หลักประกันสุขภาพจาก สปสช.

เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เป็นกลไกใหม่ที่มีรูปแบบการทำงานโดยการเชื่อมร้อยองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ/วิชาชีพ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่มุ่งปฏิบัติงานด้านสุขภาพอยู่ในเขตพื้นที่เดียวกัน มาบูรณาการการทำงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ เพื่อร่วมกันจัดการระบบสุขภาพของพื้นที่อย่างมีพลัง

เขตสุขภาพเพื่อประชาชน จึงเป็นเสมือนเส้นด้ายแนวนอนที่ทำหน้าที่เชื่อมร้อยเส้นด้ายแบบแนวตั้ง คือหน่วยงาน, องค์กรและเครือข่ายทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ และกำหนดทิศทางของระบบสุขภาพให้ตรงกับความจำเป็นของประชาชนในพื้นที่ สอดคล้องกับ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ ของพี่น้องในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ พฤติกรรม สภาพสังคม ฯลฯ นำทุกคนไปสู่ระบบสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทุกมิติ

รูปแบบของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
วัตถุประสงค์
-กำหนดเป้าหมาย ทิศทางและยุทธศาสตร์ร่วมด้านสุขภาพ และบูรณาการทุกภาคส่วน ทุกมิติ ครอบคลุมถึงปัจจัยทางสังคมที่กำหนดสุขภาพ
-รองรับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในกาจัดการสุขภาพทุกมิติ เพื่อให้เกิดสมดุลในกรอภิบาลระบบสุขภาพ
-จุดประกาย กระตุ้นให้องค์กรต่างๆ ดำเนินงานได้บรรลุภารกิจของตน
-เสริมพลังกลไกต่างๆ ในเขตพื้นที่

หลักการสำคัญ
-ยึดประโยชน์สุข สุขภาะของประชาชนในเขตพื้นที่เป็นศูนย์กลางทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อน
-ยึก”หลักการทิศทางและแนวทางสำคัญของการปฏิรูประบบสุขภาพภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย
-เป็นฐานการทำงานแบบมีส่วนร่วมตามภารกิจโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน
-เน้นสานพลังปัญญา พลังสังคม และพลังรัฐ

ภารกิจของเขตสุขภาพ
-ผลักดันขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพในเขตพื้นที่ให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชน
-สร้างพื้นที่บูรณาการงานด้านสุขภาพ เพื่อประสิทธิภาพและลดความเหลื่อมล้ำ
-ร่วมอำนวยการให้เกิดทิศทางการขับเคลื่อนระบบสุขภาพของพื้นที่ร่วมกันโดยให้ความสำคัญกับภารกิจ 5 ร่วมคือ 1.ร่วมประสาน 2.ร่วมแลกเปลี่ยน 3.ร่วมชี้ทิศทาง 4.ร่วมบูรณาการ 5. ร่วมระดมสรรพกำลังขับเคลื่อน ฃ

กลไกลการทำงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
โครงสร้างกลไกการขับเคลื่อนเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เป็นการผนึกความร่วมมือของภาคีเครือข่ายหลายหน่วยงานี่เกี่ยวข้องในระบบสุขภาพ มีบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ ละทรัพยากรสนับสนุน ประกอบด้วยกระทรวงสาธารณสุข สปสช. สช., สสส. สถานพยาบาลภาครัฐละเอกชน, องค์กรวิชาชีพ, วิชาการ, ชุมชน, ภาคประชาสังคม, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายองค์กรต่างๆ ที่ทำงานพัฒนาระบบสุขภาพอีกเป็นจำนวนมาก

คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) แต่ละเขต มีวาระการดำเนินงาน 4 ปี มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
-กำหนดเป็าหมาย ทิศทางและยุทธศาสตร์ในการดำเนินการและพัฒนาระบบสุขภาพในเขต ฯ โดยบูรณาการภารกิจ อำนาจหน้าที่และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และดำเนินการหรือประสานให้เกิดการขับเคลื่อน
-ให้ข้อเสนอแนะและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสุขภาพในเขตพื้นที่ต่อองค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประสานงานกับ กขป. ในเขตพื้นที่อื่นๆ เพื่อให้เกิดการบูรณาการงานด้านสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ
-ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณธกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)อย่างน้องปีละ 1 ครั้ง

องค์ประกอบของ กขปง แต่ละเขต
คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เขตที่ 1-12 ประกอบด้วย ประธาน+รองฯ ประธานและรองฯ อีกไม่เกิน 2 คน, มาจากการประชุมคณะกรรมการและเลือกกันเอง
-องค์ประกอบ (45 คน) ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ (17 คน) ผู้ทรงคุณวุฒิและวิชาชีพ (11คน) ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม (17 คน)
– กลไกเลขานุการ เป็นกองเลขานุการร่วม
-สช.เป็นเลขานุการ
-กก.สธ, สปสช, สสส, เป็นเลขานุการร่วมคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 13 (กรุงเทพฯ) ประธาน: ผู้ว่าฯ กทม. รอบประธาน :ปลัด กทม.

องค์ประกอบ (46 คน)
-ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ (20 คน)
-ผู้ตรวจคุณวุฒิและวิชาชีพ (11 คน)
-ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม(15 คน)

กลไกลเลขานุการ: เป็นกองเลขานุการร่วม
-กทม.เป็นเลขานุการ
-สช.,กก.สธ.,สสส.เป็นเลขานุการร่วม

ร่วมแสดงความคิดเห็น