ตามรอยเท้าพ่อผ่อดอกผลบนเส้นทางบ้านม้งดอยปุยสู่บ้านแม่สา โฮมสเตย์บ้านแม่สาใหม่

ภาพถ่ายขาวดำที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงประทับบนหลังม้า รายล้อมด้วยพสกนิกรบนทางชันสูงสภาพป่าโดยรอบโล่งเตียน จากภาพนี้เป็นจุดเริ่มต้นของ เส้นทางเดินเท้าจากบ้านม้งดอยปุยสู่บ้านม้งแม่สาใหม่ อำเภอแม่ริม จากภาพนี้อยู่ในความสนใจของประชาชนที่อยากรู้อยากจะติดตามรอยเท้าของพ่อที่ประทับพระบาทยาตราถึงความยากลำบาก ขนาดไหนที่พระองค์ได้ทรงดำเนินบนเส้นทางข้ามขุนเขาที่เราขอเดินตามรอยเท้าพ่อในเส้นทางท่องเที่ยว “ตามรอยเท้าพ่อ ผ่อดอกผล บนดอยแม่สา”

เส้นทางเดินเท้าได้เริ่มต้นขึ้นที่ลานจอดรถ “บ้านม้งดอยปุย” โดยมีไกด์ นายกัตชู แซ่ย่าง นายญ่า แซ่ย่าง และ นายวิน เลิศชัยสหกุล เส้นทางเดินออกย่านตลาดวุ่นวายสับสน ผ่านเข้าสู่ป่าทางเดินเมื่อในอดีตนั้นกว้างเพียงแค่ 1 ไม้บรรทัดนั้นเองแต่ปัจจุบันได้ถูกปรับให้กว้างขึ้นขนาดรถยนต์เข้าได้เลย ผืนป่ายังอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชสมุนไพรมากมาย “จื้ยั่วแซง” เป็นพืชสมุนไพรช่วยแก้กระหายนํ้า “ศาลสะเดาะเคราะห์” ศาลไม้เก่าหลายหลังริมทางซึ่งเป็นความเชื่อที่จะช่วยผ่านป่าพบต้นไม้ขนาดใหญ่ชื่อว่า “ไม้ก้ง” ชาวบ้านจะใช้ไม้ไปทำถ่านเนื่องจากติดไฟนาน “หูกวาง” มีสรรพคุณช่วยแก้ปวด แก้เมื่อย “ขมิ้นต้น” ขาลังดง มีสรรพคุณในการรักษาโรค อีสุกอีใส

เดินเท้าจุดสามแยกจนมาถึง ลานขุนหลวงวิลังคะตำนานรักอันขมขื่น เป็นเนินเขาสูงมีก้อนหินขนาดใหญ่กระจัดกระจาย “รอยพระบาท” ประทับบนหิน ความมหัศจรรย์ “ผากลอง” หินมีลักษณะเหมือนกลองตั้งบนหินท่ามกลางป่าสน บนความสูง 1,535 เมตร สามารถชมทิวทัศน์ได้โดยรอบอีกที่เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้อย่างสวยงาม

เดินเท้าข้ามเขาจนมาถึง “บ้านมาสา” ตั้งอยู่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ต้อนรับด้วยการผูกข้อมือ “แต่งเก่า” เป็นด้ายสีแดงติดกับผ้าดิบสีขาวพับสามเหลี่ยมขนาดเล็กๆ ภายในบรรจุด้วยเมล็ดพืชต่างๆ แล้วคณะโดยมีความหมายในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่นำเมล็ดพันธุ์ในถุงนำไปปลูก แยกย้ายนำกระเป๋าสำภาระเข้าที่พักโฮมสเตย์ พ่อหลวงสวัสดิ์ ถอนรุ่งเรือง มื้อเย็นด้วยเมนู ต้มไก่สมุนไพร

ช่วงคํ่าความเย็นเริ่มปกคลุมลานกิจกรรม กองไฟถูกจุดลุกโชนนักท่องเที่ยวรายล้อม ชมการแสดงทางวัฒนธรรมของชาวม้ง “เป่าแคน” ในภาษาม้งเรียกว่า “เก้ง” โดย “นายบาท่อ” เป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ไผ่ ซึ่งทำจากไม้ไผ่ในปัจจุบันได้ประยุกต์ในวัสดุท่อ PCV มาทดแทนไม้ไผ่ จะใช้เป่าประกอบการละเล่นพิธีกรรมเมื่อมีผู้เสียชีวิตไปสู่ภายหน้า “นายจาง เซอร์” การแสดงการขับร้องสดในภาษาม้ง “นางเล็ง” การแสดงการเป่าลิ้มทองเหลือง เมื่อ 40 ปีเวลาที่หนุ่มสาวจะจีบกันห้ามพูดเสียงดัง “นายจาง” การแสดงการเป่าขลุ่ยเรียกว่า ปี่โดยมักจะใช้เป่าในเวลากลางคืน “นายก่าพลัง” ครูดาบแสดงการรำดาบ และยังสอนให้ผู้สนใจเรียนเพื่อป้องกันตัว ผู้เรียนต้องไปเรียนวิชากันในป่าระยะเวลา 7 วัน 10 วัน 30 วัน “พ่อหมออัญชัย” มีความสามารถหลายด้านการแสดงการเป่าใบไม้สื่อเป่าเรียกชื่อคน เป่าเรียกสัตว์ป่าได้สุดท้ายชมการละเล่น “ลูกข่าง” เป็นการละเล่นที่คู่กับชาวม้งโดย “นายย้ง” ลูกข่างมี 3 ขนาด ทำด้วยไม้เนื้อแข็งนิยมเล่นกันในช่วงปีใหม่ม้ง

วันที่ 2 เช้าวันใหม่เติมพลังอาหารเช้าแล้ว จับกลุ่มวาดภาพระบายสีเทียนความประทับใจลงบนกระดาษในทริปนี้ เส้นทางท่องเที่ยวชมงานหัตถกรรม “การทำเครื่องเงิน” โดย นายเศกสิทธิ์ ปกรสิทธิ์ “บ้านพ่อหมออัญไซ” กำลังรักษาให้กับผู้ป่วยกระดูกแขนหักด้วยสมุนไพรท้องถิ่น ต้นไม้ของพ่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปลูก ต้นบ๊วย และต้นพลับ ไว้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2517

กว่า 5 ชั่วโมงระยะทาง 14 กิโลเมตร เส้นทางเดินเท้าตามรอยเท้าพ่อ ที่ข้ามเขาเข้าป่าความอยากลำบากที่ทำให้ได้ทราบถึงสิ่งต่างๆ ที่พ่อได้ทำให้เพื่อคนไทยได้สุขสบาย และจะขอทำดีถวายแด่พ่อหลวงของแผ่นดิน

ติดต่อสอบถาม / วิน 081-387-7471 เฮาหมี่ 084-485-2571

เรื่อง และ ภาพ : ทับทิม มั่นมาก

ร่วมแสดงความคิดเห็น