โครงการ การดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบ วัฒนธรรมล้านนา ของชุมชนสวนดอก

โรงพยาบาลเชียงใหม่ ฮอสพิทอล ร่วมกับ องค์กรภาครัฐเทศบาลนครเชียงใหม่ จัดกิจกรรม สรุปโครงการ การดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบวัฒนธรรมล้านนา ของชุมชนสวนดอก เพื่อส่งเสริมความรู้และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและจิตอาสา ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้แก่คนในครอบครัวและผู้เกี่ยวข้อง ให้สามารถดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุให้ดีขึ้น ณ ห้องประชุม ชั้น 4 โรงพยาบาลเชียงใหม่ ฮอสพิทอล

ผศ.นพ.ศรีรัตน์ ชัยพฤกษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เชียงใหม่ ฮอสพิทอล เปิดเผยว่า ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าโครงสร้างประชากรไทยอยู่ในระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยประชากรสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีจำนวนและสัดส่วนเพิ่มขึ้นทางโรงพยาบาลได้จัดโครงการ การดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบ วัฒนธรรมล้านนา ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการที่จะช่วยเหลือผู้ป่วย หรือว่าผู้ที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ โดยเราจะทำการคัดเลือกประชากรที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ รวมทั้งประชากรที่มีภาวะเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรค และอีกกลุ่มก็คือผู้ป่วยที่เป็นโรคแล้วให้เขาได้รับการรักษาที่ถูกต้องโดยเฉพาะผู้ป่วย ความดัน เบาหวาน ส่วนใหญ่จะไม่มีความรู้ความเข้าใจ ไม่ให้ความสำคัญในการรักษา เพราะคนไข้เหล่านี้มักจะเป็นหลายโรคทั้ง ความดัน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ฯลฯ ผู้ป่วยบางท่านต้องทานยาวันละ 8-9 เม็ดทำให้เกิดความเบื่อในการทานยา

ดังนั้น ทางโรงพยาบาลได้เขาไปดูแล รวมทั้ง เราจะให้กลุ่มจิตอาสา (อสม.) เข้าไปให้ความรู้ ในเรื่องความสำคัญด้านอาหารทุกอย่าง และอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงเราก็จะต้องเข้าไปสอน การดูแลแผล การพลิกตัว ปัญหาต่างๆ โดยทางโรงพยาบาลส่งเจ้าหน้าที่ไปให้ความรู้ และสอน อสม. สลับกันไปดูแล รวมทั้งสอนญาติด้วย เราจะขยายให้เพิ่มขึ้น การดูแลดังกล่าวจะช่วยให้การดูแลรักษาติดตามได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งมีการใช้เทคโนโลยีบนมือถือ คือ Line ผู้ป่วยหรือญาติสามารถ Line เข้ามาปรึกษาทางแพทย์ได้ ซึ่งการหาแนวทางในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

สำหรับการดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบวัฒนธรรมล้านนา ของชุมชนสวนดอก เราดำเนินการไปถือว่าได้ผลค่อนข้างดี ทางญี่ปุ่น โดย กองทุนเพื่อสุขภาพดีแห่งเอเซีย โดยมี พล.ต.ต.ปชา รัตนพันธ์ ผู้อำนวยการได้นำทีมแพทย์ จากญี่ปุ่น เข้ามาศึกษาโครงการเรา ซึ่งถือเป็นโอกาสดี ถ้าเราทำได้ดี ทางกองทุนเขาอาจจะเข้ามาช่วยสนับสนุนเงินทุน บุคลากร อุปกรณ์ มาช่วยดูแลซึ่งอาจเป็นไปได้ในอนาคต

พล.ต.ต.ปชา รัตนพันธ์ ผู้อำนวยการเผยเพิ่มเติมว่า กองทุนเพื่อสุขภาพดีแห่งเอเซียเราได้มาทำโครงการร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ และทางโรงพยาบาลเชียงใหม่ ฮอสพิทอล วันนี้เรามีบคลากรทางการแพทย์จากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาร่วมฟังการสรุปโครงการด้วย เพื่อที่จะได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการดูแลผู้ป่วยของไทย และของญี่ปุ่น เพื่อที่จะร่วมด้วยช่วยกันในอนาคต นอกจากนี้เราได้ทำโครงการดูแลสุขภาพชาวเขา ที่ อำเภอเชียงดาวโดยทำงานร่วมกับโรงพยาบาลชุมชน ที่อำเภอเชียงดาวด้วยโดยการนำอุปการณ์ทางการแพทย์ไปแจกด้วย และจะไปทำโครงการที่บ้านอรุโณทัย ร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนอีกแห่งหนึ่ง

ร่วมแสดงความคิดเห็น