อย.เตือนอย่าใช้ยาทรามาดอลในทางที่ผิด อันตรายถึงชีวิต

อย.ห่วงใย พบยังมีการใช้ยาทรามาดอลไปใช้ในทางที่ผิด เผยมีมาตรการคุมเข้มให้ร้านขายยาจำหน่ายยาทรามาดอลได้ไม่เกิน 20 เม็ดต่อครั้ง และห้ามขายให้แก่เด็กอายุต่ากว่า 17 ปี หากฝ่าฝืนเจอโทษทั้งจาทั้งปรับ พร้อมเตือนอันตรายของยาดังกล่าว หากนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ โฆษกสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า จากกรณีที่มีการส่งแชร์ข้อมูลทางสื่อออนไลน์ เตือนภัยวัยรุ่นติดยาทรามาดอล ทำสมองเสื่อมและเดินไม่ได้ นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการนายาทรามาดอลไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยยาทรามาดอล (Tramadol) จัดประเภทเป็นยาอันตราย ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดชนิดรุนแรง ปานกลาง ถึงรุนแรงมาก

กำหนดให้จำหน่ายในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่ได้รับอนุญาตและต้องส่งมอบยาโดยเภสัชกร โดยผู้รับอนุญาตขายยาและเภสัชกร ต้องร่วมกันจัดทำบัญชีการซื้อ ขายที่ถูกต้อง เป็นจริง และเป็นปัจจุบัน สำหรับเภสัชกรจะต้องส่งมอบยาตามจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยไม่จ่ายยาให้กับผู้ที่ไม่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และจ่ายในปริมาณที่เหมาะสมไม่เกิน 20 เม็ด ต่อครั้ง และห้ามจำหน่ายให้แก่เด็กที่มีอายุตํ่ากว่า 17 ปี เพื่อป้องกันการนำยาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เนื่องจากยากลุ่มนี้อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงสูง ได้แก่ ทำให้มีอารมณ์แปรปรวน มึนงง เคลิ้ม เฉื่อยชา ที่สำคัญหากได้รับยาเกินขนาดจะทำให้เกิดภาวะอื่น ๆ ตามมา เช่น รูม่านตาหด ระบบหัวใจและหลอดเลือดทำงานล้มเหลว ชัก ระบบการหายใจทำงานช้าลงจนอาจถึงขั้นหยุดหายใจ อาจทำให้ช็อกถึงแก่ชีวิตได้ ทั้งนี้ หากร้านขายยาใดฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมาย รวมทั้งพิจารณาพักใช้ใบอนุญาตขายยาเป็นเวลา 120 วัน ต่อไป กรณีเภสัชกร ไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพจะส่งเรื่องให้สภาเภสัชกรรมพิจารณาพักใช้หรือเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพด้วย มาตรการดังกล่าวจัดทำขึ้น เพื่อควบคุมไม่ให้มีการใช้ยาทรามาดอลในทางที่ผิด อย่างไรก็ตามยาทรามาดอลเป็นยาที่ประชาชนบางส่วนมีความจำเป็นต้องใช้ อย.จึงต้องคำนึงถึงการเข้าถึงยาของประชาชนด้วย การควบคุมกำกับดูแลใดๆ จึงต้องพิจารณาให้รอบ

ด้านรอง เลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้ปกครองและประชาชนผู้บริโภคช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากพบร้านขายยาใดๆ ขายยาทรามาดอลให้แก่เยาวชน หรือขายยาดังกล่าวโดยไม่มีเภสัชกรประจำร้าน ขอให้ร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสได้ที่ สายด่วน อย.1556 หรืออีเมล์ : [email protected] หรือส่งจดหมายไปที่ ตู้ ปณ.1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือเดินทางมาร้องเรียนด้วยตัวเองที่ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.) อย. ได้ทุกวันในเวลาราชการ เพื่อ อย. จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น