ตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล

ติดต่อด้วยตนเองในวันเวลาราชการได้ที่สถานีอนามัย/โรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำหรับผู้พักอาศัยในกรุงเทพมหานครติดต่อสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานครที่เปิดรับลงทะเบียน

ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ โทร. 1330 กด 2 ตามด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก (โทรศัพท์บ้านค่าบริการ 3 บาท/ ครั้ง ทั่วประเทศ สำหรับค่าบริการโทรศัพย์มือถือตามโปรโมชัน (โดยข้อมูลสิทธิการรักษาพยาบาล
จะปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันทุกวันที่ 15 และวันที่ 28 ของทุกเดือน)

ลงทะเบียนก่อนใช้สิทธิเอกสารลงทะเบียน
1.บัตรประจำตัวประชาชน สำหรับเด็กอายุตํ่ากว่า 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตร (ใบเกิด)
2.หนังสือรับรองการพักอาศัย (กรณีที่อยู่ไม่ตรงตามบัตรประจำตัวประชาชน) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าตนเองนั้นอาศัยอยู่จริง เช่นใบเสร็จ ค่านํ้า ค่าไฟ สัญญาเช่าที่พัก ฯลฯ
3.แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ขอได้ ณ จุดรับลงทะเบียน)

สถานที่ลงทะเบียน ในวันเวลาราชการ
– ต่างจังหวัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (สถานีอนามัย)/ โรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้านหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กรุงทพมหานคร ติดต่อสำนักงานเขตของ กทม.
– บริการสาธารณสุข ที่คุ้มครอง การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เช่น บริการวางแผนครอบครัวได้แก่ การให้คำแนะนำปรึกษาแก่คู่สมรส รวมทั้งบริการคุมกำเนิด, การดุแลสุขภาพหญิงมีครรภ์ ทารกแรกเกิด และพัฒนาการของเด็ก, บริการวัคซีนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคตามแผนงานการให้ภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ, การตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อการเป็นโรค เช่น ตรวจระดับนํ้าตาลในเลือด ตรวจมะเร็งปากมดลูก/ มะเร็งเต้านม, การให้ยาต้านไวรัสเอดส์เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์ จากแม่สู่ลูก บริการที่ไม่อยู่ในความคุ้มครอง การรักษาภาวะมีบุตรยาก การผสมเทียม, การเปลี่ยนเพศ
การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์, การตรวจวินิจฉัยและรักษาใดๆ ที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์, การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง, การบาดเจ็บจากการประสบภัยจากรถ ซึ่งอยู่ในความคุ้มครองตามกฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เฉพาะส่วนที่บริษัทหรือกองทุนตามกฎหมายนั้นต้องเป็นผู้จ่าย
– การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยสารเสพติด ยกเว้น ผู้ติดยาเสพติดประเภทเฮโรอีนที่สมัครใจเข้ารับการรักษาและไม่ต้องโทษคดียาเสพติดให้ได้รับสารทดแทนยาเสพติด (เมทาโดน) จากหน่วยบริการ
ที่ขึ้นทะเบียนได้, โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยในเกินกว่า 180 วัน ยกเว้น กรณีมีความจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ การปลูกถ่ายอวัยวะ (Organ Transplantation) ยกเว้น การปลูกถ่ายไตเพื่อรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การปลูกถ่ายตับในเด็ก (อายุไม่เกิน 18 ปี) ที่เป็นโรคท่อนํ้าดีตีบตันแต่กำเนิด การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
– สิทธิการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ ที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ ซึ่งไม่ใช่ เป็นพยาธิสภาพของโรค หรือเหตุแทรกซ้อนของโรค มีสิทธิได้รับเงินช่ยเหลือเบื้องต้น โดยผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือทายาท ฯลฯ สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ทราบความเสียหาย

การเขียนคำร้องต้องมีสาระสำคัญดังนี้
1.ชื่อผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย
2.ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล
3.ชื่อหน่วยบริการที่ให้การรักษาพยาบาล
4.วันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล และวันที่ทราบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น
5.สถานที่ที่สามารถติดต่อผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายได้โดยสะดวก
6.ระบุภาระที่ผู้รับบริการจะต้องรับผิดชอบสถานะ

หลักฐานประกอบคำร้องของผู้ที่ได้รับความเสียหายได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสูติบัตร หนังสือมอบอำนาย (กรณีมีการมอบอำนาจ) เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงรายละเอียดข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ประกอบการพิจารณา

สถานที่ยื่นคำร้อย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (ในจังหวัดที่เกิดเหตุ) หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1-3 ศูนย์บริการรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50 (5) สอบถามเพิ่มเติมที่สายด่วน สปสช.โทร 1330

ข้อมูลโดย โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 เชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น