สธ.เผยมาตรการ 3 เก็บ กำจัดลูกนํํ้ายุงลายทุกสัปดาห์ป้องกัน 3 โรค

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนกำจัดลูกนํ้ายุงลายทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง ป้องกันบุตรหลานและคนในครอบครัวเจ็บป่วยและเสียชีวิต

นางกุลวดี สวัสดี หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรค แนะอย่าลืมมาตรการ 3 เก็บ กำจัดลูกนํ้ายุงลายทุกสัปดาห์ป้องกัน 3 โรค ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนทำต่อเนื่อง ทั้งที่โรงเรียนศาสนสถาน สถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก บ้าน ที่ทำงาน โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนร่วมกันกำจัดลูกนํ้ายุงลายทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง ป้องกันบุตรหลานและคนในครอบครัวเจ็บป่วยและเสียชีวิต 3 โรค ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

จากการเฝ้าระวังและการวิเคราะห์ทางระบาดวิทยาของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ พบว่ารายงานตั้งแต่ 1 มกราคม – 6 กุมภาพันธ์ 2560 จังหวัดเชียงใหม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 41 คน ไม่พบผู้เสียชีวิต ผู้ป่วยส่วนใหญ่
เป็นกลุ่มอายุ 25-34 ปี รองลงมาคืออายุ 15-24 ปี อายุ10-14 ปี อายุ 5-9 ปี และ 55-64 ปี ตามลําดับ มาตรการป้องกันโรคที่ดีที่สุดคือ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยใช้มาตรการ 3 เก็บ คือเก็บบ้านให้โล่ง อากาศปลอดโปร่งไม่ให้ยุงเกาะพัก เก็บขยะ เศษภาชนะ ไม่ให้มีที่เพาะพันธุ์ยุง และเก็บนํ้า ปิดฝาภาชนะให้มิดชิด หรือเปลี่ยนถ่ายนํ้าไม่ให้ยุงลายวางไข่ ทำต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน ศาสนสถาน สถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก โรงพยาบาล รวมทั้งการกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยภายในบ้าน ร่วมกับการป้องกันไม่ให้ยุงกัด ใช้ยาทากันยุงนอนกางมุ้งจะช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคได้ โรคไข้เลือดออก เป็นได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยพบมากในช่วงอายุ 5-10 ปี อาการส่วนใหญ่มักจะมีไข้ สูงลอย ไข้ไม่ลด นอนซม เด็กโตจะปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา ซึ่งพบได้ในผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน ในระยะไข้นี้บางรายอาจมีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้องร่วมด้วย ซึ่งในระยะแรกจะปวดทั่วๆไป และอาจปวดที่ชายโครงขวา หากมีไข้สูง ให้กินยาพาราเซตามอลลดไข้ อย่าซื้อยาแก้ปวดที่มีระคายเคืองกระเพาะอาหาร เช่น แอสไพรินหรือไอบูโพรเฟน เพราะเสี่ยงเลือดออกในกระเพาะอาหารอันตรายถึงเสียชีวิต แต่หากกินยาแล้วไข้ไม่ลด อาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ขอให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อรับการรักษาต่อเนื่องให้พ้นระยะอันตราย และในช่วงที่ไข้เริ่มลดขอให้สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพราะมีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะช็อกได้ โดยผู้ป่วยจะซึมลง อ่อนเพลีย อาจมีเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน หรือถ่ายอุจจาระสีดำ ขอให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้จังหวัดเชียงใหม่มีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ส่งผลให้เด็กเล็ก ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว เสี่ยงเจ็บป่วยที่พบบ่อยคือ โรคไข้หวัดใหญ่และ ปอดบวม ในปี 2559 จากข้อมูลงานระบาดวิทยา กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่พบผู้ป่วยทั้ง 2 โรครวมกันจำนวน 22,274 ราย โดยโรคไข้หวัดใหญ่พบผู้ป่วย 11,793 ราย โรคปอดบวม พบผู้ป่วย10,481 ราย ซึ่งในเดือนมกราคม 2560 พบผู้ป่วยทั้ง 2 โรคกว่า 1,579 ราย

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ยํ้าเตือนให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันการเจ็บป่วย และขอให้โรงพยาบาลทุกแห่งดูแลรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานการรักษา รวมทั้งป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาหลังการป่วย นางกุลวดี กล่าวต่อว่า ไข้หวัดใหญ่ เชื้อจะอยู่ในนํ้ามูก นํ้าลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายจากการไอหรือจาม หรือเชื้อติดมากับมือ อาการของโรคมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก ปวดศีรษะ อ่อยเพลีย เบื่ออาหาร คัดจมูก มีนํ้ามูกใสๆ ไอ ไข้มักเป็นอยู่ 2-4วันและค่อยๆ ลดลง อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น ส่วนโรคปอดบวมอาการและการแพร่เชื้อจะคล้ายไข้หวัดใหญ่ แต่จะพบบางรายมีไข้สูงหนาวสั่น และไอมีเสมหะสีเหลืองหรือเขียวรวมถึงหายใจเหนื่อยหอบร่วมด้วย สำหรับการป้องกันการเจ็บป่วย ในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง ขอให้ประชาชน ยึดหลักสุขอนามัยที่ดี หมั่นล้างมือด้วยนํ้าและสบู่ หลีกเลี่ยงคลุกคลีกับผู้ป่วย ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย ไม่อยู่ในที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดี มีมลพิษ หรืออากาศเย็นจัดเป็นเวลานาน
สวมเสื้อผ้าหนาๆ ให้ความอบอุ่นร่างกายอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสมํ่าเสมอ ดื่มนํ้าอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว หากสงสัยป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ ปอดบวมหรือป่วยเกิน 48 ชั่วโมง อาการไม่ดีขึ้น เหนื่อยง่าย และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรค

ร่วมแสดงความคิดเห็น