เกษตร 360 องศา…ฝนหลวง

โครงการพระราชดำริฝนหลวง เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เมื่อคราวเสด็จฯเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดาร จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงปี พ.ศ.2498 จากนั้นอีกราวๆ 14 ปีพระองค์ทรงคิดค้น ทดลองจากทฤษฎีต้นกำเนิด ที่ว่าด้วยการนำเมฆบนฟากฟ้ามารวมกัน เป็นกลุ่มก้อน แล้วโปรยปรายเป็นหยาดพิรุณ เพื่อปวงประชาในแผ่นดิน

จวบจนวันนี้….ฝนจากฟ้าสู่ดิน….ได้สร้างความอุดม สมบูรณ์ พูนสุข…ช่วยขจัดปัญหา…ภัยแล้ง…หมอกควันไฟป่า

สำหรับปีนี้ในการวิเคราะห์พื้นที่ปฏิบัติการในการทำฝนหลวง แบ่งเป็น 2 ส่วนสำคัญคือ
1.พื้นที่มีความแห้งแล้ง ซึ่งได้หารือกับส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว พิจารณาจากทั้งน้ำอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ พื้นที่การเกษตร โดยพื้นที่ในเขตชลประทานจะเน้นให้มีปริมาณน้ำต้นทุนเพียงพอ ขณะที่พื้นที่นอกเขตชลประทาน มี 105 อำเภอ ที่น้ำต้นทุนอาจจะไม่เพียงพอ ซึ่งกระทรวงฯ มี 6 มาตรการ 29 โครงการ พร้อมแผนเผชิญเหตุ เตรียมแก้ปัญหาในทันที

2.พื้นที่ซึ่งเกิดปัญหาหมอกควัน จะปฏิบัติการฝนหลวงในทันทีที่อากาศเอื้ออำนวย และ ไม่กระทบพื้นที่เกษตรกรรมที่กำลังเก็บเกี่ยวอยู่ เฝ้าระวังในพื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ พะเยา และ ตาก

แผนการปฏิบัติ แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงมีนาคม-พฤษภาคม เน้นช่วยเหลือบรรเทาหมอกควัน และ ไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ การเพิ่มความชุ่มชื้นที่ประสบภัยแล้ง และเติมน้ำในเขื่อนโดยเฉพาะที่มีน้ำต้นทุนน้อย และช่วงมิถุนายน-ตุลาคม เน้นเติมน้ำต้นทุนในเขื่อนที่มีน้ำน้อย และพื้นที่ฝนทิ้งช่วง ครับ

ดิ๊ก ชาวไทย
[email protected]

ร่วมแสดงความคิดเห็น