เกษตรเชียงใหม่ เร่งกำกับดูแล บริหารจัดการข้าว

สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการบริหารจัดการข้าวระดับจังหวัดจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 1/2560 เพื่อให้คณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการบริหารจัดการข้าวระดับจังหวัดทราบ เพื่อประกอบการพิจารณาการชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการฯให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ

นายกฤษณ์ ธนาวนิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการบริหารจัดการข้าวระดับจังหวัด จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 1/2560 ตามที่ กรมการค้าภายใน แจ้งผลการพิจารณาจัดสรรวงเงินของคณะอนุกรรมการพิจารณาชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2559 มีมติเห็นชอบวงเงินกู้ของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 11 ราย วงเงินกู้รวม 433 ล้านบาท และคณะทำงานพิจารณาชดเชยดอกเบี้ยและตรวจสอบปริมาณข้าวเปลือกและข้าวสาร ตามโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบปริมาณข้าวเปลือกและข้าวสาร ในสต็อกของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ดังนี้ ผลการตรวจสอบสต็อกข้าวของผู้ประกอบการที่ข้าร่วมโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2559/60 ผลการตรวจสอบประจำเดือน พฤศจิกายน 2559 มีปริมาณแบะมูบบค่าข้าวเปลือกและข้าวสาร 11,838 ตัน มูลค่า 133,666,150 บาท จากนั้นมีผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อคปีการผลิต 2559/60 แจ้งความประสงค์ไม่ขอเข้าร่วมโครงการ จำนวน 4 ราย ผลการตรวขสอบสต็อกข้าวฯ ประจำเดือนธันวาคม 2559 มีปริมาณและมูลค่าข้าวเปลือกและข้าวสาร ทั้งสริ้น 12,545 ตัน มูลค่า 147,716,022 บาท และผลการตรวจสอบสต็อกข้าวฯ ประจำเดือนมกราคม 2560 มีปริมาณและมูลค่าข้าวเปลือกและข้าวสาร 10,055 ตัน มูลค่า 119,696,674 บาท สำหรับสถานการณ์การปลูกข้าวจังหวัดเชียงใหม่ปี 2556/60 รอบที่ 2 มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 112,112 ไร่ มีผลผลิตเฉลี่ย 677 กก./ไร่ ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ 75,890 ตัน และมีการปลูกข้าวเหนียวเป็นร้อยละ 99 ของพื้นที่

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานโครงการข้าวสารสหกรณ์ช่วยชาวนา (การจำหน่ายข้าวสารของสถาบันเกษตรกร) สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ ในส่วนของการดำเนินการส่วนภูมิภาค ทางด้านสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ ได้ประสานงานหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อนำข้าวสารสหกรณ์ช่วยชาวนาไปวางจำหน่าย เพื่อลดต้นทุนในการจัดการด้านการตลาด ผู้บริโภคซื้อข้าวสารในราคายุติธรรมและเกษตรกรขาวนาจะได้ขายข้าวเปลือกได้ในราคาที่สูงขึ้น โดยมีสหกรณ์ที่จำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 5 สหกรณ์ ดำเนินการจำหน่ายข้าวสารในพื้นที่ 26 จุดดำเนินการ รวมทั้งหมด ปริมาณ 174.56 ตัน มูลค่า 6,109,664 บาท และมีคำสั่งซื้อข้าวสารต่อเนื่องจากสมาคมโรงแรมไทย (ภาคเหนือตอนบน) รวมมูลค่าประมาณ 600,000 บาทต่อเดือน

ร่วมแสดงความคิดเห็น