ครุศาสตร์ ม.ราชภัฏ จัดสัมมนาฯ จัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษตามหลักการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยมี รศ. ว่าที่ร้อยตรี สกล แก้วศิริ คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการประชุมพร้อมบรรยายพิเศษ ณ โรงแรมเมอร์เคียว เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา

รศ.ว่าที่ร้อยตรี สกล แก้วศิริ คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ กล่าวว่า จาก พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2545 มาตรา 10 กำหนดให้มีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกประเภทตามลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็ก ดังนั้นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาควรมีคุณลักษณะ ที่พร้อมจะทำงานกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกประเภทจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหาความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในระดับที่สามารถจะนำไปพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษและทำงานร่วมกับ โรงเรียน หน่วยงานองค์กร และชุมชนที่มีเด็กที่มีความต้องการพิเศษอยู่ในพื้นที่นั้นๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่จึงเห็นความสำคัญของโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษตามหลักการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษวัดที่ 21

ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ดำเนินการจัดโครงการ พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ให้มีความเข้า ความเข้าใจทัศนคติที่ดีต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับวิชาชีพของตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นภารกิจสนับสนุนยุทธศาสตร์และสอดคล้องกับปรัชญา วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและคณะครุศาสตร์ ในปัจจุบันจะพบว่ามีเด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าไปศึกษาตามโรงเรียนปกติ เนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2545 มาตรา 10 กำหนดให้มีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกประเภทตามลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็ก ดังนั้นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาควรมีคุณลักษณะที่พร้อมจะทำงานเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกประเภท จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาควรมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในระดับหนึ่งที่สามารถจะนำไปพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษและทำงานร่วมกับ โรงเรียน หน่วยงาน องค์กรและชุมชนที่มีเด็กที่มีความต้องการพิเศษอยู่ในพื้นที่นั้นๆ

ดังนั้น ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จึงจัดทำโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ การช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษตามหลักการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ขึ้นเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามีคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและมีคุณธรรม จริยธรรมในการทำงานกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อให้สามารถ พัฒนาตนเองให้มีจิตสาธารณะในการทำงานและประสานงานกับผู้ปกครอง บุคลากร หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อความร่วมมือในการพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เต็มตามศักยภาพ ได้รับองค์ ความรู้ใหม่และทักษะในการปฏิบัติด้านการศึกษาพิเศษตามหลักการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และหลักการในการช่วยเหลือและสนับสนุนคนพิการ สามารถนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน

สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในสภาพแวดล้อมต่างๆและเสริมพลังให้กับผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนและท้องถิ่นในการมีบทบาทด้านการดูแลและพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อันเป็นการตอบสนองภารกิจของมหาวิทยาลัยในการที่จะส่งเสริมสนับสนุน นำหลักการที่เป็นปณิธานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของท้องถิ่น ส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปและมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ EF ( Executive Function) กับการพัฒนาสมองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ STEM Education กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และมีแนวทางการช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษตามหลักการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

การจัดโครงการในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ครูปกติ ครูการศึกษาพิเศษ คณาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ รวมถึง คณาจารย์และบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รวมทั้งสิ้น 70 และได้รับการอนุเคราะห์วิทยากรจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์สูง โดย อาจารย์รณสิงห์ รือเรือง นักจิตวิทยาคลินิกสถาบันพัฒนากรเด็กราชนครินทร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อโนดาษ์ รัชเวทย์ และอาจารย์ ดร.ชาญ ยอด และอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น