ศูนย์วิจัยฯ จัดงานเกษตรไทยพร้อมก้าวสู่อาเซียน

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลในยุคนั้น ได้เริ่มต้นใช้นโยบายในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ด้วยการหันมาพัฒนาด้านเกษตรกรรม โดยใช้เทคโนโลยียุคใหม่ ในการคัดเลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสมจนเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยในปี 2476 หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร อธิบดีกรรมตรวจกสิกรรม หรือกรมการเพาะปลูก เดิมได้มอบหมายให้ คุณพระช่วงเกษตรศิลปะการ (ช่วง โลจายะ) มาทำการสำรวจที่ดินบ้านแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ประมาณ 800 ไร่

เป็นพื้นที่แห้งแล้งดินไม่มีคุณภาพ หรือที่คนท้องถิ่นเรียก “ป่าแพะ” จึงได้ทำการสำรวจวางผังแปลง และที่ตั้งอาคารสำนักงาน โดยให้ชื่อว่า สถานีกสิกรรมภาคพายัพ โดยมีคุณพระช่วงเกษตรศิลปะการ เป็นหัวหน้าสถานี ได้ทำการพัฒนาที่ดิน และวางรูปแบบการเกษตร แบบสหสาขาวิชา หรือ ผสมผสาน ทั้งการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ยาสูบพันธุ์ไวท์เบอร์เลย์ และการเลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร พันธุ์ยอร์คเชีย ไก่พันธุ์เล็กฮอร์น สัตว์พาหนะได้แก่ ควาย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการ ปลูกพืชหมุนเวียนและพืชผักสวนครัวเพื่อนเป็นอาหาร

และจำหน่าย ต่อมาคุณพระช่วงเกษตรศิลปะการจึงได้ก่อตั้ง โรงเรียนกสิกรรมแม่โจ้ อันเป็นต้นกำเนิดของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน จวนจบปี 2496 ได้มีการปรับโครงสร้างขอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้มีการพัฒนาการเกษตรเฉพาะด้านจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อสถานีกสิกรรมภาคพายัพ กรมตรวจกสิกรรม เป็นสถานีกสิกรรมแม่โจ้ สังกัดกองค้นความและทดลอง กรมกสิกรรมและแบ่งพื้นที่เป็นสถานีเฉพาะด้าน เช่น สถานีทดลองยาสูบ สถานีประมง และโรงเรียนกสิกรรมแม่โจ้ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) โดยสถานีกสิกรรมแม่โจ้ได้รับมอบหมายให้ทำการวิจัยพืชท้องถื่นภาคเหนือ และทำการพัฒนาพันธุ์ถั่วเหลือง

ในปี 2516 มีการปรับโครงสร้างส่วนราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เน้นการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตพืชเฉพาะ ได้รวมกรมกสิกรรมและกรมการข้าว เป็นกรมวิชาการเกษตร สถานีกสิกรรมแม่โจ้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีทดลองพืชไร่แม่โจ้ สังกัดกองพืชไร่ รับผิดชอบการวิจัย และพัฒนาพืชน้ำมัน ได้แก่ ถั่วเหลือง และพืชไร่ในท้องถิ่นภาคเหนือ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ สังกัดสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร รับผิดชอบงานวิจัยและพัฒนาพืชเฉพาะด้าน ได้แก่ ถั่วเหลือง ทั้งการปรับปรุงพันธุ์ การเพิ่มผลผลิต การอารักขาพืช การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง ได้พัฒนาพันธุ์ถั่วเหลือง สจ. 4 สจ. 5 และชเชียงใหม่ 60 จนได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่นจากกรมวิชาการเกษตร

ตลอดระยะเวลา 84 ปี ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่มีผลงานการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ถั่วเหลือง ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ และล่าสุดได้ออกพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสด โดยได้รับการรับรองพันธุ์เรียบร้อยแล้วในชื่อ “ถั่วเหลืองฝักสด พันธุ์เชียงใหม่ 84 – 2” มีลักษณะเด่น คือ ฝักและเมล็ดใหญ่ มีกลิ่นหอมใบเตย เหมาะในการบริโภคสด ปัจจุบันสามารถเป็นพืชส่งออกอีกชนิดหนึ่งของประเทศ ซึ่งมีประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ นอกจากงานวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชแล้วยังมีงานวิจัยแปรรูปถั่วเหลืองในรูปแบบต่างๆอย่างหลากหลาย และยังถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรและผู้สนใจอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่มีอายุครบ 84 ปี ภายใต้การบริหารงานของ นายสุทัด ปินตาเสน ผู้อำนวยการ ปัจจุบันได้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชเชียงใหม่อีกตำแหน่งในปีนี้จึงได้มีการจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field Day) ภายใต้โครงการ “การขับเคลื่อนเมล็ดพันธุ์พืชไทยสู่สากล” (Thailand Seed Hub) ตามแผนสนับสนุนและส่งเสริมยุทธศาสตร์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ ต,หนองหาน อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

วันที่ 3 – 7 มีนาคม 2560 โดยมีวัตุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรภาคอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ เข้าถึงข้อมูลเมล็ดพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตอย่างทั่วถึง และเป็นส่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ สังคม และนำพาประเทศสู้ความเป็นศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ในระดับสากล เพื่อแสดงศักยภาพของประเทศไทยในด้านเมล็ดพันธุ์ของกลุ่มอาเซียน โดยภายในงานจะเป็นการแสดงแปลงปลูกกลุ่มพันธุ์พืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพกเทียน ข้าวโพดหวาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กลุ่มพืชน้ำมัน ได้แก่ ทานตะวัน กลุ่มพืชผัก ได้แก่ พริกใหญ่ (พริกหนุ่ม/พริกหยวก) พริกขี้หนู มะเขือเทศผลใหญ่ มะเขือเทศผลเล็ก มะเขือ แตงกวา แตงท่อน แตงร้าน แตงโม เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง มะระ (มะระจีน/มะระขี้นก) บวบ (บวบเหลี่ยม/บวบงู) กลุ่มไม้ดอก ได้แก่ดาวเรืองตัดดอก ดาวเรืองประดับแปลง พืชน้ำมัน และผักผลไม้ต่างๆ ทั้งในแปลงปลูกทดสอบ และในโรงเรือนอัน เป็นการแสดงเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ ทนทานโรค และเป็นการเปิดโอกาสเชื่อมโยงธุรกิจเมล็ดพันธุ์พืชภายในประเทศ ระหว่างประเทศของภาครัฐและเอกชนไทยสู่สากล

[email protected]
ท.ลุงเกษตร

ร่วมแสดงความคิดเห็น