หนุนเที่ยวเชิงเกษตร ด้านหม่อนไหมลำพูน

กรมหม่อนไหม ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนเปิดศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาหม่อนไหม ( พันธุ์ไม้ย้อมสี ) ภายใต้โครงการศูนย์ท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านหม่อนไหม และมอบใบรับรองร้านค้า Cetified thai silk shop ร้านค้าในเครือข่ายศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 1 เพื่อส่งเสริมให้จังหวัดลำพูน เป็นศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าไหม

นางสุดารัตน์ วัชรคุปต์ เหล่าวิชยา อธิบดีกรมหม่อนไหม เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาหม่อนไหม ( พันธ์ไม้ย้อมสี ) ในโครงการศูนย์ท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านหม่อนไหม โดยความร่วมมือระหว่างกรมหม่อนไหม กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ในงานมีพิธีลงนามความร่วมมือ ( MOU ) ระหว่างกรมหม่อนไหมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ด้านการเรียนรู้ภูมิปัญญาหม่อนไหม และมีพิธีมอบใบรับรองร้านค้า Cetified thai silk shop ให้แก่ร้านค้าในเครือข่ายศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯเขต 1 จำนวน 9 ร้าน จากนั้นผู้ร่วมงานได้ร่วมกันปลูกพันธุ์ไม้ย้อมสีอีก 5 ต้น

น.ส.สยุมพร สุภรพงษ์ ผอ.ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯเชียงใหม่ กล่าวว่า ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ดำเนินโครงการศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาหม่อนไหม ( พันธ์ไม่ย้อมสี )ภายใต้โครงการศูนย์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านหม่อนไหมในพื้นที่ทั้งหมด 5 ไร่ มีพันธ์ไม้ย้อมสีจำนวน 128 ชนิด โดยใช้พื้นที่ของสถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย ที่เป็นศูนย์การการเรียนรู้ สืบสานภูมิปัญญาด้านผ้าทอของกลุ่มภาคเหนือ ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนได้ดำเนินการนำผ้าไหมยกดอกลำพูน ไปขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้สำเร็จ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแหล่งอนุรักษ์ รวบรวมพันธ์ไม้ย้อมสีที่หายาก , เป็นแหล่งเรียนรู้แก่ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนที่สนใจได้ศึกษา นำองค์ความรู้ไปต่อยอด สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไม้ย้อมสีตลอดจนการใช้เทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์และพัฒนาต่อยอด และสืบสานผลักดันให้ผ้าไหมไทย สร้างมาตรฐานและชื่อเสียงในระดับสากล

นางสุดารัตน์ วัชรคุปต์ เหล่าวิชยา อธิบดีกรมหม่อนไหม ได้กล่าว ขอบคุณองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนที่ให้การสนับสนุนพื้นที่ของสถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย สำหรับจัดทำเป็นศูนย์การเรียนรู้สืบสานภูมิปัญญาด้านผ้าทอของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ และได้กล่าวชื่นชมช่างทอชาวลำพูนในความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะร่วมกันอนุรักษ์ สืบสานและผลักดันให้ผ้าไหมไทยสามารถสร้างชื่อเสียงในระดับสากลและเป็นตัวอย่างที่ดีในการยกระดับคุณภาพสินค้า สร้างมาตรฐานและก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม

ร่วมแสดงความคิดเห็น