ตัวแทนชาวบ้านหอบรายชื่อ 250 ราย ร้องผู้ว่าฯค้านจัดวันเวย์สะพานป่าแดด

วันที่ 6 ธ.ค.59 เวลา 09.30 น. ที่ศูนย์ดำรงธรรม จ.เชียงใหม่ นางอรพิน โนจิตร ซึ่งเป็นตัวแทนชาวบ้าน ต.ป่าแดด อ.เมืองเชียงใหม่ เข้ายื่นหนังสือถึง ผวจ.เชียงใหม่ เรื่องขอร้องเรียนและคัดค้านการปรับปรุงการเดินรถใต้สะพานป่าแดดใต้ โดยมีบัญชีรายชื่อราษฎรที่ร่วมกันลงชื่อเพื่อยื่นหนังสือดังกล่าว แนบท้ายหนังสือกว่า 11 แผ่น มากกว่า 250 รายชื่อimg_2005
ทั้งนี้หนังสือระบุว่า ด้วยข้าพเจ้าผู้มีลายมือชื่อท้ายหนังสือฉบับนี้ และไม่มีลายชื่อซึ่งอาศัยเส้นทางสายป่าแดด-วังสิงห์คำ และนอกเขต ต.ป่าแดด ซึ่งเคยใช้เส้นทางทั้งสายเลียบแม่น้ำปิง และเส้นทางเส้นที่ผ่านหน้าวัดป่าแดด เพื่อเดินทางสัญจรไปทำงาน ส่งลูกหลานไปศึกษาเล่าเรียนในตัวเมืองเชียงใหม่ ได้รับความเดือดร้อนจากการใช้เส้นทางดังกล่าวทั้งขาไปและขากลับ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่มีการปรับเปลี่ยนการเดินรถ บริเวณใต้สะพานป่าแดด โดยขอคัดค้านการบังคับตามกฎจราจร เพื่อให้ยกเลิกการจัดการเดินรถบริเวณใต้สะพานป่าแดด ซึ่งได้ทดลองเดินรถแบบใหม่ได้มาราว 8-9 วัน ซึ่งจากการประเมินแล้วได้ประโยชน์แค่ไม่เกินร้อยละ 7 เท่านั้น พร้อมกันนี้ได้มีการยกเหตุผลประกอบอีก 7 ประการ

%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99_9532 %e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99_20
โดย นางอรพิน โนจิตร แจงว่า ถนนเลียบแม่น้ำปิงสายนี้มีมาตั้งแต่บ้านน้ำโท้ง ต.สบแม่ข่า อ.หางดง รวมถึงมาได้ทั้งจากพื้นที่ อ.สารภี ด้วย หลายคนใช้เส้นทางนี้เพื่อผ่านเข้าตัวเมืองเชียงใหม่ ทั้งไปทำงานและไม่ส่งบุตรหลานไปเรียนหนังสือ ส่วนหนึ่งจะใช้ถนนเลียบแม่น้ำปิงไปตลอดสาย และมีอีกส่วนหนึ่งที่ใช้ถนนซอยเส้นที่ผ่านหน้าวัดป่าแดด เพื่อจะไปออกซอยเจ้าแม่กวนอิมและสู่ถนนมหิดลได้ โดยจะต้องเลี้ยวซ้ายบริเวณถนนคู่ขนานสะพานป่าแดดด้านทิศเหนือ ตรงนี้จะเป็นการบรรเทาจำนวนรถ ที่ต้องการจะเลี้ยวซ้ายบนถนนมหิดล ซึ่งไม่ต้องแออัดบนถนนเลียบแม่น้ำปิงแค่เส้นเดียว และไม่จำเป็นต้องไปผ่านโรงเรียนพิมานเด็กซึ่งมีปริมาณรถเป็นจำนวนมากด้วย

“ขณะนี้ไม่สามารถเลี้ยวซ้ายเข้าถนนคู่ขนานกับสะพานด้านทิศเหนือได้ การที่ต้องการจะเลี้ยวเข้าซอยนี้ต้องไปกลับรถที่จุดกลับหน้าสนามฟุตบอลแล้วจึงจะกลับมาเลี้ยวได้ นอกจากนี้ยังมีอีกซอยที่ถัดขึ้นไป ซึ่งจะช่วยระบายรถไปยังถนนเชียงใหม่-หางดงได้ โดยจะไปออกบริเวณก่อนถึงสำนักงานขนส่งแม่เหียะ หรือจะไปออกข้างห้างโลตัสสายหางดงก็ได้ พอปิดห้ามเลี้ยวเข้ามาได้เท่ากับว่า ทางสำรองทั้ง 2 เส้น ที่ราษฎรเคยใช้เพื่อเลี่ยงรถติดบนถนนป่าแดดสายเลียบแม่น้ำปิง เพื่อที่จะเข้าเมืองไม่สามารถใช้ได้ ตั้งแต่มีการทดลองเดินรถแบบวันเวย์ตามที่เป็นอยู่ขณะนี้ จุดกลับรถหน้าสนามฟุตบอลอันตรายมาก รถใหญ่ที่วิ่งลงมาข้ามจากฝั่งเวียงกุมกาม ลงมาจากสะพานจะใช้ความเร็วสูงมาก หากรถไปกลับบริเวณนั้นมากๆ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและเป็นอันตรายอาจถึงแก่ชีวิตได้ง่าย” นางอรพินฯ กล่าว

img_2144
หนังสือร้องเรียนบรรยายเพิ่มเติมในประเด็นนี้ว่า การที่ปล่อยให้รถทุกเส้นทางไปกลับรถ บริเวณหน้าสนามฟุตบอลไนท์เพลส เสี่ยงอันตรายอย่างมาก เนื่องจากรถทางที่มาจากแม่เหียะใช้ความเร็วสูง การจัดกลับรถแต่ละครั้งใช้เวลานานมาก ส่งผลให้รถจากสะพานป่าแดดที่ไปรอบกลับรถ ณ จุดดังกล่าวมีสะสมในปริมาณมากเกือบทั้งวัน ยิ่งท้ายแถวสะสมยาวยิ่งอันตราย เนื่องจากรถที่ลงมาจากสะพานป่าแดด ซึ่งข้ามจากท่าวังตาลอาจชนท้ายได้

“บริเวณใต้สะพานป่าแดดแต่เดิมมีปัญหารถติดเพียงในช่วงเวลาเร่งด่วนเท่านั้น ช่วงเช้าเวลา 07.00-08.30 น. และช่วงเย็นในเวลา 17.00-18.30 น. เท่านั้น หากใช้กำลังเจ้าหน้าที่จราจรเพียงแค่ 2 นาย มาช่วยกำกับดูแลการเดินรถการจัดก็เพียงพอที่จะแก้ปัญหาแล้ว มีปัญหาเฉพาะในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนเท่านั้น ตลอดทั้งวันไม่มีปัญหารถติด การมาจัดเป็นวันเวย์ยิ่งทำให้เสียเวลาการเดินทาง เป็นการเพิ่มการสูญเสียเชื้อเพลิงโดยใช่เหตุ ผู้คนที่สัญจรผ่านต่างด่าทุกวัน แต่ละคำที่ได้ยินไม่สามารถจะนำมาบรรยายเป็นตัวหนังสือได้” นางอรพิน โนจิตร แจง

ในหนังสือยังแจงอีกว่า ประเด็นที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ การทำมาหาเลี้ยงชีพ การประกอบอาชีพของประชาชนตลอดทั้ง 2 ฝั่งถนน โดยปกติค้าขายไม่ดีอยู่แล้วด้วยภาวะเศรษฐกิจที่แย่อย่างที่เป็นอยู่ พอจัดให้มีการเดินรถส่งผลให้การทำมาค้าขายลดลงเป็นจำนวนมาก สร้างความเดือดร้อนเป็นวงกว้าง

ด้าน นายสมชาติ มาลัยหวล ราษฎรบ้านดอนปิน หมู่ที่ 5 ต.แม่เหียะ ซึ่งต้องสัญจรผ่านบริเวณนี้เป็นประจำทุกวัน กล่าวว่า การสัญจรของประชาชนในถนนเส้นนี้ยังไม่ปัญหาใดๆ เลย จะมีการเคลื่อนตัวช้าบริเวณใต้สะพานป่าแดดบ้างเล็กน้อยในชั่วโมงเร่งด่วนเท่านั้น แต่การแก้ปัญหานี้กลับสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาอีกมากกว่า“ทุกวันนี้ได้ใช้เส้นทางผ่านตลอดยังไม่เห็นว่ามีปัญหาแต่อย่างใด พอทางการมาทดลองแก้ปัญหากลับพบว่ามีปัญหาเพิ่มขึ้นต่างหาก หากทาง การต้องการทดลองจริงๆ แล้ว น่าจะทดลองทำในเวลาเร่งด่วนดูก่อน เพราะหากทดลองตลอด 24 ชั่วโมง มีปัญหาตามมามากมาย

ประการที่ 1 รถที่ลงจากสะพานข้ามน้ำปิงจะเข้าสู่ถนนเรียบแม่น้ำ ต้องไปกลับรถที่หน้าสนามฟุตบอลเพียงแห่งเดียว ประการที่ 2 รถจากสี่แยกแม่เหียะจะต้องไปกลับไกลกว่า 3 กิโลเมตร ซึ่งรวมถึงรถดับเพลิงจากเทศบาลแม่เหียะด้วย หากจะออกไประงับเหตุใดๆ ในพื้นที่ต้องวิ่งไปกลับเพิ่มขึ้นเกือบ 3 กิโลเมตร ประการที่ 3 จุดกลับรถที่ถูกสกัดให้มา   กลับรวมกันเพียงแห่งเดียว แต่ไม่ได้ทำทางเว้าเข้าไปสำหรับรอกลับรถ ก็จะทำให้กีดขวางรถทางตรงที่วิ่งมาด้วยความเร็ว ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย” นายสมชาติฯ กล่าว

“เชื่อว่าเสียงส่วนใหญ่ทั้งชาวแม่เหียะและชาวป่าแดด ไม่เห็นด้วยและขอคัดค้านการทดลองจัดการจราจรครั้งนี้ และหากจะดำเนินการใดๆ ควรให้ประชาชนในท้องถิ่นร่วมถกปัญหาด้วย เพราะเป็นผู้ใช้ถนนโดยตรงและเห็นปัญหาได้ดีกว่า อย่าคิดแต่ว่าตนเองมีอำนาจและจะจัดการอย่างใดก็ได้ เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบคือ ประชาชนและได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง” นายสมชาติ มาลัยหวล กล่าวในที่สุด

 

รายงานโดย ไท-ธัชชัย

ร่วมแสดงความคิดเห็น