ชม.รุกขับเคลื่อนแนวทาง ความเข้มแข็งสู่เศรษฐกิจ

จังหวัดเชียงใหม่ ขับเคลื่อนโครงการตามแนวทางการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศการประชุมขับเคลื่อนโครงการตามแนวทางการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ที่ห้องลีลาวดี ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อเร็วๆ นี้ นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการประชุมขับเคลื่อนโครงการตามแนวทางการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2560 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 เพื่อให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจของประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจรากฐานและชุมชนเข้มแข็ง ส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมศักยภาพ สำนักงบประมาณจึงกำหนดแนวทางการบริหารงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ได้แก่ การจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ และการบริหารงบประมาณ

สำหรับผลสรุปงบประมาณโครงการตามแนวทางสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี พ.ศ. 2560 ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย แนวทางที่ 1 เพิ่มศักยภาพภาพอุตสาหกรรม การค้า และการลงทุน โดยยกระดับเชื่อมโยงสร้างเครือข่ายการค้าการลงทุนและการค้าขายชายแดนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมีโครงการยกระดับการค้าการลงทุน การค้าชายแดนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศงบประมาณ 258,448,300 บาท โครงการยกระดับการผลิต หัตถอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนบน 1 สู่ฐานการผลิตเชิงสร้างสรรค์ งบประมาณ 295,032,800 บาท และโครงการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยอุตสาหกรรมไมซ์ล้านนา งบประมาณ 24,167,400 บาท แนวทางที่ 2 เพิ่ม

ศักยภาพภาคการเกษตร พัฒนาการเกษตรมูลค่าสูงสู่อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเพื่อการท่องเที่ยว และอาหารเพื่อการส่งออกต่างประเทศ ซึ่งมีโครงการเกษตรเพื่ออาหาร สุขภาพดีวิถีล้านนา งบประมาณ 268,307,400 บาท และโครงการส่งเสริมเกษตรมูลค่าสูงครบวงจร งบประมาณ 165,247,700 บาท แนวทางที่ 3 เพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวและบริการ สร้างคุณค่าและความโดดเด่นด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งมีโครงการเมืองสปาและหมู่บ้านน้ำพุร้อนเพื่อการท่องเที่ยว งบประมาณ 172,933,000 บาท โครงการพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 งบประมาณ 1,762,201,400 บาท และโครงการ Smart City เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวภาคเหนือตอนบน 1 งบประมาณ 304,437,300 บาท และแนวทางที่ 4 พัฒนาด้านสังคมยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยอนุรักษ์พื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการและมีส่วนร่วม ตอบสนองต่อการพัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม ซึ่งจัดทำโครงการส่งเสริมอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน งบประมาณ 235,478,500 บาท โครงการจัดการน้ำเสียและขยะชุมชนสู่อนาคตเมืองสีเขียว งบประมาณ 97,305,000 บาท และโครงการเสริมสร้างศักยภาพประชารัฐปลอดภัยพิบัติ สาธารณภัย งบประมาณ 12,897,000 บาท โดยมีงบประมาณรวมทั้งหมด 4,210,795,800 บาท

ทั้งนี้ โครงการตามแนวทางการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เฉพาะในส่วนที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เป็นหน่วยดำเนินการ ประกอบด้วย 3 โครงการ รวมงบประมาณ 83,10 5,400 บาท คือ โครงการ “ป่าดูแลคน คนดูแลป่า” (Maehong Smarth Growth Environment and Economic) งบประมาณ 55,860,000 บาท โครงการการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องนโยบายสาธารณะและการวางยุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน งบประมาณ 19,815,500 บาท และโครงการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นล้านนาด้วยอุตสาหกรรมไมซ์ (Lana MICE – Driven Economy 4.0) โดยมีกิจกรรมสร้างเครือข่ายไมซ์ล้านนา งบประมาณ 2,492,700 บาท กิจกรรมทำการตลาดเชิงรุกเทศกาลท้องถิ่นล้านนาสู่สากล งบประมาณ 2,021,200 บาท และกิจกรรม Lana Upper ASEAN/GMS MICE hub งบประมาณ2,916,000 บาท รวมงบประมาณโครงการ 7,429,900 บาท

ร่วมแสดงความคิดเห็น