เนรมิตเชียงใหม่สู่เมืองสร้างสรรค์ โกยเงินหมุนเวียนสะพัด

งานเทศกาลเชียงใหม่ดีไซน์วีคครั้งแรกในปี 2014 มีผู้เข้าชมงานกว่า 69,000 คน สร้างรายได้กว่า 169 ล้านบาท และในปีนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าชมเทศกาลเชียงใหม่ดีไซน์วีค 2016 มากกว่า 100,000 คน สร้างรายได้หมุนเวียนกว่า 200 ล้านบาท โดยเป้าหมายของการจัดเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในช่วงปลายปีแล้วนั้น ยังคาดหวังให้เทศกาลดังกล่าว กลายเป็นเทศกาลประจำปี เพื่อตอกย้ำความเป็นเมืองสร้างสรรค์และจุดหมายด้านการออกแบบของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมุ่งเน้นเสริมในเรื่องการมีส่วนร่วมของนักออกแบบ นักสร้างสรรค์ ช่างฝีมือ ผู้ประกอบการและชาวบ้านในพื้นที่มากขึ้น เพื่ออนุรักษ์ทักษะฝีมือช่าง (Craftsmanship) และทุนทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ รวมไปถึงการนำไปต่อยอดสู่ธุรกิจ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการสู่สายตาประชาคมโลก

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เปิด “เชียงใหม่ดีไซน์วีค 2016” ตอกย้ำความเป็นเมืองสร้างสรรค์ของจังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอผลงานออกแบบจากผู้ประกอบการ 128 ราย 6 นิทรรศการงานออกแบบนานาชาติ 8 งานแสดงจัดวาง และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และเพื่ออนุรักษ์ทักษะฝีมือช่าง (Craftsmanship) และทุนทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ พร้อมกันนี้ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ยังได้โชว์ตัวอย่าง 4 กลุ่มอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยความคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่า 200 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ 1. ผลิตภัณฑ์อาหาร (Food) 2. บริการ (Service) 3. เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน (Furniture) 4. เครื่องแต่งกาย (Apparel)คาดมีผู้เข้าชมเทศกาลมากกว่า 100,000 คน สร้างรายได้หมุนเวียนกว่า 200 ล้านบาท

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในการเป็นประธานเปิดงาน “เชียงใหม่ดีไซน์วีค 2016” เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2559 ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เชียงใหม่ ว่า อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่สามารถพัฒนา ต่อยอดให้กลายเป็นอีกหนึ่งจุดแข็งของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมีความได้เปรียบที่มีรากฐานทางศิลปวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นทุนเดิม หากได้รับการส่งเสริม สนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อผลิตเป็นสินค้าและบริการสร้างสรรค์ที่มีกลิ่นอายความเป็นไทย จะสามารถทำให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลกอย่างประสบความสำเร็จ โดยกลยุทธ์ดังกล่าวสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 และกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ในด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน และการกระจายความเสมอภาคและความเท่าเทียมสู่ภูมิภาค โดยหนึ่งในตัวอย่างความสำเร็จของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่เกิดเป็นรูปธรรมคือ การจัดเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทย ผ่านการส่งเสริมและพัฒนาการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะฝีมือ และสินทรัพย์ทางศิลปวัฒนธรรมของไทยต่างๆ มาต่อยอดผลิตเป็นสินค้าและบริการที่โดดเด่น เพื่อนำเสนอสู่สายตาในตลาดโลก
“นับว่าเป็นอีกโอกาส 1 ที่ทางTCDC ได้มาร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ จัดงาน“เชียงใหม่ดีไซน์วีค 2016” (Chiang Mai Design Week 2016)

ในระหว่างวันที่ 3-11 ธันวาคม 2559 โดยมีผู้มาร่วมงานจากหลายภาคส่วนทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงจากต่างประเทศก็มีประเทศอินโดนิเซีย ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟินแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และประเทศฝรั่งเศส ส่วนผู้สนับสนุนก็จะมีจังหวัดเชียงใหม่เอง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (ทีเส็บ) พร้อมด้วยพันธมิตรต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งเรียกว่าเป็นโอกาสอันดีที่ทางผู้ประกอบการเชียงใหม่จะได้พบปะผู้ที่เป็นนักคิด พบปะกับกลุ่มผู้ประกอบการจากทุกภาคส่วนแล้วก็มาบูรณาการในด้านการออกแบบเพื่อที่จะให้เกิดผลงานแล้วต่อยอดไปในทางพาณิชย์ต่อไป ก็จะได้ทั้งในส่วนเศรษฐกิจเรื่องของสังคมและเป็นดอกาสในการที่จะสร้างชื่อเสียงของชาวเชียงใหม่ ทั้งนี้เชียงใหม่เองเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าทางด้านฝีมืออยู่แล้วก็จะได้ใช้ฐานความรู้ที่มีอยู่มาเพิ่มเติมในด้านของความคิดสร้างสรรค์นำไปสู่การเพิ่มยอดขายและก็เป็นสากลมากขึ้นด้วย” พลอากาศเอก ประจิน กล่าวและว่า

อยากจะบอกว่าเรื่องของครีเอทีฟดีไซน์เป็นเรื่องของการสร้างสรรค์ในเรื่องของเชิงความรู้สร้างสรรค์ในด้านของการวิจัยและนวัตกรรมและสร้างสรรค์ในเชิงพาณิชย์ซึ่งทางรัฐบาลจะบูรณาการกันทุกมิติทั้งนี้เพื่อให้โอกาสกับผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสตาร์ทอัพหรือกลุ่มเอสเอ็มอีนั้นได้เข้าถึงเรื่องความรู้ได้เข้าถึงการออกแบบผลผลิตใหม่ๆ โดยค่อยๆผลักดันทุกภาคส่วนจากส่วนกลางเช้ามาผู้ประกอบการในภูมิภาคโดยเฉพาะในท้องถิ่นในชุมชน ในขณะเดียวกันเราก็วางทางด้านเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามารองรับด้วยเพื้่อให้คนเข้าถึงโอกาสการเรียนรู้โอกาสการใช้เทคโนโลยีเพื่อที่จะเผยแพร่ผลงานออกไป อย่างไรก็ตามต้องใช้เวลาอย่างน้อยกว่า 1 ปีผลจะสามารถชี้วัดได้ เราก็จะประเมินใน 3 เดือนข้างหน้าอีกครั้งหนึ่ง

b-2
ด้าน นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กล่าวว่า ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ได้จัดเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ หรือเชียงใหม่ดีไซน์วีค 2016 ขึ้นอีกครั้งเพื่อต่อยอดความสำเร็จจากครั้งแรกในปี พ.ศ. 2557 โดยในปีนี้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ครอบคลุม 2 พื้นที่สำคัญในตัวเมืองเชียงใหม่ โดยมีจุดศูนย์กลางสำคัญอยู่ที่บริเวณโดยรอบอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ศูนย์กลางเมืองเก่าที่มั่งคั่งไปด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและวิถีชีวิตอันหลากหลาย อันประกอบไปด้วยหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ หอภาพถ่ายล้านนา พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ฯลฯ ไปจนถึงย่านอันเป็นที่ตั้งของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเชียงใหม่ (TCDC Chiang Mai) จุดรวมความรู้ด้านการออกแบบที่ทันสมัย โดยพื้นที่ดังกล่าวได้รับการเนรมิตให้ถ่ายทอดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

การแสดงผลงานออกแบบ (Design Showcase) จากนักออกแบบ ผู้ประกอบการธุรกิจและร้านค้าสร้างสรรค์ 128 ราย ที่ร่วมออกบูธจัดแสดงผลงานและอัพเดทคอลเลคชั่นใหม่ เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ ขยายช่องทางธุรกิจใหม่ๆ และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้แก่นักออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์

การจัดแสดงผลงานออกแบบนานาชาติ (International Exhibition) รวบรวม 6 ผลงานออกแบบจากนักคิด นักสร้างสรรค์ชาวฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ และอินโดนีเซีย อาทิ TRANSFER(S) นิทรรศการที่เล่าถึงเวิร์กช็อปสร้างสรรค์ระหว่างนักออกแบบไทยและฝรั่งเศสที่มีรากฐานจากทักษะงานฝีมือท้องถิ่นของไทย โดยนิทรรศการผลงานออกแบบนานาชาติทั้งหมดจะถูกจัดแสดง ณ บริเวณศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเชียงใหม่ (TCDC Chiang Mai)

งานชุมนุมทางความคิด (Conference) เวทีเสวนาเจาะลึก 8 หัวข้อพิเศษด้านการออกแบบที่รวบรวมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างสรรค์ การออกแบบเฉพาะทาง จากทั้งในประเทศและต่างประเทศทั้งหมด 53 ท่าน มาร่วมพูดคุยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการออกแบบ อาทิ เวทีเสวนาโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านขององค์กร UNESCO (Urban Development towards UNESCO Creative City & Crafts and Community) โดยวิทยาการผู้เชี่ยวชาญจากเมืองไทเป และเมืองชัยปุระ จากภาครัฐ ภาควิชาการและภาคปฏิบัติ

งานเสวนา (Talk) กิจกรรมเสวนา 13 หัวข้อเพื่อแลกเปลี่ยนไอเดีย มุมมอง และแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างนักคิด นักสร้างสรรค์ นักเรียน ช่างฝีมือ และผู้ประกอบการ อาทิ เสวนาหัวข้อ “ต่อยอดธุรกิจและวัตถุดิบท้องถิ่น ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ” (Design Thinking towards Local Business) โดย 3 นักออกแบบและผู้ประกอบการสินค้าหัตถกรรมท้องถิ่น

กิจกรรมเวิร์กช็อป (Workshop) 22 เวิร์กช็อป เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสร้างสรรค์และการออกแบบสาขาต่างๆ อาทิ เวิร์กช็อป “กระบวนการนำเศษวัสดุมาออกแบบเชิงสร้างสรรค์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ในรูปลักษณ์ใหม่” (Upcycling Design Trend & Eco-Marketing Tool) โดย ผศ.ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง และรศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต

การแสดงงานจัดวาง (Installation) จัดแสดง 8 ผลงาน กระจายอยู่รอบเมืองเพื่อสร้างบรรยากาศความเป็นพื้นที่สร้างสรรรค์และสภาพแวดล้อมด้านดีไซน์แบบร่วมสมัยให้กับนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจได้ร่วมสัมผัสและเก็บภาพประทับใจ โดยมีไฮไลท์คือ “ริน” (Pour) ประติมากรรมโครงเหล็กรูปทรงกระบอกสานจำลองภาพเจดีย์ทราย หนึ่งในสิ่งปลูกสร้างคุ้นตาของวัดดวงดี สร้างสรรค์โดย นายเจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์ ศิลปินจัดวางแบบเจาะจงพื้นที่

กิจกรรมป๊อปมาร์เก็ต (Pop Market) 134 ร้านค้าในตลาดนัดสินค้าไอเดียและดีไซน์โดดเด่น ที่คัดสรรจากบรรดา ผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักเรียนด้านการออกแบบ และช่างฝีมือ รวบรวมมาเป็นตลาดนัดสุดชิค ณ ใจกลางเมืองเชียงใหม่ บริเวณลานยุ้งข้าว ตรงข้ามวัดเชียงมั่น ตลอดช่วงวันหยุด 9 – 11 ธันวาคม

กิจกรรมอื่นๆ (Event) ที่จัดขึ้นเพื่อเติมเต็มบรรยากาศความเป็นเมืองสร้างสรรค์ของจังหวัดเชียงใหม่ อาทิ กิจกรรมทัวร์หลงเชียงใหม่ โดยกลุ่ม 50 MM Club เจ้าของเพจเฟซบุ๊ค “หลงเชียงใหม่” กิจกรรมชมภาพยนตร์สารคดี โดย Documentary Club และ Punya Movie Club

444

นายอภิสิทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในงานดังกล่าวยังมีการนำเสนอตัวอย่างผลงานจากการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการของตนเอง ใน 4 ผู้ประกอบการตัวอย่างใน 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการ ได้แก่ 1. ผลิตภัณฑ์ปรุงอาหารสำเร็จ อีสคิทเช่น กลุ่มอาหาร (Food) 2. โอเอซิสสปา กับบริการนวด “เดอะโวยาดออฟโกลเด้นล้านนา” กลุ่มบริการ (Service) 3. เฟอร์นิเจอร์ขนมใส่ไส้แบรนด์โมเบลลา กลุ่มเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน (Furniture) และ 4. จรรยา สตูดิโอ กับกระเป๋าไผ่ผสมฝ้ายปั่นมือและไหม กลุ่มเครื่องแต่งกาย (Apparel) โดยผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้ประกอบการที่สามารถนำความคิดสร้างสรรค์สอดแทรกเข้าไปในกระบวนการคิดและพัฒนาผลิตภัณฑ์อันนำมาซึ่งผลลัพธ์ในการเพิ่มมูลค่ามากกว่า 200 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งบางรายสามารถเพิ่มยอดขาย ขยายตลาดไปยังกลุ่มตลาดต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้หากทุกกลุ่มอุตสาหกรรมของประเทศไทยสามารถนำความคิดสร้างสรรค์มาเป็นองค์ประกอบหลักในการพัฒนาธุรกิจจะทำให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามผ่านประเทศรายได้ปานกลางสู่ประเทศไทยสูงตามยุทธศาสตร์ของประเทศ

ทั้งนี้ งานเทศกาลเชียงใหม่ดีไซน์วีคครั้งแรกในปี 2014 มีผู้เข้าชมงานกว่า 69,000 คน สร้างรายได้กว่า 169 ล้านบาท และในปีนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าชมเทศกาลเชียงใหม่ดีไซน์วีค 2016 มากกว่า 100,000 คน สร้างรายได้หมุนเวียนกว่า 200 ล้านบาท โดยเป้าหมายของการจัดเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในช่วงปลายปีแล้วนั้น ยังคาดหวังให้เทศกาลดังกล่าว กลายเป็นเทศกาลประจำปี เพื่อตอกย้ำความเป็นเมืองสร้างสรรค์และจุดหมายด้านการออกแบบของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมุ่งเน้นเสริมในเรื่องการมีส่วนร่วมของนักออกแบบ นักสร้างสรรค์ ช่างฝีมือ ผู้ประกอบการและชาวบ้านในพื้นที่มากขึ้น เพื่ออนุรักษ์ทักษะฝีมือช่าง (Craftsmanship) และทุนทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ รวมไปถึงการนำไปต่อยอดสู่ธุรกิจ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการสู่สายตาประชาคมโลก นายอภิสิทธิ์ กล่าวสรุป

ขณะที่นายประจวบ กันธิยะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเสริมว่า จังหวัดเชียงใหม่ให้การสนับสนุนโดยประชุมหัวหน้าส่วนราชการทุกเดือนก็ได้ให้ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)ไปเสนอผลงานความก้าวหน้าเรื่องการออกแบบทุกเดือน งาน“เชียงใหม่ดีไซน์วีค 2016” ในครั้งนี้จังหวัดเชียงใหม่เองก็ได้ให้การสนุบสนุนและอำนวยความสะดวกทุกรูปแบบ b-3

“พลิกโฉมอาหารไทย จากมรดกทางวัฒนธรรม สู่ความเป็นสากล ส่งผ่านคุณค่าจากงานดีไซน์”

ด้านผู้เข้าร่วมจัดแสดงในงานนิทรรศการก็มีหลากหลายสาขา โดยมีกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจ คือ เครื่องแกงอีสคิทเช่น (East Kitchen) ซึ่งนำโดยนายสมิต ทวีเลิศนิธิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด “ผมจะทำอาหารเอเชียให้คนทั้งโลกปรุงได้อร่อย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนของโลกก็ตาม” คุณสมิตพูดถึงแนวคิด และความเป็นมาของผลิตภัณฑ์เครื่องแกงอีสคิทเช่น ที่ไม่เพียงแค่พลิกโฉมบรรจุภัณฑ์สินค้าภายนอก แต่ยังคำนึงถึงการออกแบบเพื่อใช้งานที่ง่าย และไม่ว่าใครก็สามารถปรุงอาหารได้อร่อย นอกจากนั้นก็ยังนำเรื่องของการออกแบบมาเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ด้วย
ผู้บริหารหนุ่มซึ่งดูแลทั้งงานออกแบบแบรนด์ บรรจุภัณฑ์ และสูตรผลิต โดยใช้ประสบการณ์ตอนอาศัยอยู่ที่สหรัฐอเมริกา พบว่าผลิตภัณฑ์อาหารไทยและเอเชียในท้องตลาดส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบให้คนต่างชาติใช้งานได้ง่าย ทุกผลิตภัณฑ์ออกแบบด้วยแนวคิด “Inside Looking Out” ซึ่งหมายถึง “การออกแบบด้วยความคุ้นเคยของตนเอง แล้วให้คนอื่นต้องมาทำความเข้าใจเอง” ทั้งที่คนต่างชาติไม่เคยทำอาหารเอเชียมาก่อน จึงเล็งเห็นว่าถ้าเรามองอาหารเอเชียแบบใหม่ด้วยแนวคิด “Outside Looking In” โดยให้คนต่างชาติเป็นศูนย์กลาง จะต้องออกแบบอาหารเอเชียใหม่อย่างไร?

นายสมิต บอกว่า พบวิธีการแก้ไขปัญหา “Inside Looking Out” ของการทำอาหาร ด้วยการเพิ่มการปรับปรุงไปยังผลิตภัณฑ์ที่จะออกแบบใหม่1.ต้องปรุงรสได้สำเร็จในตัวเอง ไม่ต้องปรุงเพิ่ม เพียงแค่ใส่เนื้อสัตว์ ผัก และน้ำสะอาด ใช้เครื่องมือและวิธีการทำอาหารแบบตะวันตกก็ทำได้

2.อาหารที่สำเร็จแล้วจะต้องเหมาะกับการบริโภคด้วยส้อมได้ ถ้าเป็นแกงจะต้องมีลักษณะข้น ไม่เหลว โดยการวิจัยสูตรแป้งที่เหมาะสมลงไป 3.รสชาติจะต้องไม่เผ็ด ให้คนที่ไม่รับประทานเผ็ดรวมถึงเด็กๆสามารถรับประทานได้ โดยใช้พริกให้น้อยลงแต่ยังต้องคงกลิ่นรสของเครื่องเทศสมุนไพรแบบต้นตำรับให้ได้4.ออกแบบอัตลักษณ์และแบรนด์ โดยผสมผสานความเป็นตะวันตก บนแก่นของความเป็นตะวันออก

สำหรับชื่อแบรนด์ East Kitchen หมายถึง ครัวของตะวันออก ใช้ลักษณะอักษรแบบตะวันตก โลโก้ มี 2 สี โดยเปลี่ยนสีของคำว่า east ไปตามอาหารที่หลากหลายของตะวันออก ในโลโก้มีสัญลักษณ์ เข็มทิศลม (wind compass) รูปไก่หันหน้าไปทางขวา หรือทิศตะวันออก ตามความคุ้นเคยของแผนที่ ยืนอยู่ตำแหน่งที่เปรียบเสมือนหลังคาของคำว่า kitchen มี tag line ว่า The Asian Fusion Food

แนวคิดของเขาคืออยากให้ผู้ใช้ได้ลองทำอาหารใหม่ๆ โดยผสมผสานเอารสชาติแบบเอเชียกับวิธีทำอาหารแบบตะวันตกมาแปรเปลี่ยนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และช่วยสร้างความสุขให้กับมื้ออาหารที่บ้านของครอบครัว โดยรสชาติที่นำเสนอคือ ต้มยำ ต้มข่าไก่ แกงเขียวหวาน มัสมั่น พะแนง ผัดเปรี้ยวหวาน และผัดพริกไทยดำ

“สำหรับตลาดกลุ่มเป้าหมายคือตลาดอาหารไทยในต่างประเทศที่ทุกวันนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่มีราคาค่อนข้างแพง คนต่างชาติจึงทำอาหารรับประทานเองที่บ้านไม่ได้ เพราะไม่สามารถหาวัตถุดิบได้ในต่างแดน และไม่รู้ว่ารสชาติต้นตำรับเป็นอย่างไร ทำให้เป็นอุปสรรคในการบริโภค ผลิตภัณฑ์อีสคิทเช่นของเราจึงได้รับการตอบรับดีมากๆ แม้ว่าจะยังเป็นสินค้าต้นแบบ แต่ก็มี Order มาจากอเมริกา และยุโรปมารอซื้อ คาดว่ามูลค่าตลาดจะมากกว่าในประเทศไทย 3-4 เท่า ตั้งเป้ายอดขาย 100 ล้านบาทในอีก 5 ปีข้างหน้า” คุณสมิตกล่าวต่อถึงการทำกิจกรรมการตลาด

“อีกตลาดหนึ่งที่น่าสนใจคือตลาดของฝากจากประเทศไทย มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองไทยปีละ 27 ล้านคน แต่การซื้อของฝากที่เป็นอาหารไทยยังน้อยอยู่ เนื่องจากมีน้ำหนักที่มาก และถ้าต้องปรุงเองในต่างประเทศ ผู้รับของฝากก็คงทำไม่เป็น สินค้าใหม่ของเราทำง่าย อร่อย ไม่ต้องปรุงเพิ่ม มีรสชาติที่อยู่ความนิยม น่าจะกลายเป็นสินค้าของฝากใหม่ที่จะทำให้คนต่างชาติที่ได้รับของฝากอยากมาเที่ยว มาชิม ที่ประเทศไทยมากขึ้นด้วย” นายสมิตกล่าวเพิ่มเติม
สำหรับแผนในอนาคตนายสมิต เล่าให้ฟังถึงแผนว่า “บริษัท นิธิฟู้ดส์ นอกเหนือจากจะผลิตเครื่องเทศคุณภาพสูงส่งตลาดอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรส และสร้างสรรค์แบรนด์สินค้าเครื่องปรุงรสหลากชนิดอย่างต่อเนื่องแล้ว บริษัทฯยังจะมุ่งมั่นสู่การเป็นองค์กรที่ให้บริการด้านรสชาติ (Flavor Research Institute) โดยต่อยอดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารรสชาติต่างๆ ไปสู่การให้บริการทางด้านวิทยาศาสตร์อาหาร โดยเน้นที่การพัฒนาสูตรรสชาติอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ OTOP, SME หรือ บริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำ ทั้งไทยและต่างประเทศ”

ทั้งนี้ บริษัทฯได้รับความร่วมมืออย่างดีกับหน่วยงาน สวทช. และกรมสรรพากร โดยได้รับรองผลงานวิจัยที่บริษัทสร้างสรรค์มา สามารถหักภาษีได้ถึง 300% ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินเรื่องอยู่ คาดว่าจะเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ประกอบการ SME สามารถพัฒนาสูตรอาหารของตนเอง โดยร่วมกับองค์กรที่เข้าถึงง่าย และมีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม

“อย่างไรก็ตามแผนประชาสัมพันธ์ การโฆษณา และส่งเสริมการขาย ยังคงต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ตรงกลุ่มเป้าหมายอย่างแม่นยำ และใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้มาก เพื่อจะได้ใช้งบการตลาดอย่างคุ้มค่า นอกจากนั้น เรายังอยากเป็นตัวอย่างให้ผู้ประกอบการ SME รายอื่นๆลองหันมาทำแบรนด์ สร้างนวัตกรรม สร้างสรรค์งานออกแบบเพิ่มมูลค่า โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกันให้มากขึ้น” นายสมิตกล่าวทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจb-5

ผสมผสานอย่างตัวมัดย้อมสไตล์ญี่ปุ่นกลิ่นอายไทยการออกแบบเทคนิคเฉพาะตัว

อีกหนึ่งแบรนด์น้องใหม่ที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อต้นปี 2559 สำหรับ “Slowstitch” โดย “กรรณชลี งามดำรงค์” อดีตดีไซเนอร์เทกซ์ไทล์แห่ง Beyond Living ที่หันมาบุกเบิกแบรนด์ของตัวเอง จากการใช้เทคนิค Shibori (ชิโบริ : เทคนิคการมัดย้อมสไตล์ญี่ปุ่น) ย้อมครามธรรมชาติแท้ ๆ เมื่อนำมาผสมผสานกับเทคนิคเฉพาะตัวของเธอ จึงเกิดเป็นลวดลายแปลกใหม่ที่แฝงไปด้วยกลิ่นอายท้องถิ่นแบบไทยร่วมสมัย

ด้วยเทคนิคมีความละเอียดสูง และเป็นงานแฮนด์เมดทุกชิ้น ทำให้ลูกค้าของแบรนด์จำกัดเฉพาะกลุ่มชาวต่างชาติ โดย “Slowstitch” เตรียมสร้างสรรค์ผ้าผืนใหม่ออกมาเป็นศิลปะประดับผนัง เพื่อเป็นผลงานมาสเตอร์พีซ สำหรับแสดงในงาน Chiang Mai Design Week 2016 โดยเฉพาะ b-4
เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ (Chiang Mai Design Week 2016) New Originals: Young talents propose new interpretations of their origin and culturesสีสันของงานออกแบบจากอัจฉริยภาพท้องถิ่น 3 – 11 ธันวาคม 2559

เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ หรือ Chiang Mai Design Week (CMDW) คือเทศกาลที่บรรดานักออกแบบ ช่างฝีมือ ศิลปิน นักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการ กลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในเมืองเชียงใหม่ ได้ร่วมกันจัดขึ้นเป็นโอกาสพิเศษในทุกๆ ปี เพื่อนำเสนอนวัตกรรมด้านงานออกแบบหรือโปรเจกต์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจ ตลอดจนเพื่อเป็นพื้นที่ในการสนทนาแลกเปลี่ยนมุมมองและความรู้ด้านการออกแบบ ทั้งยังเป็นเทศกาลที่เชื้อเชิญนักออกแบบจากภูมิภาคอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ จัดแสดงผลงาน และขยายช่องทางธุรกิจสร้างสรรค์ไปพร้อมกัน

Chiang Mai Design Week ไม่ได้จำกัดอยู่ที่นักออกแบบหรือผู้ที่ทำงานสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญต่อการสร้างประสบการณ์ร่วมกับงานออกแบบไปสู่กลุ่มเด็ก เยาวชน ชุมชน นักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจงานสร้างสรรค์ ด้วยกิจกรรมหลากรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะ เช่น นิทรรศการ โปรเจ็กต์งานออกแบบขนาดใหญ่ งานแสดงศิลปะและดนตรีที่สอดรับไปกับวิถีชีวิตสมัยใหม่อันผูกพันกับงานออกแบบสร้างสรรค์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมบรรยากาศความมีชีวิตชีวาของเมืองและเน้นย้ำภาพลักษณ์ความเป็นเมืองสร้างสรรค์ที่มาจากพื้นฐานทางศิลปวัฒนธรรมและทักษะฝีมือช่างอันเข้มแข็งของเมืองเชียงใหม่

ในปีนี้ เชียงใหม่ดีไซน์วีค 2016 จะเกิดขึ้นบน 2 พื้นที่สำคัญ คือ ย่านอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ และบริเวณ TCDC เชียงใหม่ โดยในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิดหลัก New Originals ที่เล่าเรื่องของการหยิบจับอัตลักษณ์ดั้งเดิม อัจฉริยภาพท้องถิ่น และทักษะเชิงช่าง มาผสานเข้ากับแนวคิดทางการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์สมัยใหม่
กิจกรรมต่างๆ ของเชียงใหม่ดีไซน์วีค 2016 มีดังนี้่ 1. การแสดงผลงานออกแบบ (Design Showcase) 2. การจัดแสดงผลงานออกแบบนานาชาติ (International Exhibition) 3. งานชุมนุมทางความคิด (Conference) 4.งานเสวนา (Talk) 5.กิจกรรมเวิร์กช็อป (Workshop) 6.การแสดงงานจัดงาน (Installation) 7.ป๊อปมาร์เก็ต (Pop Market) และกิจกรรมอื่นๆ (Event)

444

ร่วมแสดงความคิดเห็น