กรณีศึกษา ”รถอูเบอร์-รถแดง” ถึงเวลาปรับแผนขนส่งเมือง?

การเกิดขึ้นของบริการรถร่วมเดินทางที่เรียกว่า “รถอูเบอร์” อาจเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับผู้ต้องการใช้บริการรถเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ

เป็นรูปแบบบริการที่มีเครือข่ายทั่วโลกกว่า 74 ประเทศ มีรายงานอ้างอิงจาก “อูเบอร์” ว่าแต่ละเดือนมีผู้ใช้บริการทั่วโลกสูงถึง 40 ล้านคน มีคนขับร่วมบริการอูเบอร์ 1.5 ล้านคนทั่วโลก

สำหรับบริการ “อูเบอร์” ในประเทศไทย ถือว่า มีความผิดตามพรบ.รถยนต์ 2522 เนื่องจากใช้รถผิดประเภท

ทั้งนี้ในประเทศไทย จะมีการกำหนดลักษณะรถออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น รถส่วนบุคคล รถโดยสารสาธารณะ มีระเบียบหลักเกณฑ์ด้านภาษีและเงื่อนไขแตกต่างกันไป

บริการ “อูเบอร์” เข้ามาในไทยราวๆปี 2557 ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุม บังคับใช้กฎหมาย ได้มีการประชุมหารือร่วมกับ ตัวแทนอูเบอร์ในไทย

แต่ด้วยมุมมองที่แตกต่างกันระหว่างกิจการที่ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐฯ เสนอ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่ใช้งานมาร่วม 38 ปี ให้ทันยุค ทันสมัย

ในขณะที่หน่วยงานด้าน “ขนส่งทางบก” ระบุว่า กฎหมายที่ใช้มานั้น มีการพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข มีข้อประกาศ ข้อกำหนด เข้ามา รองรับยุคสมัย และการนำ“อูเบอร์”เข้ามา จะทำลายระบบบริการรถสาธารณะ

เพราะการนำรถป้ายดำ รถส่วนบุคคล มาเข้าระบบ รถร่วมบริการเดินทาง จะด้วยข้ออ้างการมีเทคโนโลยี่ทันสมัย สามารถเรียกใช้บริการได้อย่างสดวก สบาย ทันใจ

อย่าลืมว่า เงื่อนไข หลักเกณฑ์ รถส่วนบุคคลกับรถบริการสาธารณะ แค่ใบอนุญาติขับขี่ก็คนละประเภท พิกัดภาษีแต่ละปีก็แตกต่างกัน รวมถึงการขึ้น ทะเบียนประวัติคนขับ…รถสาธารณะมีต้นทุน ค่าใช้จ่ายสูงกว่า

รถ “อูเบอร์” ไม่ได้จำกัดพื้นที่บริการประจำ ตามเมืองใหญ่ๆ ไม่ว่าจะที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ..ยังบริการทั่วประเทศด้วยซํ้าไป

กรณีการติดตาม ล่อซื้อ จับกุม เด่นชัด ใน 2 จังหวัดใหญ่ๆ มีปัจจัยประกอบมาจาก จำนวนรถโดยสารสาธารณะในเมืองที่มีจำนวนมาก ทั้งแท๊กซี่ รถโดยสารประจำทาง

ความพยายามของหลายภาคส่วนในการ ผลักดันระบบขนส่งสาธารณะ ขนส่งมวลชนของเมืองที่มีประสิทธิภาพ รองรับกับความเปลี่ยนแปลงของเมือง หลายๆ นคร….ในไทยเด่นชัด…แล้ว.. “นครเชียงใหม่” เด่นชัดจริงหรือ?!!

แม้กระทั่ง การร่วมระดมทุน เพื่อแผนพัฒนาขนส่งมวลชนฯ..การผลักดันร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการบรรษัทพัฒนาเมือง

ตราบใดที่..ขนส่งสาธารณะที่มีอยู่ในวันนี้ ยังไม่ตอบโจทย์ เป็นทางเลือกที่น่าพึงพอใจ

ประชาชนก็ย่อมมีสิทธิ์..เลือกได้

ไม่ใช่จำต้อง..เลือก..ในทางเลือกที่จำกัด…เช่นนี้

ฉัตรบวร..รายงาน

ร่วมแสดงความคิดเห็น