่จริงๆแล้ว E-commerc ไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง การที่จะขายของและส่งของถึงมือของลูกค้าก็ต้องพึ่งพาบริษัทขนส่งด้วยเช่นกัน

ประเภทของ Start Up สามารถแบ่งได้ เป็น 8 ประเภท ประกอบด้วย 1. ธุรกิจ Start Up ด้านการเกษตรและอาหาร (AgriTech & FoodTech) 2. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรมสะอาด (Industry 4.0 & CleanTech) 3. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการศึกษาและการสนับสนุน การทำงานของภาครัฐ (EdTech & Gov Tech) 4. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านอสังหาริมทรัพย์ (Property Tech) 5. ธุรกิจสตาร์ทอัพที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งด้านบริการส่วนบุคคล การท่องเที่ยว และความบันเทิง (Lifestyle : Personal service, TravelTech & Entertainment) 6. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเข้าถึงสินค้า (E-Commerce & Logistics) 7. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเงิน (FinTech) และด้านการให้บริการสำหรับธุรกิจ (Service Enhancement) และ 8. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านสุขภาพ (HealthTech)

“Chiang mai Smart City” ถือเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพสูงและเป็นเทคนิคยุทธ์ศาสตร์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล

ขณะที่นายพงษ์ศักดิ์ อริยะจิตไพศาล ผู้จัดการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ เชียงใหม่ ได้กล่าวถึง “Smart City” ว่า Digital Thailand เป็นเรื่องของ Creative technology หรือ Innovation ซึ่งเป็นคำนิยามที่ใช้ออกแบบการสื่อสาร เป็นการใช้ประโยชน์และความคิดสร้างสรรค์ของเทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวัตกรรมความสามารถให้มีการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และมีการคิดเชิงกลยุทธ์ 1.สร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลความจุสูงทั่วประเทศ 2.กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยี 3.การสร้างคุณภาพและความเท่าเทียมกันในสังคมผ่านช่องทางเทคโนโลยี 4.ที่มีต่อความมั่นคงความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาอย่างยั่งยืน 5.การพัฒนาแรงงานสำหรับยุคดิจิทัล 6. เป็นการสร้างความไว้ใจและความเชื่อมั่นในการใช้งานของเทคโนโลยีดิจิทัล
ซึ่ง “Chiang mai Smart City” ถือเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพสูงและเป็นเทคนิคยุทธ์ศาสตร์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล กล่าวคือเรื่องของการขยายเครือข่ายเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อสามารถใช้บริการและสื่อสารในเรื่องของการทำงานผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้การทำงานมีประสิทธ์ภาพสูงและเป็นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายเชื่อมต่อโดยตรงกับศูนย์กลาง เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ตให้มีเสถียรภาพ และมีความจุเพียงพอรองรับความต้องการของบริษัท และในเรื่องของค่า EE ที่มีการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องของ Wi-Fi Prot โดยมีแผนงาน คือเรื่องของ Boost economy with digital technology เป็นเรื่องของแบบ Platform ข้อมูลกลาง ซึ่งข้อมูลในตอนนี้ทางเชียงใหม่ได้มีสถาบันการศึกษาที่มี Develop workforce เป็นการพัฒนาในเรื่องของกำลังแรงงาน ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในเรื่องของดิจิทัล โดยโครงการ ” Smart City” นั้นมีที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดเชียงใหม่ โดยพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่มีอยู่ 20,107 ตารางกิโลเมตร ต่างกับภูเก็ตที่มีพื้นที่ อยู่ 3 อำเภอ ซึ่งในการทำ Smart Wi-Fi จึงไม่สามารถทำทั้งได้จังหวัด ส่วนจังหวัดเชียงใหม่เองก็ได้มีสถาบันการศึกษาหรือบุคลากรแรงงานที่มีความรู้ในเรื่องของ Digital workforce รวมทั้งหมดอยู่ 8,000 กว่าคน และ เป็นแนวทางที่ออกมาใช้งานได้

ทั้งนี้การผลิต Digital workforce ของบุคลากรแรงงานเป็นไปอย่างไม่ได้มาตรฐานของผู้ประกอบการแต่จะเป็นเรื่องของหลักสูตรการแข่งขันต่างๆ กฎระเบียบต่างๆที่สร้างความมั่นคงปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้วยการกำหนดมาตรฐาน กฎระเบียบ และกติกาให้มีความทันสมัย และมีประสิทธิภาพ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า และการใช้ประโยชน์ ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัลให้มีความทันสมัย สอดคล้องต่อพลวัตของเทคโนโลยีดิจิทัลและบริษัทของสังคมสร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการทำธุรกรรมทางออนไลน์ เช่น การในระบบ CCVV สมาร์ทโฟน กล้องวงจรปิดมาใช้งาน ซึ่งในจังหวัดเชียงใหม่มีอยู่ประมาณ 5,000 กว่าเครื่อง โดยทำการแบ่งออกไปทั้ง เทศบาล ตำรวจ และเอกชน โดย CCTV ยังมีบทบาททั้งในเรื่องของความปลอดภัยในสังคม และช่วยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการบูรณาการพัฒนาหรือการป้องกันและการจับกุมผู้กระทำผิด เพราะทุกครั้งที่เกิดเหตุหรือเกิดปัญหาในเรื่องการกระทำผิด CCTV จะเป็นช่องทางสำคัญในการทำงานสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการจับกุมผู้กระทำความผิด นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางการระดมการขับเคลื่อน เศรษฐกิจทางสังคม “Chiang mai Smart City” เปรียนเสมือนเป็นข้อสรุป ของ Eat-Bein-Well คือ การ

กินดี อยู่ดี มีสุข
กินดี – เป็นการ Smart ที่เน้นในเรื่องของการท่องเที่ยว และ เกษตรกรรม
อยู่ดี – เป็นการ Smart ที่เน้นในเรื่องของการดำรงชีวิต และ การเรียนรู้
มีสุข –เป็นการ Smart ที่เน้นในเรื่องของความปลอดภัย และ สิ่งแวดล้อม

“Technology Trend” คือ แนวโน้มเทคโนโลยีที่จะมาแรงและจะก้าวเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น
และนายนที แสง จาก Maker Space ได้กล่าวถึง “Technology Trend 2017” ว่า ถ้าพูดถึงนวัตกรรม (Innovation) ไม่ได้หมายถึงองค์ใหญ่เพียงอย่างเดียวที่สามารถทำได้ เดิมทีนวัตกรรมจะมีราคาสูงมาก เป็นผลทำให้ผู้ประกอบการ SMEs รายย่อยไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีราคาสูง จึงเป็นมีแต่องค์กรใหญ่ที่ทำได้เพียงอย่างเดียว แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น มีอินเทอร์เน็ตเข้ามา นวัตกรรมจึงมีราคาลดลงมาจากเดิม ทุกคนสามารถทำได้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในองค์กรใหญ่เพียงอย่างเดียวที่ทำได้ จะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำขึ้นมาได้ ในอดีตจะสร้างธุรกิจใหม่ต้องมีการเขียนแผนธุรกิจขึ้นมาและไปที่ Thai VC (Venture Capital) คือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน เป็นธุรกิจที่มีการลงทุนระยะยาวประมาณ 3-5 ปี ซึ่งลงทุนเหมือนเป็นหุ้นส่วนกับเจ้าของกิจการในธุรกิจที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตสูง หลังจากนั้นทางธุรกิจเงินร่วมลงทุนจะให้เงินมาลงทุนธุรกิจ แต่พออินเทอร์เน็ตเข้ามาผู้ประกอบการส่วนมากก็จะไม่เขียนแผนธุรกิจก่อนทำธุรกิจ แต่จะลองทำก่อนพอทำแล้วเห็นว่าดีก็นำไปให้ทาง VC (Venture Capital) คือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน ได้เห็นสิ่งที่ทำ ทางธุรกิจเงินร่วมลงทุนก็ตรวจสอบพร้อมกับร่วมลงทุน ดังนั้น อินเทอร์เน็ตได้เปลี่ยนแปลงทุกอย่าง เพราะว่า นวัตกรรมราคาลดลงด้วย ไม่ต้องรอให้มีเงินถึงทำ แต่สามารถลองทำขึ้นมาก่อนได้
ทั้งนี้ “Technology Trend” คือ แนวโน้มเทคโนโลยีที่จะมาแรงและจะก้าวเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเทคโนโลยีที่ทำให้ธุรกิจค่อยๆ ตอบโจทย์ของเศษฐกิจดิจิทัล ซึ่งขณะนี้โลกเองก็ได้เปลี่ยนไปแล้วในทางอุตสาหกรรม (Industrial) มีการลงทุนเป็นจำนวนมาก สามารถผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เองได้ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ในขณะที่ประเทศอื่นๆ พัฒนาแล้ว สิ่งที่เป็นพื้นฐานที่คนในประเทศไทยมี คือ การออกแบบ การเป็นอุตสาหกรรม มีศักยภาพพอที่จะเป็นผู้ผลิตได้โดยการใช้ความคิดและนำมาพัฒนาเพื่อเป็นสินค้าอาศัยจากการที่ผลิตเพื่อเป็นของที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ที่สามารถทุ่นแรงหรืออำนวยความสะดวกได้

แต่ปัจจุบันการสร้างนวัตกรรมต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ หมั่นสร้างแรงบันดาลใจให้กับตนเอง และยังพบว่ามีการคัดลอกผลงานจำนวนมาก ยิ่งถ้ามีการคัดลอกผลงานมากจะส่งผลให้ประเทศไม่มีการพัฒนา เนื่องจากในอดีตแหล่งเรียนรู้ในยุคเดิมจะเน้นการป้อนความรู้ให้กับผู้เรียน ทำให้อาจจะยังไม่ตอบโจทย์ของการเรียนรู้ด้วยตนเองเท่าใดนัก เพราะความรู้สามารถหาได้ด้วยตนเองจากการใช้เทคโนโลยี สิ่งที่ต้องการมากที่สุดก็คือประสบการณ์ เมื่อมี Maker Space มาผู้ทำธุรกิจจะเป็นผู้ คิด ออกแบบ ผลงานออกมา แนวคิดของแหล่งเรียนรู้ จึงเกิดขึ้นเพื่อรองรับนักนวัตกรรม (Innovator) ที่ต้องการจะมุ่งสู่ความเป็นมืออาชีพเหล่านี้ Maker Space คือสถานที่ที่ผู้คนซึ่งมีความสนใจเดียวกัน เข้ามาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ หรือทำโครงงานร่วมกันให้เกิดขึ้นจริง ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มีความพร้อมสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องไม้เครื่องมือของวิชาชีพนั้นๆ รวมถึงอาจมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาคอยให้คำแนะนำหรือชี้แนะแนวทางการแก้ไขปัญหา

นายพีระพล ขันตี , นายพงษ์ศักดิ์ ติ๊บธง

นักศึกษาฝึกประสบการณ์ สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

นางสาว ศกลวรรณ ใจบุญเรือง, นางสาว สุรัสวดี ดลโสภณ

นักศึกษาฝึกประสบการณ์ สาขาสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา รายงาน

ร่วมแสดงความคิดเห็น