งานวิจัยจากศูนย์วิจัยโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คว้ารางวัลวิจัยดีเด่นจากงานประชุม สกว.

อาจารย์ ดร.ภก.จิรภาส ศรีเพชรวรรณดี อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ (CERT Center) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำผลงานการศึกษากลไกสาเหตุของการเกิดภาวะเหล็กเกิน
ส่งผลต่อความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้และความจำ ทำให้ทราบกลไกพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์ นำไปสู่การพัฒนายาที่ใช้ได้ในการรักษาโรคในคนที่เป็นภาวะเหล็กเกินได้ในอนาคต คว้ารางวัลผลงานวิจัยยอดเยี่ยมชนิดโปสเตอร์ จากงานประชุมนักวิจัยรุ่นใหม่ พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ครั้งที่ 16งานวิจัยเด่นจากศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ (CERT Center) และ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คว้ารางวัลผล

งานวิจัยยอดเยี่ยมชนิดโปสเตอร์ จากการนำเสนอโดย อาจารย์ ดร.ภก.จิรภาส ศรีเพชรวรรณดี อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ (CERT Center) จากหน่วยวิจัย Neuroelectrophysiology จากผลงานวิจัย เรื่อง “A Combination of an iron chelator with an antioxidant effectively diminishes the dendritic loss, tau-hyperphosphorylation, amyloids-? accumulation and brain mitochondrial dynamic disruption in rats with chronic iron-overload” ในงานประชุมนักวิจัยรุ่นใหม่ พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ครั้งที่ 16 จัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาถึงกลไกสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะเหล็กเกินที่ส่งผลต่อความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้และความจำมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้ทราบกลไกพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับภาวะเหล็กเกิน ตลอดจนทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาต่างๆ ได้แก่ ยาขับเหล็ก 3 ชนิด สารต้านอนุมูลอิสระ และเปรียบการให้ยาแบบเดี่ยวกับการให้ยาร่วมกันระหว่างยาขับเหล็กและสารต้านอนุมูลอิสระ โดยทางทีมผู้วิจัยพบว่า ภาวะเหล็กเกินทำให้ส่งผลเสียต่อสมองโดยเกิดการสะสมของเหล็กและอนุมูลอิสระในสมอง และยังทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของไมโตคอนเดรียในสมอง ตลอดจนเกิดพยาธิสภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ และมีการลดลงของ dendritic spine ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาท นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาพบว่า การให้ยาร่วมกันระหว่างยาขับเหล็กและสารต้านอนุมูลอิสระ มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดผลเสียต่อสมองดังกล่าวผลกระทบของงานวิจัยชิ้นนี้จะช่วยทำให้ทราบถึงในระดับเซลล์ว่าเมื่อเกิดภาวะเหล็กเกิน เหล็กจะถูกนำเข้าสู่สมองผ่านช่องทางไหน ซึ่งเมื่อทราบถึงกลไกต่างๆดังกล่าวจะทำให้นำไปสู่การพัฒนายาที่ใช้ได้ในการรักษาโรค cognitive impairment ในคนที่เป็นภาวะเหล็กเกินได้ในอนาคต
(ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ รายงาน)

ร่วมแสดงความคิดเห็น