มหัศจรรย์ชมภาพ “พระธาตุจองคำจองกลาง” สะท้อนน้ำที่ แม่ฮ่องสอน

 

ใครที่มีโอกาสเดินทางไปแม่ฮ่องสอน ไม่ควรพลาดที่จะได้ ชมภาพพระธาตุกลับหัวสะท้อนผิวน้ำ อันวิจิตรสวยงาม ริมหนองจองคำ สามารถชมได้ ตั้งแต่หลังพระอาทิตย์ตกไปแล้ว 18.00 น ยิ่งมืด เมื่อวัดเปิดไฟส่ององค์พระธาตุ ก็ยิ่งทำให้เกิดเงาสะท้อนระยิบระยับวิจิตรงดงามยิ่งนัก ยาวไปจนถึงเวลา 06.00 น. ก่อนสว่าง

“วัดจองคำ” เป็นวัดที่ถูกสร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของ จ.แม่ฮ่องสอน และอยู่คู่เมืองสามหมอกมานานนับร้อยปี จนได้รับการสถาปนาให้เป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.2527 จากบันทึกทางประวัติศาสตร์เก่า เล่าไว้ว่า วัดจองคำ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2370 โดย “พระยาสิงหนาทราชา” เจ้าเมืองคนแรกของ จ.แม่ฮ่องสอน ต่อมาองค์พระเจดีย์ของวัดจองคำ ได้ชำรุดทรุดโทรมไป “พระอูน่าก๊ะ” จึงได้ทำพิธีบวงสรวงขอรื้อถอน แล้วจัดสร้าง “พระพุทธรูปหลวงพ่อโต” พร้อมทั้งจัดสร้าง “วิหารตรีมุข” ขึ้นบนพื้นที่ ซึ่งเคยประดิษฐานพระเจดีย์ องค์เดิมในปี พ.ศ. 2475-2479 (เริ่มต้นสร้างในปี พ.ศ.2475 และสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2479

ใกล้ๆ กับวัดจองคำ มีวัดอีกคือ “วัดจองกลาง” วัดทั้งสองแห่งนี้ มีลักษณะคล้ายกับวัดแฝด เนื่องจากตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงแก้วเดียวกัน “วัดจองกลาง” ในปัจจุบันนั้น เคยเป็นเพียงแค่สถานที่ตั้งศาลา ของ “วัดจองใหม่” ซึ่งใช้ให้บุคคลทั่วไปได้แวะพัก ระหว่าง ถือศีล – ปฏิบัติธรรม แต่ภายหลังจากที่เจ้าอาวาสวัดจองใหม่ องค์สุดท้าย ได้มรณภาพลง มีพระภิกษุ ชาวพม่ารูปหนึ่ง ซึ่งเดินทางมาร่วมงานฌาปนกิจ ของท่านเจ้าอาวาส ได้แวะเข้าไปพักอาศัยในศาลาดังกล่าว พระภิกษุชาวพม่ารูปนี้ มีประชาชนคนท้องถิ่นให้ความเคารพศรัทธาเป็นอันมาก จึงได้มีผู้นิมนต์ ให้ท่านอยู่ประจำที่ศาลาต่อไป จวบจนกระทั่งปี พ.ศ. 2410 คณะผู้มีจิตศรัทธาจึงได้ร่วม กันสร้างวัดขึ้น ทดแทนศาลาดังกล่าว และเรียกวัดแห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่าง “วัดจองคำ” และ “วัดจองใหม่” นี้ว่า “วัดจองกลาง” (ปัจจุบัน “วัดจองใหม่” ได้กลายเป็น “โรงเรียนนักธรรม” แล้ว) ต่อมาใน วันที่ 1 ก.พ. 2527 วัดจองกลาง ก็ได้รับการสถาปนาขึ้น เป็นพระอารามหลวงพร้อมๆ กัน กับวัดจองคำ

“หนองจองคำ” คือหนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ที่อยู่คู่กับ เมืองแม่ฮ่องสอนมายาวนานเกินกว่าร้อยปี ได้รับการขุดแต่งบูรณะ เมื่อปี พ.ศ. 2438 ในสมัย ​​”พญาพิทักษ์สยามเขต” เจ้าฟ้าผู้ครองเมืองแม่ฮ่องสอน คนที่ 3 ในครั้งอดีต นอกจากหนองจองคำ จะเป็นที่อยู่ที่อาศัยของฝูงปลาจำนวนมาก แล้วบรรดาเจ้าขุนมูลนายยังได้อาศัยใช้ต้นหญ้าริมหนองจองคำแห่งนี้ เลี้ยงช้างรวมถึงได้อาศัยใช้น้ำในหนองอาบน้ำช้างด้วย

เมื่อเวลากาลผ่านพ้นมาจนถึงยุคปัจจุบัน ทางเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ก็ได้ทำการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบหนองจองคำใหม่ แล้วจัดตั้งเป็น “สวนสาธารณะหนองจองคำ” เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ในห้างหุ้นส่วนจำกัด หัวเรื่อง: การออกกำลังกายและพักผ่อนอิริยาบถในห้างหุ้นส่วนจำกัด ทุกช่วงฤดูกาล ชมพระธาตุ ได้ตลอดฤดูหนาว ….. สามารถชมหนองจองคำ ตั้งแต่เช้าตรู่ จะพบกับสายหมอกสีขาวบางเบาที่ฟูฟ่องล่องลอยปกคลุมไปทั่วบริเวณมองไปไกล ๆ จะเห็น “วัดจองคำ – วัดจองกลาง” พร่าเลือน ขณะนี้ในห้างหุ้นส่วนจำกัดละอองไอเย็นดูราวกับภาพฝัน

เมื่อฤดูท่องเที่ยวมาถึง (ราวเดือน พ.ย.- ก.พ.) ถนนโดยรอบหนองจองคำในยามย่ำสนธยา จะถูกแปรสภาพจากเส้นทางสัญจรของยานพาหนะต่างๆ เปลี่ยนไปเป็นที่ตั้ง ของร้านรวงมากมาย ทั้งร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP, ร้านจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมทำมือ, ร้านจำหน่ายไปรษณียบัตร, แผงลอยขายอาหาร ฯลฯ เมื่อสีสันจากดวงไฟของร้านรวงเหล่านี้ ผนวกเข้ากับแสงระยิบระยับจากไฟประดับของ “วัดจองคำ – วัดจองกลาง” ความงดงามเกินบรรยายในยามค่ำคืน ก็ได้บังเกิดขึ้น นักท่องเที่ยวทั่วไป รู้จักถนนราตรีรอบหนองจองคำ ในนามของ “ถนนคนเดินแม่ฮ่องสอน”
การเดินทางรถยนต์ส่วนบุคคล จากสี่แยก สภ . เมืองแม่ฮ่องสอนให้ใช้ “ถนนขุนลุมประพาส” มุ่งหน้าไปทาง อ.ขุนยวม ประมาณ 700 ม. ผ่านสำนักงานไปรษณีย์เมืองแม่ฮ่องสอนแล้ว เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกเข้า “ถนนขัวเผือก” ตรงไปอีกประมาณ 200 ม. จะถึง “หนองจองคำ” นักท่องเที่ยวสามารถจอดรถไว้บริเวณ รอบหนองน้ำแล้วเดินไปยัง “วัดจองคำ – วัดจองกลาง” ซึ่งอยู่ใกล้ๆ ได้ (หน้าวัดจองคำ – วัดจองกลาง สามารถจอดรถยนต์ได้แค่ 5-7 คันเท่านั้น) ไม่มีรถประจำทาง แต่สามารถเหมารถสองแถวจาก “ตลาดสายหยุด” ในตัวเมืองไปยังวัดได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น