ผอ.ชลประทาน แจงเหตุอุโมงค์ คร่า2นักธรณีฯ เป็นเหตุสุดวิสัยคาดคิด พร้อมช่วยเหลือเยียวยา

แจง………..นายวิทย์ วงษ์กมลชุณห์ ผอ.สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 พร้อมด้วย รศ.ดร.นพดลเพียรเวช ผู้เชี่ยวชาญงานก่อสร้างอุโมงค์ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา แถลงข่าวต่อคณะสื่อมวลชนและผู้เกี่ยวข้อง กรณีเหตุสลดอุโมงค์ทางเข้า-ออกโครงการอุโมงค์ผันน้ำ เขื่อนแม่งัด-แม่กวง เกิดทรุดตัว หินหล่นทับ 2 นักธรณีวิทยาเสียชีวิต

คืบหน้ากรณีเหตุสลด อุโมงค์ทาง เข้า-ออกโครงการอุโมงค์ผันน้ำ เขื่อนแม่งัด-แม่กวง เกิดทรุดตัว หินหล่นทับ 2 นักธรณีวิทยาดับ ล่าสุด ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 พร้อม ผู้เชี่ยวชาญงานก่อสร้างอุโมงค์ ออกชี้แจงสาเหตุ และข้อเท็จจริง พร้อมแสดงความเสียใจกับเรื่องไม่คาดฝันที่เกิดขึ้น ยืนยันเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้น ทั้งที่มีการปฏิบัติงานอย่างระมัดระวังและมีความปลอดภัยอย่างดีแล้ว

จากกรณีเหตุอุโมงค์ทาง เข้า-ออกหมายเลข 6 ในโครงการอุโมงค์ผันน้ำ เขื่อนแม่งัด-แม่กวง ได้เกิดชั้นหินทรุดตัวแล้วหล่นทับใส่ 2 นักธรณีวิทยา ของบริษัทอิตาเลี่ยนไทยที่เข้าไปดำเนินการสำรวจตรวจสอบชั้นดินเพื่อให้วิศวะกรวางแผนในการสร้างโครงสร้างค้ำยัน จนทำให้เสียชีวิต ตามที่ได้นำเสนอข่าวไปแล้วในช่วงเช้า ของวันที่ 2 มี.ค.60 ที่ผ่านมานั้น โดยในส่วนของความคืบหน้าล่าสุด เมื่อเวลาประมาณ 13.30 น. วันดังกล่าว ที่สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ นายวิทย์ วงษ์กมลชุณห์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 พร้อมด้วย รศ.ดร.นพดล เพียรเวช ผู้เชี่ยวชาญงานก่อสร้างอุโมงค์ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ได้เปิดแถลงข่าวต่อคณะสื่อมวลชน ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้

โดยทาง นายวิทย์ วงษ์กมลชุณห์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 กล่าวว่า จากเหตุหินถล่มลงมาทับใส่นักธรนีวิยาที่เข้าไปสำรวจอุโมงค์ เข้า-ออก หมายเลข 6 ซึ่งมีบริษัทอิตาเลี่ยนไทย เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างบริเวณ กม.0+633 เนื่องจากมีหินร่วงหล่นลงมาจากผนังอุโมง ในช่วงเวลาประมาณ 07.30 น. ส่งผลให้นักธรณี 2 ราย ถูกก้อนหินขนาดกว้าประมาณ 1 เมตร ลึก 1 เมตร และยาว 3 เมตร พื้นที่ประมาณ 3 ตารางเมตร ที่เป็นจุดที่หินหล่นใส่นักธรณีวิทยาทั้ง 2 ราย ตามที่ได้มีรายงานออกมาแล้วนั้น ซึ่งทางตนต้องขอแสดงความเสียใจกับทางญาติของผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย ด้วย ส่วนการดำเนินการในการช่วยเหลือเยี่ยวยาผู้เสียชีวิต ขณะนี้ทางกรมชลประทานจะได้ช่วยเหลือเงินในการจัดพิธีศพ ให้กับทางญาติผู้ตายรายละ 5 หมื่นบาท และในส่วนของสวัสดิการต่างๆ ก็ขึ้นอยู่กับทางบริษัทต้นสังกัด ที่คาดว่าจะให้ความช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่

ขณะที่ทางด้าน รศ.ดร.นพดล เพียรเวช ผู้เชี่ยวชาญงานก่อสร้างอุโมงค์ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา กล่าวว่า การเกิดเหตุครั้งนี้จากการตรวจสอบพบว่า ในส่วนของอุโมงที่คืบออกไปประมาณ 3 เมตร พบว่าเริ่มมีรอยแตกร้าวซึ่งเป็นช่วงบังเอิญที่ทางนักธรณีวิทยาได้เข้าไปหลังจากที่คนงานชุดอื่นได้เข้าไปทำงานส่วนข้างหน้าออกมากันแล้ว และบังเอิญว่ามีการแตกร้าวถึงจุดพอดีซึ่ง โครงสร้างค้ำยันที่เพิ่มเข้าไปอาจจะยังไม่เพียงพอจึงทำให้เกิดหินร่วงตกลงมา ที่สาเหตุนั้นเกิดจากสภาพทางธรณีวิทยาที่บางครั้งหลังผนังอุโมงค์ออกไป ไม่สามารถคาดเดาได้ว่ามีอะไรอยู่บ้าง แต่อย่างรก็ตามคนที่เข้าไปปฏิบัติงานนั้นก็มีการเทรนมาอย่างดีเนื่องจากการเข้าไปปฏิบัติงานส่วนที่ขุดหน้างานนั้นมีความอันตราย และผู้เข้าไปปฏิบัติงานก็จะต้องมีความระมัดระวังและมีมาตรการในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง

ขณะเดียวกันจากรายงานที่ทราบเบื้องต้น ระบุว่ามีการตรวจพบรอยร้าวแต่พอหินจะหล่นลงมานั้นก็เกิดแตกขึ้นทันที ซึ่งจะไม่เหมือนดินที่ค่อยๆ ไหลลงมา ทำให้นักธรณีวิทยาทั้ง 2 คน หลบไม่ทันสำหรับพื้นที่ ที่ปฏิบัติงานนี้นั้นเป็นพื้นที่หินที่โดนดันโดนผลัก ซึ่งจะมีรอยแตกค่อนข้างมากแต่หินบางชนิดนั้นมีความแข็งมาก เมื่อแตกมาก็ไม่ค่อยมีความอันตรายมากเท่าไหร่ แต่หินที่มีรอยแตกเยอะ และใกล้กับรอยเลื่อนและหากมีน้ำใต้ดินก็จะยิ่งอันตราย ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับสภาพของหินว่าเป็นอย่างไร ประกอบกับวิธีการขุดเจาะที่ใช้ขุดระเบิดและใช้ใส่ค้ำยัน ที่จะต้องดูสภาพธรณีและปรับวิธีการก่อสร้างเพื่อให้เข้ากับสภาพธรณีวิทยา รวมทั้งค้ำยัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้มีการดำเนินการมาอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นคาดว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นนี้ น่าจะมาจากธรณีวิทยาเป็นหลัก เนื่องจากบางครั้งสามารถจะหยั่งรู้ได้ว่าการขุดเจาะอุโมงค์ เมื่อมีการวางหลังคาอุโมงค์แล้ว ด้านหลังจะมีความเลวร้ายขนาดไหน แต่ถ้าหากมีน้ำใต้ดินไหลมามากๆ ก็จะสามารถรู้ได้เลยทันทีว่ามีน้ำใต้ดิน แต่จากที่ตรวจสอบก็พบว่าไม่มีน้ำใต้ดินซึ่งจากการตรวจสอบโครงสร้างก็พบว่ามีความปกติดี และหินชุดนี้เริ่มพบเจอประมาณ 30-40 เมตร ที่ผ่านมาและพบว่าก่อนหน้านั้นมาสภาพแย่ยิ่งกว่าจุดเกิดเหตุ และพบว่าเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ แต่บังเอิญว่าบริเวณฝั่งซ้ายตามข้อมูลที่ตนทราบมาพบว่ามีรอยแตกมาก จึงทำให้เกิดร่วงหล่นลงมาเนื่องจากปกติแล้วสภาพทั่วไป ได้มีการใส่คอนกรีตพ่น และใส่สลักให้ดีแล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหาซึ่งเป็นเรื่องที่ทำกันมาตลอด และบังเอิญจุดที่ลงนี้ก็ไม่ได้เป็นบริเวณขุดใหม่ และมีการใส่ที่ค่ำยันแล้ว ส่วนหินที่หล่นลงมาก็มีลักษณะเป็นก้อนใหญ่จับจังหวะที่นักธรณีทั้ว 2 คน ไปยืนอยู่ฝั่งซ้ายซึ่งเป็นจุดที่หินถล่มลงมาพอดี

ร่วมแสดงความคิดเห็น