ภาครัฐ-เอกชนเชียงใหม่หนุน ขับเคลื่อนวิจัยดิจิทัลสู่สังคม

5 สถาบันภาคเหนือจับมือ ECTI ภาครัฐ และเอกชน ขับเคลื่อนวิจัยดิจิทัลสู่สังคม ในงาน ICDAMT2017 เพื่อสร้างโอกาสให้แก่นักวิจัย นักพัฒนา นักออกแบบ วิศวกร และนักเทคโนโลยี ได้แลกเปลี่ยนความคิด และพัฒนาอุตสาหกรรม Digital Arts, Digital Media และ Digital Technology หวังช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งและการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคและของประเทศไทย พร้อมเข้าสู่ยุค “ไทยแลนด์ 4.0” อย่างเต็มรูปแบบ หวังผลักดันให้ประชาชนสามารถหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางและก้าวสู่การสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีศักยภาพ สร้างมูลค่าเพิ่ม เกิดความมั่นคง และพัฒนาไปจนกลายเป็น Smart City ที่พร้อมไปด้วยทรัพยากรประชาชนที่มีประสิทธิภาพ

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา “งาน Smart City Forum & International Conference on Digital Art, Media and Technology โดยมี รศ.ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รักษาการแทนอธิบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และ รศ.ดร.สมศักดิ์ ชุมช่วย สมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและสารสนเทศกับกิจกรรมวิชาการ เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ ห้องเชียงใหม่ 4-5 อาคารนานาชาติโรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่
โดย ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า ปัจจุบันการศึกษาของประเทศไทยมีการพัฒนาในหลายด้าน ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงเฉพาะในด้านของเทคโนโลยี ดิจิทัล นวัตกรรม และสื่อมัลติมีเดีย ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นด้านที่มีความสำคัญและยังแสดงได้ถึงระดับการพัฒนาของประเทศ จึงเป็นเรื่องที่หลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ แม้แต่ภาคการศึกษาต้องกลับมาใส่ใจและเร่งพัฒนากันอยู่มากพอสมควร เพื่อให้ความรู้และประสิทธิภาพของประชาชนทันกับยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สร้างทรัพยากรที่มีคุณภาพและสามารถรองรับอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มที่ในอนาคต ซึ่งสำหรับประเทศไทยเองยังคงขาดแคลนและต้องการทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพด้านนี้โดยเฉพาะ

ดร.พันธ์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในยุคของ Digital จึงเป็นยุคที่ต้องเร่งพัฒนาคนควบคู่กับการสร้างนวัตกรรม โดยจะต้องเร่งก้าวและพัฒนาไปพร้อมกันในหลายภาคส่วน เพื่อเตรียมความพร้อมให้เข้าสู่โลกสมัยใหม่ได้อย่างเต็มตัว และนำไปสู่การสร้างประเทศ องค์กร บ้านเมือง และบุคลากรไปสู่ความ Smart ในภาคของการผลิตและเศรษฐกิจเองผู้ประกอบการก็ต้องเร่งสปีดให้ตอบสนองต่อยุคผู้บริโภคในโลกดิจิทัล การเกิดขึ้นของ Startup ทั่วประเทศ ภาครัฐเองก็เร่งพัฒนาและสร้างนโยบายเพื่อตอบสนองยุคนี้อย่างเต็มที่เพื่อผลักดันให้ประชาชนสามารถหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางและก้าวสู่การสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีศักยภาพ สร้างมูลค่าเพิ่ม เกิดความมั่นคง และพัฒนาไปจนกลายเป็น Smart City ที่พร้อมไปด้วยทรัพยากรประชาชนที่มีประสิทธิภาพ มีการศึกษา มีงานวิจัย มีงานวิชาการ ที่นำเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์และถูกนำออกมาใช้ได้จริงในโลกอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศในอนาคต

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวต่อว่า โครงการนี้จึงเป็นเสมือนเวทีเล็กๆ ที่มีความต้องการจะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ได้ โดยหวังจะเห็นการนำเสนอและสร้างผลงานวิจัยในด้านนี้จากนักศึกษา บุคลากรวิชาการ ที่เพิ่มมากและมีศักยภาพมากขึ้นทุกปี มีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระดับชาติที่กว้างขึ้น และสามารถพัฒนาให้ศักยภาพอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเข้มแข็งและเพิ่มขีดการแข่งขันในระดับประเทศมากขึ้น

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ชุ่มช่วย สมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและสารนเทศกับกิจกรรมวิชาการ กล่าวว่า งาน “Smart City Forum & International Conference on Digital Arts Media and Technology” หรือ ICDAMT 2017 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 แล้ว และเกิดขึ้นจากความร่วมมือของคณะด้านดิจิทัล 5 สถาบันการศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือ ร่วมกับ ECTI ซึ่งในครั้งนี้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำทีมเป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินงานและจัดงานครั้งนี้ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับมหาวิทยาลัยในเครือข่าย โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานพันธมิตรหลัก ได้แก่ สถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE), สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา, และ European Commission ภายใต้โครงการ H2020

สำหรับการจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบไปด้วยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยในความร่วมมือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากภายนอก อาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยในความร่วมมือ และผู้ที่มีความสนใจทั่วไปในหัวข้อที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม Digital Arts, Digital Media และ Digital Technology โดยในครั้งนี้ มีผู้ส่งบทความทางวิชาการเข้าร่วมกว่า 120 บทความ จาก 10 ประเทศ โดยแบ่ง 7 หัวข้อหลักได้แก่
1.Media Systems and Implementations
2.Multi-Signal Processing and Application
3.Digital Arts, and Media
4.Media and Medium Engineering
5.Digital Economy for Sustainable Growth
6.Geo-informatics
7.Knowledge Management and Learning Organization และยังมี 3 Special Session ได้แก่ 1.Talent Mobility 2.Risk of Intelligent Application และ 3.H2020: AniAge

ซึ่งการจัดประชุมในครั้งนี้มีความคาดหวังให้เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ผู้มีความสามารถ มีความรู้ มีนวัตกรรม มีแหล่งนำเสนอผลงานวิจัย เกิดกิจกรรมทางวิชาการ เกิดประโยชน์ต่อวงการวิชาการในเรื่องของการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ นำไปสู่การทำวิจัยร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาและด้านที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ เกิดความร่วมมือด้านงานวิชาการระดับนานาชาติ สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับกลุ่มสถาบัน องค์กร หน่วยงานอุตสาหกรรมภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ

นอกจากนี้เพื่อให้เกิดการเผยแพร่องค์ความรู้ในวงกว้าง ยังได้มีการจัดสัมมนา Smart City Forum ขึ้นในเวทีนี้ด้วย โดยมีท่านวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ท่านผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ เป็นประธานในพิธี และองค์ปาฐกถาหัวข้อพิเศษเรื่อง “Thailand Digital Economy” และยังมีนักวิชาการด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและเมืองอัจฉริยะจาก 5 ประเทศ ได้แก่ Prof. Eric Tsui จากเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน Prof. Minoru Okada จากประเทศญี่ปุ่น Prof. Eryk Dutkeiwicz จากประเทศออสเตรเลีย Prof. Keshav Dahal จากสหราชอาณาจักร และนาวาอากาศเอก ดร.ธงชัย อยู่ญาติวงศ์ จากประเทศไทยมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องของ Smart City & Digital Economy พร้อมทั้งการแสดงนิทรรศการผลงานด้าน Smart City และนิทรรศการจากหน่วยงานผู้สนับสนุนอีกด้วย

ขณะที่รองศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า งาน Smart City Forum & International Conference on Digital Arts Media and Technology” หรือ ICDAMT 2017” ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยความร่วมมือของคณะด้านดิจิทัล จาก 5 สถาบันการศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, วิทยาลัยเชียงราย และมหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับ สมาคมวิชาการไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศ (ECTI) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสให้แก่นักวิจัย นักพัฒนา นักออกแบบ วิศวกร และนักเทคโนโลยี ได้แลกเปลี่ยนความคิด และพัฒนาอุตสาหกรรม Digital Arts, Digital Media และ Digital Technology เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคและของประเทศไทย

โดยผู้เข้าร่วมโครงการประกอบไปด้วยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยในความร่วมมือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากภายนอก อาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยในความร่วมมือ และผู้ที่มีความสนใจทั่วไปในหัวข้อที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม Digital Arts, Digital Media และ Digital Technology โดยในครั้งนี้ มีผู้ส่งบทความทางวิชาการเข้าร่วมกว่า 120 บทความ จาก 10 ประเทศ โดยแบ่ง 7 หัวข้อหลัก ซึ่งจัดงานในครั้งนี้มีความคาดหวังให้เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ผู้มีความสามารถ มีความรู้ มีนวัตกรรม มีแหล่งนำเสนอผลงานวิจัย เกิดกิจกรรมทางวิชาการ เกิดประโยชน์ต่อวงการวิชาการในเรื่องของการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ นำไปสู่การทำวิจัยร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาและด้านที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ เกิดความร่วมมือด้านงานวิชาการระดับนานาชาติ สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับกลุ่มสถาบัน องค์กร หน่วยงานอุตสาหกรรมภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สำหรับผลสรุปโครงการ การจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ICDAMT 2017 งาน “Smart City Forum & International Conference on Digital Arts Media and Technology สรุปได้ว่า

ปัจจุบันการศึกษาไทยได้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ เป็นอย่างมากโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี และสื่อมัลติมีเดีย มีการสร้างผลงานด้านงานวิจัยในด้านนี้อย่างแพร่หลาย และนักวิจัยก็ให้ความสำคัญต่อการพัฒนางานวิจัยที่จะสามารถสร้างความรู้ สร้างทักษะ มีการถ่ายทอดความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทุกภาคส่วนมาสู่สังคมโดยกว้าง เพื่อส่งต่องานวิจัยให้เป็นที่ประจักษ์ต่อภาคอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี และ สื่อมัลติมีเดีย และสามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นสถาบันการศึกษาจึงให้ความสำคัญกับงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยี สื่อมัลติมีเดีย และด้านที่เกี่ยวข้อง จึงมีการวางแผนและร่วมมือในการจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หรือที่เรียกว่า “The International Conference on Digital Arts, Media and Technology” ด้วยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในจังหวัดภาคเหนือตอนบน ทั้งหมด 5 สถาบัน โดยมี
1.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2.มหาวิทยาลัยแม่โจ้
3.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
4.มหาวิทยาลัยเชียงราย
และ 5.มหาวิทยาลัยพะเยา

เพื่อสนับสนุนให้เกิดการนำเสนอผลงานวิจัยในระดับต่างๆ เช่น นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา บุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ในสายงานเทคโนโลยี สื่อมัลติมีเดีย และสายงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการนำเสนอผลงานวิจัย การศึกษาค้นคว้า ครอบคลุมตามหัวทั้ง 7 หัวข้อ ดังนี้
1.Digital Arts and Media
2.Media Systems and Implementations
3.Multi-Signal Processing and Applications
4.Media and Medium Engineering
5.Digital Economy for sustainable growth
6.Geo-informatics
และ 7.Knowledge Management and Learning Organization

จากหัวข้อดังกล่าวเป็นหัวข้อด้านงานวิจัยที่เป็นที่สนใจ และจะก่อให้เกิดการจัดกิจกรรมทางวิชาการ เกิดการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ประสบการณ์ การทำวิจัยด้านต่างๆ ระหว่างสถาบันการศึกษาตลอดจนองค์กรหรือสถาบันที่มีความเกี่ยวข้องในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อดิจิทัลทั้งในและต่างประเทศ

ในการนี้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นตัวแทนของสถาบันการศึกษาทั้ง 5 สถาบัน แสดงการสนับสนุนให้เกิดสังคมแห่งความรู้ ผลักดันให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพทางด้านการเรียนการสอน การทำวิจัย ตลอดจนการนำเสนอผลงานทางวิชาการของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และบุคลากร สายวิชาการของสถาบันต่างๆ รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรระดับนานชาติ จึงเล็งเห็นความสำคัญและมีแนวคิดริเริ่มการจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาตินี้ขึ้น โดยมีพันธกิจหลักในการผลิตบัณฑิตสายวิชาการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามความต้องการด้านอุตสาหกรรม และสถาบันต่างๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในวงการการศึกษาและวงการวิชาการด้านเทคโนโลยี สื่อมัลติมีเดีย และสายงานที่เกี่ยวข้อง ในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมวิชาการ การมีส่วนร่วมระหว่างกันของนักศึกษาและนักวิจัยระดับนานาชาติ นำไปสู่ความร่วมมือระดับนานาชาติในโอกาสต่อไป

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการประชุม
1.มีแหล่งนำเสนอผลงานวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และบุคลากรสายวิชาการ ของวิทยาลัยฯ และสถาบันต่างๆ ที่เข้าร่วม
2.เกิดกิจกรรมทางวิชาการ เกิดประโยชน์ต่อวงการวิชาการในเรื่องของการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ อาจนำไปสู่การทำวิจัยร่วมระหว่างสถาบันการศึกษา ตลอดจนองค์กรหรือสถาบันที่มีความเกี่ยวข้องในด้านเทคโนโลยี สื่อมัลติมีเดีย และด้านที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3.เกิดความร่วมมือด้านวิชาการในระดับนานาชาติ
4.เกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับกลุ่มสถาบัน องค์กร หน่วยงานอุตสาหกรรมภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ ได้แก่
1.มีการนำเสนอผลงานวิจัย ของนักศึกษา และบุคลากรสายวิชาการของวิทยาลัยฯ และสถาบันต่างๆ
2.มีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระดับชาติ
3.มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความรู้

“ทั้งนี้ในยุคของ Digital จึงเป็นยุคที่เราต้องมาเร่งพัฒนาคนควบคู่กับการสร้างนวัตกรรม เราจะอาจจะต้องเร่งก้าวและพัฒนาไปพร้อมกันในหลายส่วนงานเพื่อเตรียมความพร้อมคนของเราให้เข้าสู่โลกสมัยใหม่ได้อย่างเต็มตัว และนำไปสู่การสร้างประเทศ องค์กร บ้านเมือง และบุคลากรไปสู่ความ Smart ในภาคของการผลิตและเศรษฐกิจเองผู้ประกอบการก็ต้องเร่งสปีดให้ตอบสนองต่อยุคผู้บริโภคในโลกดิจิทัล การเกิดขึ้นของ Startup ทั่วประเทศ ภาครัฐเองก็เร่งพัฒนาและสร้างนโยบายเพื่อตอบสนองยุคนี้อย่างเต็มที่เพื่อผลักดันให้ประชาชนสามารถหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางและก้าวสู่การสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีศักยภาพ สร้างมูลค่าเพิ่ม เกิดความมั่นคง และพัฒนาไปจนกลายเป็น Smart City ที่พร้อมไปด้วยทรัพยากรประชาชนที่มีประสิทธิภาพ มีการศึกษา มีงานวิจัย มีงานวิชาการ ที่นำเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์และถูกนำออกมาใช้ได้จริงในโลกอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศในอนาคต” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวทิ้งท้าย

ร่วมแสดงความคิดเห็น